เตือนชาวสวนยาง โรคใบร่วงในยางพาราเริ่มระบาดหนักในหลายพื้นที่

เตือนชาวสวนยาง โรคใบร่วงในยางพาราเริ่มระบาดหนักในหลายพื้นที่

การยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยาง เฝ้าระวังโรคใบร่วงหรือไฟทอฟธอราในช่วงหน้าฝน ย้ำเกษตรกรต้องดูแลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ป้องกันการระบาดจากต้นสู่ต้น ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน ถือเป็นช่วงที่เชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora) หรืออีกชื่อคือโรคใบร่วง มักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะกับสวนยางพารา ซึ่งเชื้อราไฟทอฟธอราจะเข้าทำลายส่วนต่าง ๆ ของต้นยางได้แก่ ฝัก ใบ กิ่งก้าน และหน้ากรีดยาง ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำ ค้างอยู่บนต้น ไม่แตก และร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ และที่สำคัญ ผลผลิตยางจะเริ่มลดลงถ้าเชื้อราไฟทอฟธอราระบาด ทำให้ใบร่วงมากกว่า 20% และหากปล่อยให้โรคระบาดโดยไม่มีการควบคุมใบจะร่วงถึง 75% ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 30-50%

เตือนชาวสวนยาง โรคใบร่วงในยางพาราเริ่มระบาดหนักในหลายพื้นที่

ด้านลักษณะอาการเกษตรกรสามารถสังเกตุอาการได้เด่นชัดที่ก้านใบ จะปรากฎรอยแผลช้ำสีน้ำตาลเข้มถึงดำตามความยาวของก้านใบ แผลบริเวณที่เป็นทางเข้าของเชื้อ มักมีหยดน้ำยางเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ การเข้าทำลายที่ก้านใบนี้เองเป็นผลทำให้เกิดใบร่วงทั้งที่ใบยังมีสีเขียวสดอยู่ เนื่องจากเชื้อสร้างเนื้อเยื่อ abscission layer เมื่อนำมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดออกจากก้านใบโดยง่าย บนแผ่นใบย่อยเชื้ออาจเข้าทำลายที่ปลายใบ หรือขอบใบ เกิดแผลสีน้ำตาล มีลักษณะช้ำน้ำ ขยายติดต่อกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงก่อนที่จะร่วง ทั้งนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเติบโตของเชื้อราไฟทอฟธอรา พันธุ์ยางที่ปลูกอ่อนแอ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อนี้สามารถเข้าทำลายฝักยางได้ทุกระยะ ทำให้ฝักเน่า ถ้าความชื้นในอากาศสูงจะพบเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมฝัก ฝักที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ไม่แตกและร่วงหล่นตามธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งเชื้อโรคในปีถัดมา

ยางยังแรงไม่หยุดพุ่งกว่า 77 บาท/กก. กยท.คาดราคาเป้าหมายแตะ 100 บาท ในรอบ 3 ปี

สำหรับความรุนแรงของการเกิดโรคขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก รวมถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ อยู่ระหว่าง 25-28 องศา เชื้อนี้ต้องการน้ำเพื่อการขยายพันธุ์ จึงระบาดได้ดีในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุก มีความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วัน เช่นหน้าฝน หรือมีน้ำท่วมขัง และมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ต่อวัน

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวต่อถึงวิธีการป้องกันเชื้อไฟทอฟธอราว่า เกษตรกรควรปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค เช่น RRIT 251 และ RRIT 408 ในเขตและแหล่งปลูกยางที่ระบาดของโรค ไม่ควรปลูกยางพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่น RRIM600 หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนยาง เมื่อพบโรคให้ใช้สารเคมี metalaxyl หรือ fosetyl-AI ทาที่หน้ากรีดเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เนื่องจากเป็นเชื้อเดียวกัน ต้นยางใหญ่ที่เกิดใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมด ควรหยุดกรีดยาง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์

เตือนชาวสวนยาง โรคใบร่วงในยางพาราเริ่มระบาดหนักในหลายพื้นที่

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : การยางแห่งประเทศไทย

Next Post

วางแผนพัฒนาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ เดินหน้าแก้ภัยแล้งและส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

Sun Nov 1 , 2020
วางแผนพัฒนาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ เดินหน้าแก้ภัยแล้งและส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน วันที่ 31 ต.ค. 63 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามจุดก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองภูมี โดยมี นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน นายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ นายชูชาติ รักจิตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายเดช เล็กวิชัย  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 และผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน  ณ  จุดก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองภูมี ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เผยว่า  ลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำหลากเป็นประจำเนื่องจากบริเวณต้นน้ำของลุ่มน้ำมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพียงแห่งเดียว ส่วนบริเวณกลางน้ำมีเพียงฝาย และประตูระบายน้ำ   ประกอบกับด้านท้ายน้ำไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำจึงไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ในลำคลองได้ อีกทั้งยังประสบปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำด้านปลายคลองอีกด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงได้วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการดำเนินโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองภูมี พร้อมอาคารประกอบในพื้นที่ บ้านในไร่ หมู่ที่ 6 […]
ปกข่าวใหม่ [recovered] 01