ความหมายรูปแบบ “การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง” ของคนรุ่นใหม่สงขลานั้นคืออะไร..?
ที่ผ่านมาแกนนำกลุ่มการเมืองที่มีแนวโน้มต่อต้านการรัฐบาล คสช. มีการเพิ่มบทบาทการเคลื่อนไหวของตัวเองและ มีการนัดเคลื่อนไหวใหญ่ในระดับทั่วประเทศ ไม่ว่าเยาวชนนักเรียนจนถึงวัยผู้ใหญ่ก็ออกมาแสดงความเคลื่อนไหวไปตามกระแสโดยสัญลักษณ์ทางการเมือง ประเด็นที่กำลังที่กำลังร้อนแรงอยู่ในสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ สำหรับการออกมาชุมนุมแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองของกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ที่ต่าง “ชู 3 นิ้ว” เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยหวังว่าประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนั้น และสัญลักษณ์อื่นๆอีกหลายรูปแบบ
หาดใหญ่ทูเดย์นิวส์ จึงถือโอกาสรวบรวมสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกถึงจุดยืนคัดค้านภาพคู่ขนานไป พร้อมกับการเรียกร้องประชาธิปไตยและ แก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มนักศึกษา รวมทั้งภาคประชาชน ดังนี้
- ชูสามนิ้ว: สัญลักษณ์ที่ถูกหยิบใช้และปรับเปลี่ยนความหมายมาตลอด
ธรรมเนียมการชูสามนิ้ว หรือ Three Finger Salute ใช้เวลาต้องกล่าวขอบคุณหรือแสดงความชื่นชมและเคารพ หรือบอกลาคนที่รัก กล่าวในหนัง The Hunger Games กลายเป็นสัญลักษณ์ของการขัดขืนต่ออำนาจที่กดขี่ ซึ่งประเทศไทย มันแทนความหมายของ เสรีภาพ สันติภาพ และภราดรภาพ - ผูกโบว์ขาว: สัญลักษณ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
การผูกริบบิ้นสีขาวครั้งแรก ในปี 2537 หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล จำนวน 14 คน ในปี 2542 องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) ได้รับรองให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี จึงยก “ริบบิ้นขาว” เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งประเทศไทยสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ Student Union of Thailand ระบุ ริบบิ้นสีขาวคือสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และประณามการอุ้มหายของผู้ลี้ภัยทางการเมือง คือ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่หายตัวไปกลางกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จากนั้นจึงใช้สัญลักษณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อเนื่อง - ชูกระดาษเปล่า: สัญลักษณ์พลังบริสุทธิ์เรียกร้องประชาธิปไตย
การชูกระดาษเปล่าเป็นสัญลักษณ์ว่า ประชาชนเป็นพลังบริสุทธิ์พร้อมทั้งต้องการประชาธิปไตยและข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล คือ ยุติการทำร้ายประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ซึ่งตอนนี้นักเรียน-นักศึกษานำมาใช้เชิงสัญลักษณ์ การเอากระดาษขาวปิดปากปิดหน้าเพื่อไล่ความมืดมนของประเทศและแสดงความคิดเห็นไม่ได้ จะถูกคุกคามด้วยการถูกดำเนินคดี - กินสลิ่ม: สัญลักษณ์ที่เข้าข้าง
ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 สลิ่ม เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกมองว่าคลางแคลงระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนบทบาทของกองทัพในพื้นที่การเมืองใช้เรียกเฉพาะ “กลุ่มเสื้อหลากสี” การล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายสีของกลุ่มเสื้อหลากสีเหตุผลว่าสลิ่ม หรือขนมซ่าหริ่ม เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน ซึ่งตอนนี้ก็นำมาเป็นสัญลักษณ์ที่ต่อต้านฝ่ายที่เข้าข้างรัฐบาล