ม.หาดใหญ่ เผยโพลความพอใจชองชาวสงขลาในมาตราการของรัฐ ช่วงโควิด-19
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหา โอกาส และมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 200 คน และด้วยวิธีแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 200 คน ระหว่างวันที่ 27 เมษายน 2563 -7 พฤษภาคม 2563 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างดังนี้ (Sample Space) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.75) อายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี (ร้อยละ 42.25) รองลงมา ช่วงอายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 32.75) และช่วงอายุ 21-30 ปี (ร้อยละ 8.75) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 36.75) และมีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา มากที่สุด (ร้อยละ 48.25) รองลงมา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช คิดเป็นร้อยละ 18.00 และ 8.00 ตามลำดับ
จากผลการสำรวจ รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ประธาน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 31.75 พอใจการแก้ปัญหาโควิด-19ของรัฐบาลในระดับมากถึงมากที่สุด และพอใจการแก้ปัญหาโควิด-19ของรัฐบาลในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 31.25
ส่วนผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสภาพจิตใจจากการรับรู้ข่าวโควิด-19 กับค่าไฟฟ้าแพงขึ้นในช่วงเดือนมีนาตมและเมษายน มากที่สุด (ร้อยละ 94.25) รองลงมาเป็นการระบาดของโรคที่ไม่สามารถเดินทางได้ตามปกติ (ร้อยละ 93.50) และสินค้าอุปโภคขึ้นราคา (ร้อยละ 91.00) ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงโอกาสจากสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ประชาชนร้อยละ 28.25 เห็นว่าเกิดความร่วมมือและความสามัคคีของคนไทยในการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในสถานการณ์โควิด-19 รองลงมา โอกาสของธุรกิจออนไลน์ และโอกาสของสถาบันการศึกษาในการเรียนออนไลน์และนวัตกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 24.75 และ 10.25 ตามลำดับ
ประชาชนร้อยละ 50.75 เห็นว่าเหมาะสมกับวิธีการและมาตรการเยียวยาประชาชน 5,000 บาท 3 เดือนของรัฐบาล และไม่เหมาะสมกับวิธีการและมาตรการเยียวยาประชาชน 5,000 บาท 3 เดือนของรัฐบาล (ร้อยละ 49.25) ส่วนมาตรการที่ประชาชนพึงพอใจในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า ประชาชนพอใจมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.28 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) รองลงมา คือ มาตรการลดการส่งเงินประกันสังคมของนายจ้าง/ลูกจ้าง และมาตรการใช้ฟรีและลดค่าน้ำ-ไฟ มีค่าเฉลี่ย 3.25 และ 3.23 ตามลำดับ
1.ประชากรต้องการให้รัฐบาลจัดการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 มากที่สุด (ร้อยละ 55.25)
2.พัฒนาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ให้ก้าวไกลสู่สากลและวางแผนพัฒนาไทยเป็นครัวโลกอย่างจริงจัง คิดเป็นร้อยละ 20.00 และ 8.50 ตามลำดับ
อ้างอิงข้อมูลจาก: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์