เชิญชวนพี่น้องชาวภาคใต้สืบสานประเพณีวันสารทไทย 2563
สำหรับประเพณีวันสารทไทย หรือวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งการทำบุญในเดือน 10 ก็จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันบุญแรก หรือวันรับตายาย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 3 กันยายน 2563 และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นบุญหลัง หรือวันส่งตายาย ซึ่งตรงกับวันที่ 17 กันยายน 2563 ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ถือว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองช่วง ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะนิยมทำบุญกันในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือวันส่งตายาย เพราะมีความสำคัญมากกว่า แต่ก็จะมีบางครอบครัวก็จะทำบุญทั้งรับและส่ง สำหรับขนมที่จะใช้ในประเพณีงานเดือนสิบ ทั้งขนมเทียน ขนมต้ม ขนมลา ขนมกง ขนมพอง ขนมดีซำ ขนมบ้า ขนมต้มสามเหลี่ยม ขนมเปี๊ยะ เป็นต้น และจะมีการตั้งอาหาร แกงภาคใต้พร้อมทั้งผลไม้ต่างๆ
สถานที่ตั้งอาหาร/ขนม จะเป็นร้านสูงพอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา (ศาลา)เปรต ซึ่งจะมีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล ซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พบเก็บสายสิญจน์แล้วก็จะมีการแย่งอาหารและขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนานเรียกว่า ชิงเปรต แล้วนำมารับประทานถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคล การทำบุญด้วยวิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่าการฉลองรับและบังสุกุลถือว่าสำคัญเพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย
ความหมายของขนมวันสารทไทย
ขนมพอง คือหมายจะให้เป็นแพฟ่อง ล่อยลอยพาบรรพชนล่วงข้ามสังสารวัฏ
ขนมลา ให้เป็นแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
ขนมกง หรืองบางทีก็ใช้ ขนมไข่ปลา ให้เป็นเครื่องประดับ
ขนมบ้า ให้บรรพชนใช้เป็นลูกสะบ้าสำหรับเล่นรับสงกรานต์
ขนมดีซำ ให้เป็นเบี้ยไว้ใช้สอย
ขนมเทียน ให้เป็นมีความหมายใช้ แทนหมอน