ม็อบ 30 พฤศจิกามาหาดใหญ่ เวทีราษฎรใต้ หน้าหอนาฬิกาหาดใหญ่ 16:00 น.
สืบเนื่องจากกรุงเทพฯ ยังคงมีกลุ่มราษฎรออกมาแสดงพลังคัดค้านตามข้อเสนอต่างๆ ที่ส่งไปยังรัฐบาล แต่ทางรัฐบาลยังนิ่งเฉยทำให้กลุ่มราษฎรยังคงยื่นยันที่จะชุมนุมต่อไปเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย โดยอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลุ่มราษฎรก็เตรียมตัวนัดรวมตัวกลุ่มราษฎรภาคใต้สำหรับงานงานใหญ่
ในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ราษฎรภาคใต้ต้องสามารถพูดทุกเรื่องที่อยากพูดได้ ขอสิ้นสุดกันทีกับการถูกมองว่าภาคใต้คือแหล่งกำเนิดของสลิ่มสารตั้งต้นหัวเชื้อทางการเมืองที่ผิดพลาดและอำนาจเผด็จการ
ในเวทีจะพบกับผู้ปราศรัยหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น ไผ่ ดาวดิน , กุ๊ก เครือข่ายราม , เมนู นักเรียนไท , อ.วรา จันทร์มณี , ประสิทธิชัย หนูนวล , บังแกน , NGOใต้ปลดแอก, วาดดาว เฟมินิสต์ปลดแอก, ilaw และเซอร์ไพรส์อื่นๆอีกมากมาย
รวมถึงศิลปินอย่างแอมมี่ the bottom blues , แก้วใส สามัญชน , แรปเปอร์คลองเตย elevenfinger ฯลฯ
“เราต้องช่วยกัน ช่วยกันเอาความจริงออกมา” เวทีราษฎรใต้บริเวณหน้าหอนาฬิกาหาดใหญ่ 16:00 น. วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : Law Long Beach
Sun Nov 29 , 2020
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ชายหาดสมิหลาจังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งทะเล วันที่ 29 พ.ย. 63 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำทีมผู้บริหาร ทส. ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งทะเล กรณีโครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง ยังคงพบเห็นในหลายพื้นที่ รวมถึงพื้นที่แหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา พร้อมย้ำให้แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ห้ามรบกวนพื้นที่ชายหาดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ และให้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ บนฐานแนวคิดทางวิชาการและหลักการระบบกลุ่มหาด โดยเฉพาะพื้นที่ที่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ต้องคิดให้รอบคอบและประชาชนต้องมีส่วนร่วมตัดสินใจด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังจากลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ตนรู้สึกกังวลและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนโดยตรง ซึ่งตนได้มีโอกาสลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และพยายามแก้ไขปัญหาในหลายพื้นที่ โดยในวันนี้ ตนได้นำทีมนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์บริเวณแหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งและหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งภาพรวมบริเวณหาดสมิหลา เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ คลื่นและลมมรสุมจะพัดตะกอนจากพื้นที่ไปทับถมบริเวณอื่น และจะเคลื่อนตัวกลับคืนมาในช่วงหลังฤดูมรสุม สำหรับพื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งค่อนข้างมาก สาเหตุจากการก่อสร้างบ่อสูบน้ำเสียเมื่อราวปี […]