สธ.สงขลา สนับสนุนนำกัญชา กัญชง มาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์การดูแลสุขภาพ ฯ
วันที่ 14 มิ.ย. 65 นพ.สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เผยว่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติด ให้โทษ ในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 นั้น กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำคือ เด็ก และสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ไม่ควรบริโภคกัญชา รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาบางชนิด การปรุง อาหารควรเลือกใช้ส่วนของใบ ในขณะที่การใช้เพื่อนันทนาการ มีผลเสียต่อ สุขภาพและอาการทางจิต อาจส่งผลต่อครอบครัวและสังคมได้ ในขณะเดียวกัน การปรุงอาหารที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาจะต้องมีความระมัดระวัง ไม่ให้เกิด ผลเสียและหากใส่กัญชามากเกินพอดี อาจทำเกิดอาการไม่พึงประสงค์และ เสียลูกค้าในร้านอาหารได้
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเตรียมความ พร้อมรองรับในเรื่องผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในการนำกัญชา กัญชงไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้ามจำหน่ายให้ใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การออกประกาศกำหนด ให้กลิ่น ควันกัญชา กัญชงเป็นเหตุรำคาญ นโยบายนี้ไม่ครอบคลุมถึงการ สูบหรือ การ บริโภคเพื่อความบันเทิงหรือนันทนาการ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ ของ กระทรวง สาธารณสุข สำหรับการใช้กัญชาทาง การแพทย์ ( ของกรม การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 (ม.ค. 2564) ระบุข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี THC เป็นส่วนประกอบ ดังนี้
1) ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสารสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ หรือสารที่เป็นตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด
2) ผู้ที่มีอาการรุนแรง ของโรค หัวใจและปอด หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
3) ผู้ที่เป็นโรคจิต มาก่อน หรือมีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรควิตกกังวล
4) สตรี มีครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือวางแผน จะตั้งครรภ์
เนื่องจากมีรายงานทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย และพบสารกัญชาในน้ำนมแม่ และ นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังอื่นๆ ได้แก่ ผู้มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากสารTHC ส่งผลต่อ สมองที่กำลังพัฒนา , ผู้ที่เป็นโรคตับ , ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก , ผู้ใช้ยาอื่นๆ เช่น ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์(Opioids), ยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) และยาวาร์ฟาริน(Warfarin) ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด
อ้างอิง : สาธารณสุขจังหวัดสงขลา