ม.อ.สงขลา ชี้ผลวิจัย พบผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด เสี่ยงติดวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป 7 เท่า

ม.อ.สงขลา ชี้ผลวิจัย พบผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด เสี่ยงติดวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป 7 เท่า

วันที่ 1 ก.พ. 66 ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันแถลงข่าว ผลงานวิจัย ที่พบว่า ในพื้นที่มีการระบาดของวัณโรค ผู้ป่วยปอดบวมจากการติดเชื้อโควิด-19 มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด โดยผลวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร eClinicalMedicine ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ ในเครือ Lancet ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก

8b808022b51dfc01c0cd6b07ae380aea Small

สำหรับผลวิจัยนี้เป็นงานของ ดร.นพ.พลกฤต ขำวิชา สาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยจากข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีอาการปอดอักเสบ มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคสูงถึง 7 เท่า ของคนปกติ โดยศึกษาจากข้อมูลผู้ป่วยโควิด- 19 ในช่วงปี 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า และ อัลฟ่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา จำนวนประมาณ 2 หมื่นกว่าคน โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลในการทำวิจัยจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และทุนวิจัยจาก National Institutes of Health (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา

179022889acce8ef6c2a9cc3db0f43c9 Small

ดร.นพ.พลกฤต ชำวิชา ได้กล่าวถึงที่มาของการทำวิจัยในครั้งนี้ว่า ได้ดำเนินโครงการวิจัยเก็บข้อมูลการติดตามการกินยารักษาวัณโรคประมาณต้นเดือนมกราคม 2565 จากประวัติการรักษาคร่าวๆ ของผู้ป่วยที่เป็นอาสาสมัครทุกเคส พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่มักมีประวัติเคยรับการรักษาโควิด-19 แบบผู้ป่วยใน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วคนไทยประมาณ 1 ใน 3 มีการติดเชื้อวัณโรคแต่ไม่มีอาการใดๆ และไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น เรียกว่าเป็นวัณโรคแฝง ประเทศไทยจึงยังเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของวัณโรคอยู่ แม้ในชีวิตประจำวันจะไม่ค่อยเห็นใครเป็นวัณโรคบ่อยนัก เพราะภูมิคุ้มกันของคนปกติทั่วไปสามารถควบคุมวัณโรคไม่ให้ก่อโรคได้

Bc422cc42fe969ba2894889fbdf6bb08 Small

จึงเกิดความสงสัยว่าโควิด-19 อาจทำให้คนที่ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง จากความล้าของภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะเคสที่มีปอดบวมร่วมด้วย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป จึงนำข้อมูลการลงทะเบียนทั้งโรคโควิด-19 และวัณโรค มาศึกษาย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด-19 ที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว กับอุบัติการณ์การเป็นวัณโรคปอดในคนทั่วไปที่ยังไม่มีหลักฐานว่าเคยติดเชื้อโควิด-19 โดยติดตามข้อมูลผู้ป่วยทุกรายอย่างน้อย 6 เดือน พบว่า ผู้ป่วยปอดบวมจากโควิด-19 หลังได้รับการรักษาจนหายดีและออกจากโรงพยาบาลแล้ว มีความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคปอดได้มากกว่าคนทั่วไป 7 เท่า

089e51a5f75ea45933bbaad51a7a6121 Small 1

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค โดยหลักๆ เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV และ ผู้ป่วยเบาหวาน จากผลการวิจัยนี้ พบว่า ผู้ป่วยปอดบวมจากการติดโควิด-19 ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรจะต้องดูแลตัวเองให้ดีและไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และระบบสาธารณสุขก็ต้องดูแลบุคคลกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Next Post

ครม.เห็นชอบโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2566

Wed Feb 1 , 2023
ครม.เห็นชอบโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2566 ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 อนุมัติโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 วงเงินรวม 2,016,000,000 บาท เพื่อดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านการท่องเที่ยว โดยจะเริ่มให้ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2566 รายละเอียดการใช้สิทธิ เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ สนับสนุนค่าที่พัก 40% (ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/คืน) สูงสุด 5 ห้อง คูปองอาหาร/ท่องเที่ยว (e-voucher) 600 บาท/วัน กำหนดจำนวนสิทธิเข้าโรงแรมที่พักจำนวนห้องพัก 560,000 สิทธิ์/ห้อง 1 คน สามารถใช้สิทธิ์ได้สูงสุด […]
ปกข่าว 01