New Norm วิถีชีวิตบนความปกติรูปแบบใหม่ที่คนคุ้นชิน หลังวิกฤตโควิด-19
New Norm, New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ที่หลาย ๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้ว่าในอนาคตไวรัสตัวนี้จะไม่แพร่ระบาดแต่ก็ไม่ได้จะแปลว่าจะไม่กลับมาแพร่ระบาดอีก จึงทำให้ทุกวันนี้เราทุกคนจึงต้องใช้ชีวิตแบบใหม่ ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ธุรกิจต่าง ๆ อาจต้องปรับเปลี่ยน ปรับตัว จนเกิดคำว่า “ชีวิตวิถีใหม่” ถ้าปรับตัวได้ก็เท่ากับอยู่รอด
ทั้งนี้พฤติกรรมการสวมใส่หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าของทุกคนในตอนนี้ การเว้นระยะห่างในสังคม ไปจนถึงการตรวจวัดอุณหภูมิ เวลาเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้แหละคือ New normal ในสังคมไทย และสังคมโลก แปลเป็นภาษาไทยคือ ความปกติรูปแบบใหม่ที่คนคุ้นชิน
หลังวิกฤตโควิด-19 จบลง จะยกตัวอย่างในด้านของธุรกิจ สำหรับร้านอาหารประชาชนสั่งอาหารผ่านแอปฯ กันมากขึ้น จนอาจกลายเป็นความเคยชิน และอาจจะส่งผลกระทบไปถึงขยะที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวตลอดเวลา
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ,
Mon Apr 27 , 2020
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศิษย์เก่าม.อ. หนึ่งในผู้วางยุทธศาสตร์สำคัญช่วงโควิด-19 เมื่อกล่าวถึงบคุลากรสำคัญในช่วงโควิด-19 ของประเทศไทย หนึ่งในคนที่เรียกว่าเป็นผู้วางยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นบุคคลที่มาจากภาคใต้เรานั้นเอง และยังเป็นผลผลิตสำคัญของรั้วพระบิดา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นั้นคือ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญผู้ทุ่มเทในการวางจัดระบบและวางแผนรับมือการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข้อมูลการแพร่ระบาดและตอบข้อซักถามแก่สื่อมวลชนรายวัน นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะท่านเป็นนักเรียนแพทย์รุ่นที่ 13 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่บ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์และผลิตศิษย์เก่าที่มีคุณภาพออกไปสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติมาเป็นเวลา 52 ปีแล้ว นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี 2528 ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ยังเป็นคณะใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพิ่งเปิดบริการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดได้ไม่นาน แม้ในช่วงเวลานั้นโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และคณะแพทยศาสตร์มีความพร้อมค่อนข้างมาก แต่ก็ยังไม่ทัดเทียมกับโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพมหานคร แต่ในความเป็นคณะใหม่จึงมีคณาจารย์ส่วนใหญ่ที่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ และมีอาจารย์บางท่านเป็นอาจารย์อาวุโส จึงนับเป็นส่วนผสมที่ดีของอุดมการณ์ ปัญญา ความกระตือรือร้นใฝ่รู้ อาจารย์มีความตั้งใจและทุ่มเทในการสอน […]