เตรียมปรับโควิดเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้

เตรียมปรับโควิดเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง 1 ต.ค.นี้

วันที่ 7 ก.ย. 65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นช่วงที่มีการปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม ขอย้ำให้กลุ่มเสี่ยง 608 ยังต้องมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากขณะนี้ผู้เสียชีวิตจากโควิดยังเป็นกลุ่มนี้เกือบ 100%

Blurred People In Dotonbori Road In The Namba District, Osaka

รวมทั้งยังแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในพื้นที่เสี่ยงหรือร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงส่วนแนวทางบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ในปี 2566 ต้องรอการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ว่าจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่ ต้องเน้นกลุ่มเสี่ยงใด จำนวนเท่าใด ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน

Prachum1

เรื่องยาต้านไวรัสทางกระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามการใช้งานและสำรองไว้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยทุกรายไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และหากแพทย์เห็นว่าไม่จำเป็นต้องรับยาก็ไม่ควรไปซื้อมารับประทานเอง โดยการซื้อยาต้านไวรัสในร้านขายยาต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เนื่องจากยังเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน

อ้างอิง : กระทรวงสาธารณสุข

Next Post

“CPAC Green Solution” สะท้อนแนวคิดผู้ให้บริการโซลูชันก่อสร้างสีเขียว ผ่านแคมเปญโฆษณา “Time to Change to CPAC Green Solution”

Thu Sep 8 , 2022
เนื้อหาภาพยนตร์โฆษณาเน้นการเล่าเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลผ่าน 4 Highlight Solution ได้แก่ – CPAC Drone Solution มองภาพให้กว้างกว่าเดิม ประเมินพื้นที่ได้แม่นยำด้วย Smart Technology for safety in Hazard Area มาพร้อมกับเซนเซอร์รอบทิศทาง และเกราะป้องกันการกระแทก การชน กับสิ่งกีดขวาง ช่วยป้องกันความเสี่ยงอันตรายแทนการใช้คนเข้าไปสำรวจในพื้นที่เสี่ยงอันตรายและเข้าถึงได้ยาก– CPAC BIM เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการก่อสร้างด้วย Digital Construction ใช้บริหารโครงการ ติดตามและควบคุมงานก่อสร้างแต่ละโครงการเทียบกับแผน ช่วยลด Waste (เวลา แรงงาน เศษวัสดุ) ระหว่างการก่อสร้างได้ 5-15% ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของโครงการ และลดความผิดพลาดในงานก่อสร้าง (Reject หรือ Rework)– CPAC LOW RISE BUILDING SOLUTION นวัตกรรมการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป ด้วยระบบพรีแคส ติดตั้งรวดเร็ว แม่นยำ […]
Vlcsnap 2022 07 20 015