บขส.เปิดเส้นทางเดินรถตามเวลาปกติ หลังศบค.ยกเลิกประกาศเคอร์ฟิว เริ่ม 15 มิ.ย.นี้

บขส.เปิดเส้นทางเดินรถตามเวลาปกติ หลังศบค.ยกเลิกประกาศเคอร์ฟิว เริ่ม 15 มิ.ย.นี้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้บริการรถโดยสารประจำทางทุกเส้นทาง ตามเวลาปกติ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ภายหลังที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติยกเลิกมาตรการ ห้ามออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักร ระหว่างเวลา 23.00 – 03.00 น. และเห็นชอบคลายการผ่อนคลายมาตรการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ระยะที่ 4

ตามมติที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 เห็นชอบให้ยกเลิกมาตรการ ห้ามออก นอก เคหสถานทั่วราชอาณาจักร ระหว่างเวลา 23.00 -03.00 น. และเห็นชอบมาตรการ คลายการผ่อนคลายมาตรการ สกัดกั้น การแพร่ ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ระยะที่ 4 โดยอนุญาตให้กิจกรรม/กิจการในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง กลับมาเปิดบริการหรือดำเนินการได้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการ ตามมาตรการ ผ่อนคลายดังกล่าว จะส่งผลทำให้ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางของ ขสมก.เพิ่มขึ้น เป็นวันละประมาณ 650,000 คน

83771289 152665633018436 4019663473535123526 o HATYAITODAY

โควิด-19

ขสมก.จึงจัดแผนการเดินรถโดยสาร ในช่วงมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 ดังนี้

1. จัดรถออกวิ่ง 100 % (3,000 คัน/วัน) หรือจัดรถออกวิ่งให้สอดคล้องกับความต้องการ ของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา โดยมีเที่ยววิ่งเฉลี่ย วันละประมาณ 25,000 เที่ยว
2. ให้บริการรถโดยสารประจำทางในทุกเส้นทาง ตามเวลาปกติ รวมทั้ง จัดรถโดยสารให้บริการตลอดคืน (รถกะสว่าง) ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
3. ขสมก.ยังคงดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ดังนี้
3.1 ด้านพนักงานประจำรถ
– มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของพนักงานขับรถ และพนักงานเก็บค่าโดยสารทุกครั้ง ก่อนขึ้นปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร พร้อมทั้งกำชับพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร สวมหน้ากากอนามัย และถุงมือทุกครั้ง ขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร
3.2 ด้านรถโดยสารประจำทาง
– เพิ่มความถี่ในการล้างทำความสะอาดระบบปรับอากาศ และการทำความสะอาดผ้าม่านบนรถโดยสาร
– ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% ฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสาร และใช้ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้บริการต้องสัมผัส เช่น เบาะที่นั่ง ราวจับ กริ่งสัญญาณ เป็นต้น พร้อมทั้งติดตั้งขวด เจลแอลกอฮอล์ สำหรับให้ผู้ใช้บริการล้างมือ บริเวณประตูทางขึ้น
– กำหนดจุดนั่ง (เบาะที่ไม่มีเครื่องหมายกากบาท) และจุดยืนให้มีระยะห่างกัน 1 เมตร ซึ่งรถโดยสาร 1 คัน อนุญาตให้ ผู้ใช้บริการ ยืนได้ไม่เกิน 10 คน กรณีผู้ใช้บริการเต็ม พนักงานเก็บค่าโดยสารจะติดป้ายข้อความ “ ผู้ใช้บริการเต็ม โปรดใช้บริการ รถคันถัดไป ” บริเวณกระจกหน้ารถโดยสาร พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการรับทราบ เพื่อรอใช้บริการรถโดยสารคันถัดไป
– ติดตั้ง QR Code แอปพลิเคชันไทยชนะ บริเวณหลังเบาะที่นั่ง และบริเวณผนังด้านข้างภายในรถโดยสาร สำหรับให้ผู้ใช้บริการสแกนผ่านโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน เพื่อเก็บข้อมูลการเดินทาง กรณีตรวจพบผู้ติดเชื้อใช้บริการรถโดยสารคันเดียว และเวลาเดียวกันกับผู้ใช้บริการ จะมีการแจ้งเตือนผ่านระบบ SMS ว่าผู้ใช้บริการมีความเสี่ยงให้รีบไปพบแพทย์
3.3 ด้านผู้ใช้บริการ
– ผู้ใช้บริการจะต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ขณะใช้บริการรถโดยสาร
– ผู้ใช้บริการจะต้องนั่ง และยืนตามจุดที่กำหนด กรณีผู้ใช้บริการเต็มจะต้องรอใช้บริการรถโดยสารคันถัดไป
– เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ควรสแกน QR Code แอปพลิเคชันไทยชนะ บนรถโดยสาร เพื่อเช็คอินเมื่อขึ้นรถ และเช็คเอาท์ก่อนลงจากรถ
– ผู้ใช้บริการจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานเก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และเจ้าหน้าที่สายตรวจพิเศษอย่างเคร่งครัด

โควิด-19

ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้บริการ สอบถามเส้นทางรถเมล์ หรือ แนะนำบริการได้ที่ www.bmta.co.th , facebook bmta@bmta.co.th หรือ ศูนย์ Call Center 1348 ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 22.00 น. เป็นต้นไป

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : กรมข่าวประชาสัมพันธ์

Next Post

“นิพนธ์” มท.2 เร่งติดตามแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ลงพื้นที่คลองสำโรง-หาดเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา

Sun Jun 14 , 2020
“นิพนธ์” มท.2 เร่งติดตามแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ลงพื้นที่คลองสำโรง-หาดเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา วันที่ 14 มิ.ย. 63 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ลงพื้นที่ติดตามและรับฟังแนวทางการแก้ไขคลองสำโรง จากเจ้าหน้าที่องค์การจัดการน้ำเสีย โดยนายชีระ วงศ์บูรณะ ผู้อำนวยการจัดการน้ำเสีย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อจน. พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ ตัณติเศรณี นายกเทศบาลนครสงขลา และนายไชยพร นิยมแก้ว นายอำเภอเมืองสงขลา ณ บริเวณปากคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา  หลังจากที่สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้นำรถแบคโฮคอยาว มาทำการขุดลอกขยายปากร่องน้ำคลองสำโรงให้กว้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังได้ทำการปรับภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณชายหาดคลองสำโรงดังกล่าว เพื่อปรับทัศนียภาพความสวยงามของปากคลองสำโรง คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง มีจำนวนชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น จึงต้องมีการวางแผนเรื่องการบำบัดน้ำเสียโดยน้ำที่ใช้แล้วเมื่อก่อนไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ฉะนั้นเมื่อบ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้นก็เป็นเหตุให้น้ำเสียไหลลงสู่คลองสำโรงมากขึ้นประกอบกับฤดูกาลของต้นน้ำตื้นเขิน เมื่อมีลมมรสุมพัดเข้ามาก็จะเอาทรายมาปิดปากร่องน้ำ จนทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามา ระบายหรือถ่ายเทได้ จึงทำให้เกิดน้ำขัง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรามีน้ำเสียมากขึ้น ทั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูคลองสำโรง ให้กับมาเป็นน้ำใสให้ได้ จึงต้องมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น ผมจึงมอบนโยบายให้กับองค์การกำจัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทยมาทำการศึกษาออกแบบสำรวจตลอดเส้นทางในคลองสำโรงทั้งหมดว่ามีมาตรการอย่างไรบ้างในการทำให้คลองสำโรงมีคุณภาพน้ำที่ดีและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเมืองสงขลาและเขารูปช้างในเบื้องต้น จึงต้องขอขอบคุณองค์การจัดการน้ำเสียที่ได้มาสำรวจออกแบบและทราบว่าในปี พ.ศ. 2564 ก็จะมีงบประมาณก้อนแรกเข้ามาดูแลในการที่จะรวบรวมน้ำเสียฝั่งเขตเทศบาลนครสงขลาก่อน ในการที่จะรวบรวมเข้าท่อบำบัดจะไม่ให้ปล่อยลงไปในคลองสำโรง แต่ว่าส่วนหนึ่งบ้านที่อยู่ริมคลองจะเป็นปัญหาอุปสรรคอยู่ จึงต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งคลองให้ช่วยกันดูแลระบบนิเวศช่วยกันดูแลการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ส่วนไหนที่จะทำให้น้ำเคลื่อนตัวได้ก็จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำส่วนไหนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดน้ำเสีย นานไปเข้าก็จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน จึงอยากจะเชิญชวนพี่น้องใครมีมาตรการ หรือจุลินทรีย์อันใดที่ช่วยกำจัดน้ำเสียได้ก็อยากให้ช่วยกันดูแลน้ำเสียในบริเวณชุมชนของแต่ละคน ที่สำคัญไม่ว่าเราจะมีมาตรการอย่างไรในการที่จะดูแลระบบน้ำเสีย ถ้าพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งคลองไม่ให้ความร่วมมือก็ยากที่จะประสบความสำเร็จจึงถือโอกาสนี้ขอความร่วมมือและช่วยกันดูแลให้คลองสำโรงแห่งนี้เป็นคลองน้ำใสให้ได้” นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย กล่าวเสริมว่า” แผนแม่บททั้งหมดที่เทศบาลนครสงขลามีอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่จะหางบประมาณมาล้างท่อน้ำเสีย ซึ่งท่านรัฐมนตรีก็มองเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้ว ยังเหลือก็แต่ขั้นตอนปฏิบัติ และความร่วมมือจากประชาชน ซึ่งก็จะเริ่มใน 2564 ส่วนการก่อสร้างส่วนเพิ่มเติม […]
โควิด-19