
สำเร็จแล้ว ม.อ.หาดใหญ่นำพลาสมาผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 รักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ
หากจะพูดถึง เรื่องการบริจาคพลาสมาของผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่น ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้เปิดเผยเรื่องราวน่ายินดี เมื่อผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง มีอาการดีขึ้นจากการนำพลาสมาของอดีตผู้ป่วยโควิด-19 มาช่วยรักษา
ยังมีกรณีของสภากาชาดไทยพร้อมกับ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาโพสต์ข้อความวิงวอนผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 และกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว มาบริจาคพลาสมาเพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ต่อมาวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น เพจ “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์-Songklanagarind Hospital” ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวน่ายินดี เมื่อผู้ป่วยที่หายจากโรคไวรัสโควิด-19 คนแรกของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่ได้นำพลาสมาที่ได้บริจาค นำมาใช้ในการการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยอาการดีขึ้นและสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้
และทางเพจ “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์-Songklanagarind Hospital” ได้มีข้อความในโพสต์ว่า The miracle of life ขอบคุณพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากโรค โควิด-19 คนแรกของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่ได้นำมาร่วมใช้ ในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยอาการดีขึ้นและสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ “เพราะชีวิตนั้นมหัศจรรย์ ยิ่งเราได้ช่วยเหลือกันยิ่งเพิ่มคุณค่าของชีวิตอีกมากมาย”
ยังได้มีข้อมูลทางการแพทย์ที่ระบุว่า พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค โควิด-19 จะมีประโยชน์อย่างมากในการใช้รักษาผู้ปวยที่มีอาการรุนแรง ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยเปรียบเสมือนเป็นเซรุ่มใช้รักษาโรคได้ ดังนั้น มาตรการในการรักษาผู้ป่วยโรค โควิด-19 อีกทางหนึ่ง ที่ให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่หายแล้ว รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
โดยภูมิต้านทานต่อไวรัส โควิด-19 ที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นสูงหลังสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ จะช่วยยับยั้งไวรัส โควิด-19 ไม่ให้เข้าไปทำลายเซลล์ปอดจนทำให้ปอดอักเสบรุนแรง และแพร่กระจายสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้เพิ่มขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ – Songklanagarind Hospital
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์