สปสช. ขยายสิทธิให้หญิงไทยทุกสิทธิ ฝากครรภ์คุณภาพกับกองทุนบัตรทองได้
วันที่ 17 ก.พ. 65 สปสช. ได้ขยายสิทธิประโยชน์การฝากครรภ์คุณภาพจากเดิม 5 ครั้ง เป็นไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าฝากครรภ์ทุกสิทธิการรักษา
นอกจากนี้ สปสช. ได้แยกการจ่ายสำหรับบริการฝากครรภ์และการตรวจทางห้องแล็ปหรือห้องปฏิบัติการที่จำเป็นออกจากกัน รวมถึงการจ่ายเฉพาะการตรวจและบริการพิเศษ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการได้อย่างสะดวกและได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนด โดยให้บริการตรวจห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย
Pregnant woman with ultrasound photo sitting on bed
- ตรวจซิฟิลิส ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจคัดกรองโลหิตจางธาลัสซีเมีย (MCV และ/หรือ DCIP)
- หมู่โลหิต (ABO/Rh) เป็นต้น
Young pregnant model in tank top touching her belly, gray background, studio, copy space, close-up
ในปีงบประมาณ 2565 บอร์ด สปสช. ได้มีมติเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้สามี หรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ตรวจคัดกรองพร้อมกับหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสามีสู่หญิงตั้งครรภ์และส่งผลต่อทารกในครรภ์ และการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อ-แม่-สู่ลูก เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงของทารกในครรภ์ได้เร็วขึ้น ช่วยให้สามารถวางแผนการดูแลครรภ์หรือเตรียมความพร้อมของพ่อ-แม่ด้วย
อ้างอิง : สปสช.
Thu Feb 17 , 2022
ผลวิจัยเผยพบหายป่วยโควิด-19 ยังเสี่ยงปอดพัง-อาการข้างเคียง30-50% วันที่ 17 ก.พ. 65 งานวิจัยพบว่าผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักส่วนใหญ่พบว่าจะเกิดอาการ Long COVID หรือ ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ เนื่องจากร่างกายสร้างแอนติบอดีบางชนิดขึ้นมาและไปจับกับโปรตีนเซลล์อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น สมอง ปอด หรือ ทางเดินอาหาร ทำให้สร้างความเสียหายต่ออวัยวะเหล่านั้น ซึ่งแม้จะหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการข้างเคียงอยู่ โดยโอกาสที่จะเกิดอาการดังกล่าวนั้น มีถึงร้อยละ 30-50% ทั้งนี้งานวิจัยที่มีการเผยแพร่ในวารสาร Nature วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักถึงหนักมาก ส่วนใหญ่จะพบว่าร่างกายสร้างแอนติบอดี บางชนิดขึ้นมา แต่แอนติบอดีเหล่านั้น ไม่ได้สร้างมาจัดการกับไวรัสเหมือนที่เราเข้าใจ และแอนติบอดีพวกนี้มีความอันตราย เพราะเป็นแอนติบอดีที่จับกับโปรตีนของผู้ป่วยเอง เช่น โปรตีนที่พบบนเซลล์ในอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ปอด หลอดเลือด เกล็ดเลือด และ ทางเดินอาหาร โดยหากแอนติบอดีเหล่านี้มีจำนวนมากพอสมควร ไปจับกับโปรตีนเหล่านี้ ร่างกายจะไปทำร้ายตัวเอง ทำให้สร้างความเสียหายกับอวัยวะเหล่านั้น มากบ้างน้อยบ้าง คล้ายกับคนเป็นโรคภาวะภูมิต้านตนเอง เช่น โรคพุ่มพวง […]
