พิธีปิดโรงพยาบาลสนามสงขลาและภูเก็ต เตรียมความพร้อมสมาคมโรงแรมในจ.สงขลา ภายใต้การบริการแบบ New Normal

พิธีปิดโรงพยาบาลสนามภูเก็ต เตรียมความพร้อมร่วมกับสมาคมโรงแรมในจังหวัดสงขลา

ภายใต้การบริการแบบ New Normal

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 63 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดแถลงข่าว เสร็จสิ้นภารกิจเฟส 1 สู้ภัย COVID-19 สงขลาโมเดล และพิธีทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการการป้องกันผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ อาคารติณสูลานนท์ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ร่วมเสวนาในหัวข้อ “ฝ่าวิกฤตโรคโควิด สู่ชีวิตวิถีใหม่ของชาวสงขลา” และมีผู้ร่วมเสวนา อีก 4 ท่าน ได้แก่ รศ. นพ.พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในหัวข้อ “ลูกพระราชบิดากับโรค COVID-19” รศ. ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน” รศ. นพ.ประสิทธิ์ วุฒิสุทธิเมธาวี ผู้บัญชาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ในหัวข้อ “การบริหารจัดการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต” (รพ.สนาม 2) และ รศ. พญ.มณฑิรา ตัณฑนุช ผู้บัญชาการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 สงขลา ในหัวข้อ “การบริหารจัดการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 สงขลา” ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการให้ความรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินการฝ่าวิกฤตโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัดสงขลา และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

ด้านรศ. นพ.พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทำให้ประเทศไทยสามารถควบคุมโรค COVID-19 ให้อยู่ในวงจำกัด และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อให้หายจนกลับบ้านได้ทุกราย เป็นการเสร็จสิ้นภารกิจเฟส 1 สู้ภัย COVID-19 ของโรงพยาบาลสนาม ทั้ง 2 สาขา คือ สงขลา และภูเก็ต

จากประสบการณ์การเปิดโรงพยาบาลสนามทั้ง 2 แห่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แสดงให้เห็นการบูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน นับเป็นความสำเร็จของการควบคุมโรค COVID-19 ในเฟสแรก ได้เป็นอย่างดี สำหรับการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในเฟสต่อไป ซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และธุรกิจบริการต่าง ๆ จะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรค หลังการเปิดเมือง และมีการเคลื่อนย้ายประชาชน

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหน่วยบริการ จึงได้อบรมให้ความรู้แก่ หน่วยงานบริการของรัฐ และเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังงหวัดสงขลา สมาคมโรงแรมสงขลา-หาดใหญ่ มูลนิธิซ่งเซียเซี่ยงตึ้ง และสวนประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จำนวน 168 คน และในวันนี้ได้ทำพิธี “ลงนามความร่วมมือการให้บริการการป้องกันผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” ซึ่งเป็นความร่วมมือในการกำหนดแนวทางและมาตรการป้องกัน

การดูแลผู้เข้าพักในโรงแรมต่างๆของจังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้โรงแรมต่างๆ สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติภายใต้ข้อปฏิบัติการป้องกันโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด ได้มีการแนะนำและซักซ้อม การใช้ Application และ Platform การติดตามผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ซึ่งคิดค้นโดยแพทย์และบุคลากรจาก Digital Research and Innovation Institute (DRII, PSU)

ร่วมถึงศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ (TAB-CoE) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมถึงแนะนำระบบการส่งผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในกรณีที่มีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายติดเชื้อ COVID-19 เป็นการบูรณาการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในจังหวัดสงขลา อย่างยั่งยืน

พิธีปิดโรงพยาบาลสนามภูเก็ต เตรียมความพร้อมร่วมกับสมาคมโรงแรมในจังหวัดสงขลา ภายใต้การบริการแบบ New Normal
พิธีปิดโรงพยาบาลสนามภูเก็ต เตรียมความพร้อมร่วมกับสมาคมโรงแรมในจังหวัดสงขลา ภายใต้การบริการแบบ New Normal

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : สนง ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา กรมประชาสัมพันธ์

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

จังหวัดยะลา เตรียมปลดล็อกดาวน์ อีก 7 หมู่บ้านสุดท้าย

Sun May 31 , 2020
จังหวัดยะลา เตรียมปลดล็อกดาวน์ อีก 7 หมู่บ้านสุดท้าย เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 63 นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา ได้ยกเลิกพื้นที่เสี่ยงตามคำสั่งศูนย์บริหารถานการณ์ COVID-19 จังหวัดยะลา ซึ่งได้ปิดพื้นที่ทั้งสิ้น 38 หมู่บ้าน 1 ชุมชน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งได้มีคำสั่งผ่อนปรน ยกเลิกพื้นที่เสี่ยงแล้ว 31 หมู่บ้าน 1 ชุมชน หลังจากพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ดำเนินการตามสาธารณสุข อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ ทั้งมาตรการคัดกรอง คันหา การหยุดการเคลื่อนไหว การเว้นระยะห่าง การรับรู้มาตรการสังคม ซึ่งทำให้จำนวนยอดผู้ป่วยยืนยัน และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ไม่เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลา 28 วันติดต่อกัน นับแต่วันที่มีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 จังหวัดยะลา ที่กำหนดให้พื้นที่หมู่บ้านนั้นเป็นพื้นที่เสี่ยง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส […]
โควิด-19