มท.1 สั่งตรง!! ขอให้เฝ้าระวังน้ำท่วมทุกพื้นที่ พร้อมแนวทางป้องกันโดยโยธาธิการสงขลา

มท.1 สั่งตรง!! ขอให้เฝ้าระวังน้ำท่วมทุกพื้นที่ พร้อมแนวทางป้องกันโดยโยธาธิการสงขลา

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา หรือ บิ๊กป๊อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เผยว่าในหลายพื้นที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน

563000008885701 HATYAITODAY
“บิ๊กป๊อก” พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา

รมต. มหาดไทย กล่าวว่า เพื่อให้การรับมือผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้กำชับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ดำเนินการตามแนวทางแผนเผชิญเหตุ ได้แก่
1.ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งกักเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ แนวโน้ม และแจ้งเตือนให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมแจ้งเตือนประชาชนทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย และช่องทางการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

2.ตรวจสอบและเสริมความมั่นคงแข็งแรงเชิงโครงสร้างให้กับคันกั้นน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำไหลเข้าในปริมาณมาก พร้อมหาทางปรับปรุงแก้ไขหากพบความผิดปกติโดยเร่งด่วน

3.ให้มีการประเมินสถานการณ์ครอบคลุมทุกมิติ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าพื้นที่มีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ให้แจ้งเตือนและประกาศให้ประชาชนรับรู้จุดปลอดภัยที่ชัดเจน หรืออพยพประชาชนไปยังจุดปลอดภัยที่กำหนด พร้อมจัดกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เข้าช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ พร้อมจัดให้มีสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพ การแจกจ่ายถุงยังชีพให้ครอบคลุมทั่วถึง และจัดตั้งโรงครัวพระราชทานเพื่อประกอบอาหารเลี้ยงประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

4.ติดตั้งป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทางเบี่ยงบริเวณเส้นทางคมนาคมที่มีน้ำท่วมขัง และห้ามผ่านในเส้นทางที่เกิดน้ำหลาก หรือน้ำท่วมขังสูงโดยเด็ดขาด

5.ให้ความสำคัญกับการเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยซ้ำ โดยบูรณาการทุกภาคส่วนช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุ และเร่งฟื้นฟู เยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบซ้ำ และเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือและดำเนินการฟื้นฟูตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

การประชุมหารือถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสงขลา
การประชุมหารือถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ต่อมาทางด้านของกรมโยธาธิการจังหวัดสงขลาที่ล่าสุดได้มี ในเรื่องของ ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำภาคใต้ ระยะที่ 1 โดยเริ่มที่ชุมชนเมืองควนลัง และชุมชนต่อเนื่องจังหวัดสงขลา

กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เฉพาะที่มีความสำคัญของประเทศ พื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่โบราณสถาน พื้นที่บรรเทาทุกข์ โดยเน้นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมรุนแรง และเกิดขึ้นเป็นประจำเพื่อจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำหลักในพื้นที่ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงแข็งแรง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ เพื่อวางแผนการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำหลัก คันป้องกันน้ำท่วม ถนนท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ ประตูน้ำ สถานีสูบน้ำ ให้สอดคล้องกับการใช้ที่ดินของพื้นที่ชุมชน เพื่อเป็นการสร้างอนาคตของประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาพรวมของพื้นที่ชุมชน ที่จำเป็นเร่งด่วนของลุ่มน้ำภาคใต้ให้สอดคล้อง และสอดประสานกับแผนหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระดับลุ่มน้ำต่อไป

รูปแบบผังเมืองสำหรับแผนการป้องกันน้ำท่วม
รูปแบบผังเมืองสำหรับแผนการป้องกันน้ำท่วม

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์

Next Post

พร้อมแล้ววันนี้ภาครัฐเปิดบริการ E-Service กว่า280งาน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

Mon Aug 24 , 2020
พร้อมแล้ววันนี้ภาครัฐเปิดบริการ E-Service กว่า280งาน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดา ธนาดิเรก รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานบริการของรัฐแบบ e-Service ตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้รายงานให้ทราบถึงความคืบหน้าว่า ณ ปัจจุบันนี้ มีงานบริการในรูปแบบ e-Service เรียบร้อยแล้ว 280 งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการ และให้ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อ ณ สำนักงาน ทั้งนี้ แนวทางในการขับเคลื่อนสู่การบริการแบบ E-Service แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก กลุ่มงานบริการที่มีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือ สนับสนุน ช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจ และสังคมที่ประสบปัญหาในภาวะสถานการณ์โรคโควิด 19 ให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและยั่งยืน หรืองานที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ เช่น ระบบฐานข้อมลูเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน […]
ปกข่าวสำหรับเฟส [recovered] 01 01