บิลค่าไฟเดือน เมษายน ยังไม่ต้องจ่าย ส่วนใครจ่ายแล้วจะคืนให้ในรอบบิลถัดไป

บิลค่าไฟเดือน เม.ย. ยังไม่ต้องจ่าย ส่วนใครจ่ายแล้วจะคืนให้ในรอบบิลถัดไป

PEA แจ้งการชำระค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2563

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2563 ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าว
ในเบื้องต้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ขอแจ้งแนวทางการชำระ ค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2563 ดังนี้

1. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ (ประเภท 1.1.1) ไม่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2563

2. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ (ประเภท 1.1.2) ที่ได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2563 แล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำการปรับปรุงค่าไฟฟ้าตามมติคณะรัฐมนตรี โดยจะสามารถชำระค่าไฟฟ้าได้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

ทั้งนี้หากผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มดังกล่าวได้ชำระค่าไฟฟ้าไปแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค​ จะดำเนินการคืนค่าไฟฟ้าให้ในภายหลัง

หมายเหตุ

ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1 แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.2 และเมื่อใดมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1

ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าเกิน 5 แอมป์ 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.2

ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.1.1 ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนทุกราย ยังคงได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรีถึงค่าไฟฟ้าประจำเดือนธันวาคม 2558 และตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไปผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.1.1 ที่ได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรี จะต้องไม่เป็นนิติบุคคลและมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงเดือนปัจจุบัน

โควิด-19

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงจาก :  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

Next Post

ภูเก็ตสูญเสียรายได้ไป 3 หมื่นล้านจากวิฤติโควิด-19 เร่งหามาตรการเสริมช่วยเหลือ

Thu Apr 23 , 2020
ภูเก็ตสูญเสียรายได้ไป 3 หมื่นล้านจากวิฤติโควิด-19 เร่งหามาตรการเสริมช่วยเหลือ          จังหวัดภูเก็ต ถือว่าเป็นเมืองหน้าด่านในการรับนักท่องเที่ยวจากที่ต่างเข้ามาในพื้นที่เยอะมาก แต่หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ทางจังหวัดจึงรีบออกมาตรการปิดกั้นพื้นที่เสี่ยง และปิดทางเข้าออกของนักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางอากาศและการขนส่งสาธารณะ  ภูเก็ตอยู่ในเมืองที่เสี่ยงมาก เพราะฉะนั้นการจะปิดเมืองจึงถือว่าเป็นการดีที่สุด ในการลดการแพร่กระจายเชื้อไม่ให้ระบาดหนักไปมากกว่านั้น เพราะฉะนั้นต้องมาช่วยกันทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงน้อย หรือไม่มีความเสี่ยงในการระบาดของโรคแล้ว   การบริหารจัดการที่คุมเข้มรับรองมาตรการหลักของรัฐมนตรี   ถ้ามาดูตัวเลข ณ ปัจจุบันพบว่าตัวเลขผู้ป่วยลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และอยู่ในเกณฑ์ดีมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละแค่ 2 คน แต่รักษาหายกลับบ้านได้เฉลี่ยวันละ 9 คน การมีผู้ติดเชื้อขนาดนี้ถือว่าศักยภาพการบริหารจัดการของภูเก็ตก็ไม่มีความเสี่ยงในการรักษาคน        ซึ่งเมื่อวานนี้(17/04/63) ณ ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต  แม้ว่าจะมีข่าวดีด้านการจำกัดการแพร่ระบาดและการรักษาผู้ติดเชื้อสะสมได้ สิ่งที่ได้รับผละทบหนักจากวิกฤติครั้งนี้คือ เรื่องเศรษฐกิจ เงินหมุนเวียนในจังหวัดที่หายไปเป็นจำนวนมหาศาลจากโรคระบาดโควิด-19 นี้ นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมหารือเกี่ยวกับผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมีสำนักงานภูเก็ต ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต,ประธานหอการจังหวัดภูเก็ต,นายก้องศักดิ์ คู่พงศกร นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ หน่วยงานราชการ และภาคเอกชนเข้าร่วม […]
ภูเก็ตสูญเสียรายได้ไป 3 หมื่นล้านจากวิฤติโควิด-19 เร่งหามาตรการเสริมช่วยเหลือ