ผู้ว่าฯ ผุดนโยบายเร่งด่วนจัดระเบียบการจอดเรือในทะเลสาบสงขลา
วันที่ 2 ก.พ. 65 กรณีมีผู้ปักสร้างเครื่องมือประมงโพงพางกีดขวางทางสัญจรบริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา ส่งผลทำให้การใช้ร่องน้ำเดินเรือ เพื่อขนส่งสินค้าในบริเวณดังกล่าวไม่ปลอดภัยต่อการเดินเรือให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จากสภาพปัญหาในปัจจุบันพบว่าในร่องน้ำเขตทางเรือเดินทะเลสาบสงขลา มีชาวประมงใช้เครื่องมือโพงพางเป็นการกีดขวางการสัญจรทางน้ำ และทำให้ร่องน้ำทางเดินเรือตื้นเขิน การใช้เครื่องมือโพงพางเป็นการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนและวัยเจริญพันธุ์และขัดต่อการทำการประมงแบบยั่งยืน เกิดปัญหาในด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้ร่องน้ำทะเลสาบสงขลา ที่อาจเกิดการเฉียวชน อันตรายและเสี่ยงต่อการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังส่งกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ ที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก เช่น เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ,เรือประมงพาณิชย์ เรือสนับสนุนด้านพลังงาน เป็นต้น
ซึ่งผลการสำรวจจำนวนเครื่องมือประจำที่โพงพาง ตั้งแต่บริเวณหัวพญานาค ถึง ท่าเทียบเรือประมงสงขลา 2 (ท่าสะอ้าน) มีจำนวน 27 แถว 356 ช่อง บริเวณท่าเทียบเรือประมงสงขลา 2 (ท่าสะอ้าน) ถึงรอบเกาะยอ จำนวน 89 แถว 1,252 ช่อง และบริเวณคลองปากรอ ถึงสะพานปากรอ จำนวน 5 แถว 28 ช่อง รวมทั้งหมด 121 แถว 1,606 ช่อง และในการแก้ไขปัญหาโพงพางที่ผ่านมา แบ่งเป็น 3 ช่วงช่วงที่ 1 ปี 2491 – 2557
โดยในปี 2564 ได้มีการนำเสนอข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการด้านการประมง และด้านอื่น ๆ ผู้ใช้ร่องน้ำเดินเรือในร่องน้ำทะเลสาบสงขลา กรณีได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากในการใช้เส้นทางสัญจรในการเดินเรือ เนื่องจากปากร่องน้ำ การเดินเรือทะเลสาบสงขลา มีผู้ปักสร้างเครื่องมือประมงโพงพางเพื่อดักสัตว์น้ำ โดยต้องการให้ร่องน้ำทะเลสาบสงขลาที่เป็นช่องทางเดินเรือมีความกว้างอย่างน้อย 300 เมตร เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ทั้งนี้จังหวัดสงขลา โดยสำนักงานประมงจังหวัดสงขลาได้เสนอแผนปฏิบัติการจัดระเบียบเครื่องมือประมงโพงพาง ในทะเลสาบสงขลา ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการออกคำสั่งเพื่อนำปิดประกาศแจ้งชาวประมงโพงพางในทะเลสาบสงขลาดำเนินการรื้อถอนต่อไป
ต่อมาปี 2565 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประกาศนโยบายจัดระเบียบการจอดเรือในทะเลสาบสงขลา หลังจากที่พบเรือประมงสัญชาติเวียดนามที่ถูกจับกุมดำเนินคดี โดยหน่วยงานของกรมประมงจำนวนกว่า 30 ลำ ซึ่งจอดทิ้งไว้ในทะเลสาบสงขลา โดยส่วนใหญ่จะมีสภาพทรุดโทรม
สำหรับกรณีเรือประมงดังกล่าว ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากมีเรือประมงของกลางในคดี จำนวน 152 ลำ จอดทิ้งไว้ จึงเป็นที่มาของ 1 ใน 5 วาระเร่งด่วน และนำเรือขายทอดตลาด ทำเป็นประการังเทียม และนำการจอดให้เป็นระเบียบ
อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา