จับตาดูครม.ดันมติ 5 มาตราการเด่นเยียวยา covid-19
วิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม เป็นวงกว้าง ทำให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องออกหลายๆ มาตรการในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และควบคุมลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไม่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดเมื่อวานนี้ (7 เมษา) ได้มีการออกมาตรการเพิ่มเติมมาในการประชุมครม. โดยอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยา โควิด-19 เฟส 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อการสาธารณสุข ดูแลเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งภาคการเงิน ภาคธุรกิจ ประชาชน และเกษตรกร จะบังคับใช้ภายในเดือนนี้
มติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ
1. ปรับการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จาก 16 พ.ค. 63 เป็น 1 ก.ค. 63
2. ฟรีค่าไฟฟ้า 3 เดือน (เม.ย. – มิ.ย. 63)
– สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดต
– ใช้ฟรีสูงสุดได้ถึง 90 หน่วยต่อเดือน
3. ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้
– สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ติดต
4. มาตรการดูแลเยียวยา COVID-19 ระยะที่ 3 รวม 1,900,000 ล้านบาท
-พรก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและด
1.แผนงานด้านสาธารณสุข-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 6 แสนล้านบาท (เยียวยาประชาชน 6 เดือน เม.ย.-ก.ย.63 รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ให้กลุ่มอาชีพอิสระ 9ล้านคน ลงทะเบียน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ,เยียวยาเกษตรกร,ดูแลด้านสาธารณสุข)
2. แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 4 แสนล้านบาท (สนับสนุนและสร้างความเข็มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน,สนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่)
-พรก.ให้อำนาจ ธปท.ออก Soft loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs (5แสนล้านบาท)
1.สินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2 % สำหรับ SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
2.ธพ. และ SFOs พักชำระหนี้(ทั้งเงินต้นและเงินดอกเบี้ย 6 เดือน) ให้SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
-พรก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน
1.ตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund หรือ BSF และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว
5. มาตราการเสริมอื่นๆ
– อนุมัติงบกลาง 801 ล้านบาท จัดซื้อและกระจายหน้ากากอนา
– ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จาก 5% เหลือ 1% และมาตรา 39 ลดจาก 9% เหลือ 7% เป็นเวลา 3 เดือน และขยายเวลาส่งเงินสมบท งวดค่าจ้างเดือน มี.ค.-พ.ค.ออกไป 3 เดือน
– เลื่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 จากเดิมขยายถึงวันที่ 30 มิ.ย. มาเป็นวันที่ 31 ส.ค. และเพิ่มสิทธิ์หักภาษีลดหย่อนประกันสุขภาพ จากเดิมไม่เกิน 15,000 บาท มาเป็นไม่เกิน 25,000 บาท
– ลูกจ้างรายได้ประจำ ในระบบประกันสังคม กรณีนายจ้างหยุดกิจการ และถูกเลิกจ้าง ทางประกันสังคมจ่ายชดเชย 50% ของค่าจ้าง หรือไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 180 วัน และในกรณีหยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% ไม่เกิน 60 วัน หรือไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน และกรณีลาออก จ่าย 30% ไม่เกิน 90 วัน หรือ 4,500 บาทต่อเดือน
ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะหลังจากมีการออกพ.ร.ก.กู้เงิน1ล้านล้านนั้น อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าในปีงบประมาณ 2564 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 57% แต่ก็ยังไม่เกินเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดว่าควรอยู่ที่ 60% ของจีดีพีอย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าปัจจุบันไม่ใช่ภาวะปกติเป็นภาวะวิกฤติทางกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณและสำนักงานพัฒบาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงจะร่วมพิจารณาขยายเพดานหนี้สาธารณะและเสนอให้คณะกรรมการวินัยการเงินการคลังที่มีพล. อ. ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาในกรณีที่มีความจำเป็น
อ้างอิงข้อมูลจาก : ไทยคู่ฟ้า/รัฐบาลไทย