สงขลา เปิดรายชื่อโรงเรียนพร้อมเปิดเรียน 13 แห่ง ส่วนพื้นที่แดงเปิดเรียน online

สงขลา เปิดรายชื่อโรงเรียนพร้อมเปิดเรียน 13 แห่ง ส่วนพื้นที่แดงเปิดเรียน online

วันที่ 28 ต.ค. 64 นายศังกร รักชูชื่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล ได้กล่าวถึงการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1พฤศจิกายน 2564 ว่าได้ประชุมชี้แจ้งถึงนโยบายการเปิดภาคเรียน 2/2564 กับทุกโรงเรียนแล้วมอบหมายให้ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียนได้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าบางโรงเรียนที่มีความพร้อมสามารถเปิดเรียน onsite ในวันที่ 1 พฤศจิกายน มีจำนวน 13 แห่ง ประกอบด้วยโรงเรียน

249408471 439016904513304 7931633415092418446 N

1.รร.เขาแดงกุศลวิทยา

2.รร.สะบ้าย้อยวิทยา

3.รร.ปาดังติณสูลานนท์

4.รร.กอบกุลวิทยาคม

5.รร.ไม้แก่นประชาอุทิศ

6.ทับช้างวิทยาคม

Exam Education Uniform Students Testing Exams With Pencil Multiple Choice Test 4236 1225 2

7.รร.ระโนดวิทยา

8. รร.ระโนด

9.รร.ตะเครี๊ยะวิทยา

10.รร.คลองแดนวิทยา

11. รร.สามบ่อวิทยา

12.รร.ธรรมโฆษิต

13. รร.กระแสสินธุ์วิทยา

248549192 4381391068610047 3080495644627109877 N

โรงเรียนที่ยังไม่พร้อม ให้โรงเรียนรายงาน ต่อสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ถึงเหตุผลและความจำเป็น ส่วนที่โรงเรียนสะเดาขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ดร.กมลาศน์ ศรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ เปิดเผยว่า​ หลังจากรับนโยบายจากท่าน ผอ.ศังกร​ รักชูชื่น​ ผอ.สพม.สงขลา​-สตูล​ ได้ดำเนินการตามนโยบาย​การเปิดเรียนของสพฐ.​โดยเคร่งครัด ซึ่งจากการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนจากอำเภอและสาธารณสุขอำเภอสะเดา มีมติว่า ทางโรงเรียนยังไม่มีความพร้อมในการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 พย.64 เนื่องจากอำเภอสะเดาอยู่ในพื้นที่แดงเข้ม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ยังมีจำนวนมากและเพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความมั่นใจให้เด็กได้ฉีดวัคซีนเข็ม2 ในวันที่ 10 พย. 64 เรียบร้อยก่อน

ส่วนวันที่ 1 พย.นี้ ทางโรงเรียนเปิดภาคเรียนโดยวิธีการเปิดเรียนออนไลน์ทุกชั้นเรียน และวางแผน Timeline จะเปิดให้นักเรียนเรียน onsite ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 โดยให้นักเรียน ม.1 ที่ไม่เคยเข้าเรียนในชั้นปกติมาก่อน ม.3 รวมทั้งเด็ก ม.6 ซึ่งกำลังจะจบระดับชั้นมัธยมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา โดยจะสลับเรียน ตามเลขที่คี่-คู่ในแต่ละชั้นเพื่อลดความแออัดของจำนวนนักเรียนและโรงเรียนจะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการเปิดเรียนของ สพฐ.กำหนดให้อย่างเคร่งครัดซึ่งประกอบด้วย

1. ผ่านการประเมินในระบบไทยสต็อปโควิดพลัสThai stop COVID plus

2. บุคลากรครูและนักเรียนจะต้องฉีดวัคซีนกว่า 85%

3.นักเรียนและผู้ปกครองต้องได้รับการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด

4.ให้คณะกรรมการประเมินมีความเห็นชอบความพร้อมในการเปิดภาคเรียน

5.คณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดอนุมัติในการเปิดเรียน ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ดร.กมลาศน์ ศรประสิทธิ์ กล่าวอีกว่าในการเปิดเรียนวันที่ 1 ธันวาคมนั้นนักเรียนจะต้องปฏิบัติตามกฎที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเช่น การนำอุปกรณ์ทานอาหารมาเอง รวมทั้งการ การรักษาระยะห่าง การทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องเรียนและพื้นที่ต่างๆภายในโรงเรียนให้ปลอดภัยต่อนักเรียนและครูมากที่สุด รวมทั้งการ ทำแผนเผชิญเหตุกรณีที่พบนักเรียนติดเชื้อและไม่ติดเชื้อมีการประเมินทุกระยะอย่างเคร่งครัด

อ้างอิง : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา

Next Post

เทศบาลนครสงขลา เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และ ดินโคลนถล่ม

Thu Oct 28 , 2021
เทศบาลนครสงขลา เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม วันที่ 28 ต.ค. 64 ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถนนเตาอิฐ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เทศบาลนครสงขลา เปิดศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ประจำปี 2564 โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด เทศบาลนครสงขลา ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม เป็นประจำทุกปี  เนื่องมาจากสาเหตุทางด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเขตร้อน และมีลมมรสุมพัดผ่าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคมของทุกปี และยังมีความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ก่อตัวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงเวลาดังกล่าว จนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ และประกอบกับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือนร้อน ตลอดทั้งสิ่งสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากประจำทุกปี ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการป้องกันการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ประสบภัย เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนการฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ จะเป็นศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมไว้รับสถานการณ์ตั้งแต่ยามปกติ เป็นศูนย์การวางแผน สั่งการ วิเคราะห์สถานการณ์ ควบคุมการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยพิบัติต ลอด 24 ชั่วโมง  ทั้งนี้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนดินถล่ม ประจำปี 2564 รับแจ้งเหตุแก้ไขปัญหา การแจกกระสอบทราย การสนับสนุนน้ำดื่มและน้ำสะอาด รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่จำเป็น ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ที่ โทร.0-7431-1016 , 0-7431-2700 ตลอด 24 ชั่วโมง อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา , ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินฯ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01