กลุ่มผู้ชุมนุมนัดรวมตัวครั้งใหญ่ เเสดงพลังเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของราษฎร 18 ต.ค. เวลา 16.00 น. ลานหน้าคณะนิติศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
ประกาศจากทางกลุ่ม Law Long Beach เชิญชวนร่วมกิจกรรมเเสดงออกเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของราษฎร เเละประณามการใช้ความรุนแรงอันไร้มนุษยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำต่อผู้ชุมนุมราษฎร
หากไม่รับร่างประชาชน จะไม่มีการประนีประนอมอีกต่อไป
วันพุธ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00-21.00น. ณ ลานหน้าคณะนิติศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
หมายเหตุ : ใส่เเมสก์เพื่อความปลอดภัย พร้อมนำเสื้อกันฝนหรือร่มหากมีฝนตก
คำถามข้อสงสัยของสมาชิกรัฐสภาประเด็นต่างๆ
1. ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างของคณะราษฎร 2563
ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียใจแต่ผมคงห้ามจินตนาการของท่านไม่ได้ แต่ถ้าท่านทำการบ้านสักเล็กน้อยก็จะทราบว่า เราเริ่มต้นกิจกรรมเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 7 สิงหาคม ปีนี้ คณะราษฎรประกาศตั้งเมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคม
มีการหยิบประเด็นในทางเทคนิคกฎหมาย นิติวิธีต่างๆ ขึ้นมาเพื่ออุดรอยรั่วของร่างที่เราเสนอมา หลังจากฟังมาสามชั่วโมงยังไม่มีสมาชิกท่านใดที่เห็นค้านในหลักการความฝันทั้ง 5 ข้อของเรา ความฝันที่เราอยากจะมีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรีเอง โดยไม่มีกลุ่มคนพิเศษมีอำนาจเหนือประชาชน ความฝันที่เราอยากจะมีองค์กรอิสระที่มีที่มาอย่างอิสระ ไม่ได้มีที่มายึดโยงกับคนที่เขาต้องตรวจสอบ เหล่านี้ไม่มีใครคัดค้านเลย แต่ในรายละเอียด ขอเรียนว่า วันนี้เป็นวันแรกในชีวิตที่ผมได้เข้ามาในห้องประชุมแห่งนี้ ผมไม่เคยทำงานในวงการนิติบัญญัติ เจ้าหน้าที่ของเราไม่มีใครเคยทำงานในวงการนิติบัญญัติ ทั้งในรัฐสภา ในคณะกรรมการกฤษฎีกา และในสถานที่ต่างๆ เรามีเพียงหลักการที่เราอยากจะเห็น และเราก็นำมาเสนอ
ดังนั้นในเวลาที่ท่านติดใจในประเด็นต่างๆ ที่ว่า รับไปก่อนแล้วในวาระสองจะทำอย่างไร จะแก้ไขหลักการ จะแก้ได้เพียงใด ท่านไม่ต้องถามเราครับ ถ้าท่านเห็นด้วยในหลักการใหญ่ๆ ด้วยกันว่าเรามีความฝันเที่อยากจะเห็นประเทศมีระบอบการเมืองที่ปกติร่วมกัน ท่านรับหลักการไปก่อนได้ และผมวิงวอนขอความช่วยเหลือ จากท่าน ส.ส. ส.ว.ที่อยู่ในสภามานาน มีประสบการณ์มากกว่าผม ท่านรู้ว่าปัญหาในทางเทคนิค ทางนิติบัญญัติต้องแก้ไขอย่างไร ผมรบกวนขอให้ท่านช่วยแก้ไขมันในวาระที่สองเพื่ออุดรอยรั่วที่เราไม่อยากจะเห็นด้วยกัน
เช่น ประเด็นที่ท่าน ส.ว.มณเฑียร และ ส.ส.กรนิษฐ์ ตั้งขึ้นมาเรื่องการยกเลิกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่อาจมีผลเป็นการนิรโทษกรรมคดีทุจริต ผมยืนยันตั้งแต่แรกแล้วว่าหลักการที่เรานำมาเสนอในวันนี้ คือเราไม่ต้องการเห็นการนิรโทษกรรมไม่ว่าใครก็ตาม รวมทั้งนักการเมืองคดีทุจริต และ คสช.ด้วย แต่ถ้าท่านกังวลว่า ร่างของเราจะเปิดช่องให้ตีความไปทางนั้นได้อย่างไร การที่เราเสนอให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญก็เพื่อยกเลิกที่มาที่ไม่ชอบธรรมขององค์กรอิสระ ถ้าท่านกังวลประเด็นอื่น รบกวนช่วยแก้ไขประเด็นนี้ในวาระที่สองที่สามต่อไปด้วย
3. ประเด็นไม่เห็นด้วยกับภาคประชาชนบ้างหลักการ
หลายท่านตั้งประเด็นมาว่าเห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วยบางประเด็น แล้วเสนอมาพร้อมกันทั้งหมด ก็ลำบากใจที่จะต้องรับทั้งหมด ผมเรียนว่า ผมเห็นใจท่านแต่เราเป็นภาคประชาชน เราไม่มีอำนาจเข้าชื่อกันแล้วเสนอพร้อมกันหลายๆฉบับ 10 ประเด็น 10 ฉบับ เราต้องทำฉบับละ 50,000 ชื่อ 1 ฉบับใช้กระดาษแสนใบ 10 ประเด็นก็ต้องใช้กระดาษล้านใบ ผมคิดว่ามันเป็นการสิ้นเปลืองมากเกินไป และเป็นภาระกับภาคประชาชนมากเกินไป เราจึงจำเป็นต้องรวบรวมหลักการทั้งหมด ความฝันทั้งหมด แล้วเสนอมาทีเดียว ซึ่งผมหวังว่าถ้าท่านไม่ได้เห็นค้านในหลักการใหญ่ๆ เราก็น่ารับกันได้
4. ประเด็นการปฏิรูปประเทศ
ท่าน ส.ว. ที่ตั้งประเด็นเรื่องการปฏิรูปประเทศ ท่านถามว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศในรัฐธรรมนูญมีปัญหาอย่างไร จึงต้องเสนอให้ยกเลิก ผมผเรียนว่า การปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องดี ไม่มีใครที่ไม่อยากเห็นประเทศนี้ถูกปฏิรูปเพียงแต่ว่ากระบวนการปฏิรูปประเทศต้องเดินหน้าไปแบบมีส่วนร่วม ที่มาของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่มาเขียนแผนปฏิรูปประเทศนี้ ทั้งหมดเขียนไว้อย่างดูดี บอกว่าให้ตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ตีกรอบเวลาไว้ว่าให้ตั้งภายในคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว คือ ภายใต้รัฐบาล คสช. ซึ่งจากการแต่งตั้งมา 120 ท่าน มี 46 ท่านที่เคยถูกแต่งตั้งก่อนหน้านี้ให้ปฏิบัติหน้าที่ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ และต่อมาก็ถูกแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่งให้ทำหน้าที่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมาแล้วอย่างน้อยสองสมัย และก็ถูกแต่งตั้งอีก และบางท่านก็ยังถูกแต่งตั่งเข้ามาในสภาแห่งนี้อีก
ถ้าการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จด้วยมือท่านเหล่านั้น มันคงสำเร็จไปนานแล้ว แผนการปฏิรูปฯ ถูกเขียนขึ้นมา 3,000 กว่าหน้า ผมไม่แน่ใจว่ามีสภาชิกรัฐสภาท่านใด อ่านจนจบหรือไม่ แต่มันถูกอนุมัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดที่แล้ว ซึ่งหลายท่านก็ถูกแต่งตั้งให้มาอยู่ในสภาชุดนี้ ผมเรียนตรงๆ ว่าผมลองอ่านแล้วหลายฉบับ แต่ว่าก็เข้าใจไม่หมด เราเห็นว่ามีหลายอย่างที่เป็นหลักการที่ดีกระบวนการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ เราเห็นด้วย แต่เราไม่แน่ใจว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศจะใช้บังคับอย่างไร เนื่องจากกระบวนการมันเขียนไว้ว่า ข้าราชการหน่วยงานรัฐทุกคนต้องปฏิบัติตามแผนปฏิรูปประเทศซึ่งยาว 3,000 กว่าหน้า ครอบคลุมทุกมิติ ทุกเรื่อง ทุกรายละเอียด และคนที่จะตีความว่าใครปฏิบัติถูกหรือไม่ถูก ก็เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน และมีคณะกรรมการท่านอื่นๆ ที่ล้วนอยู่ในรัฐบาลนี้ทั้งนั้น
เราจึงมีปัญหาในทางกระบวนการไม่ใช่แค่เนื้อหาเท่านั้น เนื้อหามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี แต่ถ้าเราจะปฏิรูปประเทศ ควรจะต้องเริ่มกันใหม่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ที่ท่านติดใจเรื่องประเด็นการปฏิรูปการศึกษา ผมเรียนว่า เราเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญหมวด 16 ไม่ได้เสนอยกเลิกพระราชบัญญัติ และเมื่อเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญไปแล้วพระราชบัญญัติและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ไม่ได้มีผลกระทบกันท่านน่าจะกังวลไปเอง
5. ประเด็นสุญญากาศจากการยุบองค์กรอิสระ
สุดท้าย ที่ท่านเฉลิมชัย เครืองาม ที่ตั้งประเด็นไว้ ผมเรียนว่า ท่านอธิบายไว้ดีมากแต่ผมยังเข้าใจไม่หมด ท่านพยายามจะบอกว่าร่างของเราจะทำให้เกิดสุญญากาศ องค์กรนั้นจะต้องยุบ องค์กรนั้นจะต้องตั้ง อะไรจะตั้งก่อนตั้งหลัง ผมเรียนว่า เจตนาของเราคือ ส.ว.ที่มาจาก คสช. ต้องพ้นจากตำแหน่งองค์กรอิสระ พ้นจากตำแหน่งพร้อมกันและให้เลือก กกต.และศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ทันที ตามกระบวนการในรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อมาจัดการเลือกตั้ง ส.ว.ชุดใหม่ ให้ ส.ว.ชุดใหม่ มาจากการเลือกตั้งให้ได้ก่อน นี่คือกระบวนการที่เราอยากเห็น
อะไรจะก่อนจะหลัง ผมก็ขอกลับไปที่ประเด็นแรกที่ผมขอร้องให้ท่านช่วยคิด และช่วยแก้ปัญหา เราไม่มีเจตนาที่จะสร้างสุญญากาศทางการเมืองขึ้นมา ประเทศไม่ต้องการสุญญากาศแต่ภายใต้หลักการหรือความฝันที่เราอยากจะเห็นร่วมกัน ที่ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธเลยนี้ มันจะแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้มันเป็นจริงได้โดยประเทศไม่มีสุญญากาศ เราอาจจะมีประสบการณ์ในทางนิติบัญญัติไม่เท่าท่าน เราจึงไม่อาจเสนอได้ในขั้นตอนแรก แต่เราจะขอให้ท่านรับในวาระแรก และช่วยเราแก้ปัญหานี้ในวาระที่สอง
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : iLaw , Law Long Beach
Wed Nov 18 , 2020
การประปาส่วนภูมิภาค ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ตอบรับมติ ครม. ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อบรรเทาภาระค่าน้ำประปาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน 2564 โดยให้ความช่วยเหลือค่าน้ำประปาในวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 จากเดิมที่สิ้นสุดไปเมื่อกันยายนที่ผ่านมา สำหรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เคยลงทะเบียนกับ กปภ. แล้ว สามารถใช้สิทธิ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทะเบียนซ้ำอีก สำหรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยังไม่เคยลงทะเบียนกับ กปภ. สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ กปภ. ที่ https://payment.pwa.co.th/welfare-register/ หรือที่ กปภ. สำนักงานใหญ่ สำนักงาน กปภ.เขต 1 – 10 และ กปภ. ทั้ง 234 สาขาทั่วประเทศ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – เดือนกันยายน 2564 (ใบแจ้งค่าน้ำประปาเดือนพฤศจิกายน 2563 – เดือนตุลาคม 2564) รวมเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยเริ่มใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่ลงทะเบียน สำหรับผู้มีบัตรฯ ที่ลงทะเบียนแล้ว สามารถชำระค่าน้ำประปาได้ที่สำนักงาน กปภ.สาขา และตัวแทนรับชำระค่าน้ำประปาของ กปภ. ทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางการชำระค่าน้ำประปาในระบบออนไลน์ได้ตามปกติ หลังจากนั้น กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมมาจ่ายคืนแก่ผู้มีบัตรฯ ที่ใช้น้ำประปาภายใต้วงเงินที่กำหนดผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ของเดือนถัดไป ซึ่งในกรณีใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ จะต้องเป็นผู้รับภาระค่าน้ำประปาทั้งหมด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PWA Contact Center โทร. 1662 หรือ Call Center บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 0-2109-2345 หรือ Call Center กรมบัญชีกลาง 0-2270-6400 HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สวท.สงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine