แนวทางปฏิบัติในช่วงวิกฤติ covid-19 สำหรับผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พักอาศัย
การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทาง การค้า การท่องเที่ยว อาหารและเศรษฐกิจ เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ต่อธุรกิจ สิ่งสำคัญต้องวางแผนรับมือCOVID-19 กรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการหอพัก และผู้พักอาศัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
- สำหรับผู้ประกอบการกิจการ หอพัก
– ทำป้ายแจ้งเตือนและมาตรการป้องกันของคำแนะนำของกรมควบคุมโรค
– แจ้งพนักงานผู้พักบุคคลใกล้ชิดที่พักอยู่ด้วยกันในห้องหรือผู้มาเยี่ยม หากมีไข้โอเจ็บคอมีน้ำมูกให้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆและรีบไปพบแพทย์กรณีที่เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศกายใน 14 วันให้แจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย
– ติดเครื่องจำยแอลกอฮอล์เจลล้างมือในพื้นที่ส่วนกลาง
– ทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้ส่วนรวมบ่อยๆ
– วัดอุณหภูมิทุกคนก่อนเข้าอาคารโดยเครื่องวัดอุณหภูมิภายแบบจ่อหน้าผาก หรือจ่อหู
– จำหน่ายหน้ากากอนามัยไว้ให้บริการแก่ผู้พัก
– แจ้งพนักงานทำความสะอาดถึงความเสี่ยงให้สวมหน้ากากอนามัยแว่นตากันลมกุงมือยางยาวขณะทำงาน
– แจ้งพนักงานหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูกปากรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– หากพบพนักงานป่วยด้วยอาการปอดอักเสบมากกว่า 2 คนใน 1 สัปดาห์ให้แจ้งแพทย์ทันทีที่ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล - สำหรับ ผู้พักอาศัย
– ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ขอให้หลักเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดหรือ มีมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจามหากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย
– หลีกเลี่ยงการไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิตสัมผัสหรือ อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วยหรือตายและหลีกเลี่ยงการกินอาหารและเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก
– หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและ สบู่หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูกปากโดยไม่จำเป็น
– ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่นผ้าเช็ดหน้าแก้วน้ำผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
– รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยภายใน 4 วัน ถ้ามีอาการไข้มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ เป็นต้น ให้สวมหน้ากากอนามัยและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีพร้อม ทั้งแจ้งประวัติการเดินทางเนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวมและมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
มาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแนะนำใช้ “hierarchy of controls” สำหรับการควบคุมสิ่งคุกคาม ในสถานประกอบการ โดยมาตรการที่ดีที่สุดในการควบคุมสิ่งคุกคาม คือ การรสิ่งคุกคามนั้นออกไปจากสถานประกอบการ หากแต่ในกรณีของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น เราไม่สามารถกำจัดสิ่งคุกคามได้ จึงต้องใช้วิธีการลดการสัมผัสให้ได้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมที่สุดในการป้องกันเรียงจากที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดไปยังน้อยที่สุดคือ การใช้การควบคุมโดยการบริหารจัดการ การปฏิบัติงานที่ปลอดภัย และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การเลือกใช้วิธีใดๆ มีข้อดี ข้อเสียที่ต้องคำนึงถึงคือ การนำไปใช้ ประสิทธิภาพและราคา ส่วนใหญ่จะใช้วิธีต่าง ๆ ร่วมกันในการป้องกันพนักงานไม่สามารถแยกวิธีใดวิธีหนึ่งออกจากกันโดยสิ้นเชิง
อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์ควบคุมโรค