รองผู้ว่าฯ สงขลา ช่วยเหลือปางช้างเผือกหาดใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากการโรคโควิด-19
เมื่อวันนี้ 5 พ.ค.63 ที่ ปางช้างเผือกหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์กิติกรณ์ เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา เข้ามอบพืช อาหารสัตว์ กว่า 3,200 กิโลกรัม ให้กับปางช้างเผือกจังหวัดสงขลา เพื่อช่วยเหลือช้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19 ด้วยความห่วงใยเกษตรกร กรมปศุสัตว์โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล ได้จัดหาพืชอาหารสัตว์ จำนวน 3200 กิโลกรัม คือ หญ้าอัดฟ่อน จำนวน 2200 กิโลกรัม จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 จำนวน 1000 กิโลกรัม จากออลซีซัน คิงส์ดอมฟาร์ม จ.สงขลา มอบให้กับปางช้างเผือกหาดใหญ่ เพื่อช่วยเหลือช้างจำนวน 12 เชือก
ด้านนายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากมาตรการต่าง ๆ ที่ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวถูกปิด ซึ่งปางช้างเผือกหาดใหญ่ แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ถูกปิดเพื่อป้องกันโรคระบาดของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ไม่มีรายได้ ซึ่งช้าง จำนวน 12 เชือก เป็นสัตว์ป่าสงวน และจำเป็นต้องได้รับอาหารในแต่ละวันจำนวนมาก จึงต้องได้รับการช่วยเหลือ
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : สนง ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา กรมประชาสัมพันธ์
Wed May 6 , 2020
ชาวบ้านคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดม่วงงาม ชาวบ้านในพื้นที่ออกมาค้านกำแพงกันคลื่น กังวลใจหวั่นยิ่งสร้างยิ่งทำลาย หาดทรายชายฝั่งของทะเล คลื่นซัดแรงกระทบชุมชนสิ่งแวดล้อม เพราะกำแพงกันคลื่นเป็นวิศวกรรมทางชายฝั่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นให้มีความมั่นคงและปลอดภัยจากคลื่นมรสุมต่าง ๆ มีหลายรูปแบบ เช่น หินทิ้ง กำแพงคอนกรีด กระสอบทรายเป็นต้น ซึ่งเพจ Beach for life เป็นตัวแทนของประชาชน เปิดเผยว่าที่ผ่านมามีการดำเนินโครงการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ชายหาดอื่น ๆ เช่นกันในบริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี, หาดทรายแก้ว จ.สงขลา, ชายหาดอ่าวน้อย และชายหาดปราณบุรี จ.ประจวบฯ ซึ่งหลังสร้างกำแพงผลลัพธ์มันกลับตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์การสร้างกำแพงคลื่นเป็นผลให้หาดทรายหายไป การกัดเซาะรุนแรงขึ้น ชุมชนได้รับความเดือดร้อนจากละอองเค็ม ๆ ของน้ำทะเลที่ซัดเข้ากับกำแพงคลื่น รวมทั้งส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป นอกจากนี้การก่อสร้างกำแพงคลื่นเป็นโครงการที่ไม่ต้องรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไทย (EIA) เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งส่งจดหมายร้องเรียนถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องว่า เขื่อนไม่สามารถยับยั้งความเสียหายของชายฝั่ง แต่กลับให้เกิดการกัดเซาะไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ การสร้างใช้งบประมาณรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ให้ทบทวนว่าการใช้เงินลงทุนกับสิ่งนี้นั้นคุ้มค่าต่อการสร้างหรือไม่ แก้ปัญหาได้จริงเท็จอย่างไร ดังนั้นการเข้ามาแก้ปัญหาในดังกล่าวควรศึกษาอย่างละเอียดให้รอบด้าน […]