สงขลา-สะบ้าย้อย เร่งอพยพชาวบ้านในพื้นที่หมู่1 บ้านแลแบง 20 ครัวเรือนออกจากหมู่บ้าน

สงขลา-สะบ้าย้อย เร่งอพยพชาวบ้านในพื้นที่หมู่1 บ้านแลแบง 20 ครัวเรือนออกจากหมู่บ้าน

วันที่ 28 ก.พ. 65 ภาพรวมของสงขลาถูกน้ำท่วมแล้วอย่างน้อย 4 อำเภอ และประสบวาตภัย 5 อำเภอบ้านเรือนเสียหาย 200 หลัง ที่ จ.สงขลา หลังจากที่มีฝนตกสะสมต่อเนื่องมา 4 วัน ทำให้ขณะนี้หลายอำเภอได้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านแล้วในหลายพื้นที่

858e30a5d8981890d264398ed078917f Small

โดยเฉพาะที่บ้านแลแบง หมู่1 ต.สะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย ได้ถูกน้ำจากเทือกเขาสันกาลาคีรีรอยต่ออ.สะบ้าย้อย กับอ.กาบัง จ.ยะลา ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านและระดับน้ำเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

810e61e65809fee1afaea04c7d76b7e0 Small

ทำให้ต้องอพยพชาวบ้านออกจากหมู่บ้านแล้วอย่างน้อย 20 ครัวเรือน เนื่องจากบ้านถูกน้ำท่วมโดยมีทหารจากกองพลทหารราบที่15 ทหารหน่วยเฉพาะกิจสงขลา 40 ฝ่ายปกครองสะบ้าย้อย ลุยน้ำนำรถบรรทุกทหาร และรถกระบะเข้าไปขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านออกไปอยู่ที่ศูนย์อพยพภายในสนามกีฬาเทศบาลตำบลท่าพระยาชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

Bfb5c70709bde15ee8f5c6911e3f15e8 Small

ในขณะที่ภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จ.สงขลา ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจ.สงขลา ได้รับรายงานว่ามีน้ำท่วมแล้วอย่างน้อย4อำเภอคืออ.สะบ้าย้อย รัตภูมิ บางกล่ำ และนาหม่อม รวมทั้งยังมีอีกหลายพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากวาตภัยเช่น อ.ระโนด สทิงพระ สิงหนคร เทพา และอ.เมือง บ้านเรือนเสียหาย 200 หลัง นอกจากนี้พื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาก็เริ่มได้รับผลกระทบจากน้ำในทะเลสาบสงขลาหนุนเข้าท่วมแล้วเช่นกัน

Fc77c373588a7bd24f95425eef91a262 Small

อ้างอิง : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

Next Post

อย.ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีสำรองเพียงพอ

Mon Feb 28 , 2022
อย.ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีสำรองเพียงพอ วันที่ 28 ก.พ. 65 ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศ ทำให้มีความต้องการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อภ. ได้มีการบริหารจัดการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ขณะนี้มีการสำรอง 24 ล้านเม็ด และทำการผลิตเพิ่มเติมอีก 60 ล้านเม็ด รวมการสำรองทั้งสิ้น 84 ล้านเม็ด เพื่อกระจายสู่หน่วยบริการแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จำนวนดังกล่าว เป็นการสำรองอยู่ที่ นอกจากนี้ยังมีการสำรองไว้ที่หน่วยบริการต่างๆ ทั่วประเทศอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งยาฟาวิพิราเวียร์ทั้งหมดได้จัดสรรให้กับหน่วยบริการ หรือโรงพยาบาลแม่ข่ายต่างๆ ตามการบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยกลุ่มภารกิจสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุง เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งกระจายตามการจัดสรรให้กับหน่วยบริการแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากนั้นหน่วยงานแม่ข่ายจะทำการบริหารจัดการและกระจายให้แก่หน่วยบริการลูกข่ายในแต่ละพื้นที่ต่อไป อ้างอิง : องค์การเภสัชกรรม (อภ.) Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01