พลเมืองสงขลาร่วมใจรับมือ PM2.5 ด้วยแนวทาง Green&health ตามแนวคิดสสส.
วันที่ 23 ก.พ. 64 นายแพทย์วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชา PM2.5 จังหวัดสงขลา พลเมืองตื่นรู้ ร่วมใจรับมือ PM2.5 จังหวัดสงขลาด้วยแนวทาง Green & Health ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสานพลังคนไทย พื้นที่สู้วิกฤติมลพิษอากาศ ด้วยการจัดสมัชชาพื้นที่ 6 แห่งโดยจังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการ ชวนเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ 100 คนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเสนอแนะ ภายใต้ประเด็นการป้องกันปัญหา ข้อมูลและเผยแพร่การปฏิบัติตนในวิกฤติการแก้ไขปัญหา และการติดตามประเมินผล
ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฑสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า สาเหตุของการเกิด PM2.5 ในประเทศไทย เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิฝุ่นควันจากการเผาไม้จากหมอกควันข้ามแดน ปัญหาสำคัญของสงขลามาจากไฟป่าประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะปี 2558 ซึ่งสอดคล้องกับปรากฎการณ์เอลนิโย , ฝุ่นควันจากการผาไหม้ในที่โล่ง เผาป่า เผาเพื่อบุกรุก เผาขยะในครัวเรือน กรณีไฟป่าจากในพื้นที่จะมีการเผาไม้ยางพาร าไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก , ฝุ่นควันจากการจราจร โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ บวกกับการดัดแปลงสภาพรถโหลดเตี้ยทำให้เกิดควันดำ และฝุ่นควันการประกอบอุตสาหกรรม กรณีฝุ่นควันจากโรงงาน สถานประกอบการ การเผาขยะจากการฝังกลบ
ในส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มเสี่ยงสำคัญ ประกอบด้วย เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่ไม่อาจเดินทาง หรือหลบเลี่ยง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 ที่เป็นหน่วยรับผิดชอบระดับภาคแล้ว ยังมีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด(กสจ.) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ฝ่ายปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตฝั่งตะวันออก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ตำรวจราจรกรมป่าไม้ เป็นต้น
จังหวัดสงขลา จะได้รับผลกระทบจากหมอกควันในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกปี โดยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเผาไหม้ในพื้นที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเป็นหลัก และถูกลมพัดพามาถึงภาคใต้ของประเทศไทยภายในระยะเวลา 1-2 วัน โดยมีปัจจัยจากทิศทางลม การชะล้างของฝน ภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่เป็นต้น
มาตรการเด่นในการจัดการ PM2.5 มีดังนี้
1. ให้มีมาตรการก่อนเกิดภัยมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ผ่านเครื่องวัดที่ประชาชนเข้าถึงได้ และน่าเชื่อถือครอบคลุมในจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาลสถานที่ออกกำลังกายกำหนด Green zone ในจุดสำคัญ เช่น สถานที่ออกกำลัง สถานที่ท่องเที่ยว สร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์(เช่น ต.สะท้อน) ผลักกันนโยบายในระดับเมืองGreencity มีข้อตกลงกับชุมชนเลิกเผาขยะจากครัวเรือน
2. สร้างความร่วมมือในการรับมือระดับพื้นที่ลดปัญหามลภาวะจากแหล่งกำเนิด อาทิแก้ปัญหาไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก ต.ควนโส ด้วยการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญกับชุมชน พิทักษ์ฐานทรัพยากรสำคัญในป่าพรุที่มีผึ้งหลวงหายาก หรือกรณีตำบลปาดังเบซาร์ที่เป็นพื้นที่ในหุบเขา รับปัญหาไฟป่าจากอินโดฯและการเผาอ้อยจากมาเลเซีย รวมถึงจากการขนส่งสินค้า ทำให้นักเรียน ชุมชนได้รับผลกระทบ ที่จะต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน การมีข้อตกลงกับรถขนส่งข้ามพรมแดน
3. การสื่อสารทางสังคม หน่วยงานรัฐ ฝ่ายวิชาการ สื่อมวลชน ขยายผลความรู้การรับมือไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ทสม. นักศึกษาจิตอาสา อสม. แกนนำชุมชน ให้สามารถเข้าใจความรู้พื้นฐาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อความรู้ต่าง ๆ
อ้างอิง : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สวท.สงขลา