ปตท-กฟผ ผนึกกำลังสร้างโครงการ LNG Receiving Facilities พื้นที่ภาคใต้

ปตท-กฟผ ผนึกกำลังสร้างโครงการ  LNG Receiving Facilities นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีภาคใต้

ปตท-กฟผ ผนึกกำลังสร้างโครงการ LNG Receiving Facilities รองรับการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีในพื้นที่ภาคใต้

       นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) พร้อมด้วย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือศึกษาโอกาสการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) หรือ LNG Receiving Facilities สำหรับ รับ เก็บ และแปรสภาพก๊าซ LNG ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและกระทรวงพลังงาน

สำหรับโรงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยตามแผนดังกล่าว ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าขนอม (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ของบมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) กำลังผลิต 930 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1 – 2 กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ หรือ Commercial Operation Date (COD) ในปี 2570 และ 2572 และ โรงไฟฟ้าใหม่ ที่คาดจะ COD ในปี 2578 กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ กฟผ. และ ปตท. จึงร่วมกันศึกษาโครงการ LNG Receiving Facilities เพื่อเป็นการรองรับการนำเข้า LNG และเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศในอนาคต

ส่วนการร่วมลงทุนยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ปตท.มีความชำนาญเรื่องท่อก๊าซฯ และสถานีรับ-จ่ายก๊าซฯ ขณะที่กฟผ.มีความเชี่ยวชาญโรงไฟฟ้า ดังนั้น อาจจะแยกกันลงทุนตามความชำนาญหรือจะร่วมลงทุนกันก็ได้ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะสร้างสถานีรับ-จ่ายก๊าซฯที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ววางท่อก๊าซฯไปยังโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ขณะที่การขายก๊าซฯป้อนโรงไฟฟ้าหินกอง กำลังการผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ของบมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH) นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา

เบื้องต้นเห็นว่าหาก RATCH จะนำเข้า LNG เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าของตัวเองอาจจะมีปัญหาด้านคุณภาพก๊าซฯ รวมทั้งการจัดส่งก๊าซฯผ่านท่อจากภาคตะวันออกไปยังจังหวัดราชบุรีเป็นระยะทางค่อนข้างไกล ดังนั้น ก๊าซฯที่จะป้อนให้โรงไฟฟ้าหินกองที่เหมาะสมควรมาจากเมียนมา ซึ่งปตท.อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการคลัง LNG ลอยน้ำ (FSRU) ที่เมียนมา แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ เพราะหากปตท.จะลงทุนคงต้องมีความต้องการใช้ก๊าซฯในไทยในปริมาณที่มากจึงคุ้มการลงทุน   การลงนามข้อตกลงความร่วมมือศึกษาในโครงการ LNG Receiving Facilities ครั้งนี้ มีอายุสัญญา 2 ปี แต่จะเร่งศึกษาให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อรองรับการนำเข้า LNG ในพื้นที่ภาคใต้

ปตท-กฟผ ผนึกกำลังสร้างโครงการ LNG Receiving Facilities

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก :  ryt9

Next Post

แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19

Wed May 13 , 2020
แนวทาง Soft Loan ประเทศไทย ก้าวต่อไปจากผลกระทบโควิด-19 Soft Loan หรือ เงินกู้ผ่อนปรน เงินกู้ที่มีเงื่อนไขในการให้กู้ยืมที่ดีกว่า เงินกู้ทั่วไปในท้องตลาด กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหรือไม่มีอัตราดอกเบี้ยเลย ระยะเวลาให้กู้ยาวกว่ารวมทั้งมีระยะเวลาผ่อนผัน ไม่ต้องจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าหากท่านเป็นผู้ประกอบการ ในตอนนี้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทางธุรกิจจากการระบาดของโรคโควิด 19 “มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของแบงก์ชาติ” ที่ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อาจเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจขนาดย่อมจากทางแบงค์ชาติ ซึ่งนโยบายของแบงค์ชาติ SMEs ที่จะขอความช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติอย่างไร 1. เป็นบุคคลที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย 2. ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3. ไม่เป็น NPL ของสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เพราะต้องการดูแลผู้ที่มีศักยภาพที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเป็นหลัก 4. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน 5. วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยจะขอกู้ใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดสินเชื่อคงค้างที่มีกับสถาบันการเงิน […]
ปกข่าวสำหรับเว็ป [recovered]