วจก. ม.อ. จัดอบรม WOW! Start Up Boost Camp พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Start Up ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
วันที่ 13 มิถุนายน 2563 ที่จะถึงนี้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบุรี ศรีภู บูติก โฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา เขตหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการ WOW! Start Up Boost Camp ภาคใต้ฝั่ง อ่าวไทย ซึ่งการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่ม จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนานวัตกรรมด้านการ บริหารจัดการ (MIDC) คณะวิทยาการ จัดการ เป็นผู้รับผิดชอบคำเนินโครงการนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพการ บริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งค่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ให้มีองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ มีแนวคิดเชิง นวัตกรรมในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น การสร้างแผนธุรกิจออนไลน์ การทำบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น การทำตลาดออนไลน์ หรือตลาดดิจิทัล การออกแบบตราสินค้าและการพัฒนา Packaging ทั้งนี้เพื่อช่วยในการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการแบบ Start Up ช่วยเพิ่ม รายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ
ทั้งยังเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอาวไทยให้สูงขึ้นอีก ทางหนึ่งด้วย โดยภายในงานประกอบด้วยผู้ประกอบการ SMES OTOP และวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสงขลา และพัทลุง เข้าร่วมจำนวน 75 ราย ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ จะจัดอย่างต่อเนื่องทุกวันเสาร์และอาทิตย์ติดต่อกันเป็น จำนวน 6 วัน และจะจัดขึ้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า สุราษฎร์ธานี สำหรับ ผู้ประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชุมพร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าว ว่า จากยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศภายไต้”ประเทศไทย 4.0″ ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 2) ปี (พ.ศ. 2560 -3579) ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง”
ในส่วนของยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีกลยุทธ์หนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ นี้ คือ การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพ แรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล โดยทั้งนี้ในส่วนของการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าว ไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการค้าในแต่ละจังหวัดไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของจังหวัดทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้ดำเนินต่อไปด้วยความ มั่นคงและยั่งยืน
ภารกิจสำคัญของแต่ละจังหวัดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดในภาพรวม ซึ่ง โครงการนวัตกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จึงเป็นเสมือนการพัฒนาและขับเคลื่อนวิสาหกิจเริ่มต้นและวิสาหกิจชุมชน อันจะเป็นรากฐานที่มั่นคงต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศชาติต่อไป
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี ลิ้มอูสันโน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ผ่านมามุ่งเป้าการวิจัยและบริภารวิชาการ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 20 ปี (พ.ศ. 2550-2579) ที่เน้นพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) โดยมหาวิทยาลัยด้องมีส่วนในการใช้องค์ความรู้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องอาศัยการบูรณการศาสตร์ในทุกสาขาวิชา สอดคล้องกับการที่คณะวิทยาการจัดการมีศาสตร์การจัดการ ที่หลากหลายทั้งศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการวิจัยและ บริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างสมบูรณ์ ดังจะเห็นได้ว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา คณะ วิทยาการจัดการ
ศูนย์ MIDC ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดสงขลาและจังหวัดนราธิวาส เพื่อ ให้บริการวิชาการในการพัฒนาผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาและนราธิวาส ได้แก่ ผู้ประกอบการสินค้าที่ ระลึกทางวัฒนธรรมในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางศูนย์ MIXC ได้ช่วยในการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ให้แก่ ผู้ประกอบการจำนวน 10 รูปแบบ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์กระจูด ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จากไม้ และ ผลิตภัณฑ์เซรามิค
นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์ จังหวัดสงขลา (Product Wow! of Songkhla) ที่ทางศูนย์ MIDC ได้ช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โลโก้ และ บรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มข้าวยำกรอบสมุนไพร ขนมเปี๊ยะอบเทียน ป. สุญาตา น้ำพริกแม่ปลื้ม น้ำผึ้งวาสนา ไข่ ครอบแฝดสยาม ไอศกรีมนมแพะบายใจ และผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจากสวนลุงวร เป็นต้น
สำหรับในปี 2563 นี้ คณะวิทยาการจัดการ โดยศูนย์ MIDC ยังได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินงานโครงการนวัตกรรม พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำหรับการพัฒนา ผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ ทำให้สามารถขยายตลาดสินค้าของตนเองให้ กว้างขวางและหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มชักยภาพการแข่งขันและเพิ่มรายได้ให้กับ ผู้ประกอบการในยุค 4.0 ได้อย่างแท้จริง
อ้างอิงข้อมูลจาก : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์