สงขลา เลื่อนเปิดเทอม เริ่มเรียนรูปแบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. 64
วันที่ 8 มิ.ย. 64 สำหรับสถานการณ์การโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ของจังหวัดสงขลา มียอดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมเป็น 2,037 ราย ติดเชื้อในประเทศ 2,016 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 21 ราย พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 738 ราย หายกลับบ้านแล้ว 1,288 ราย และเสียชีวิต 11 ราย
ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์และมาตรการสำคัญของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด มีการพิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้และผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามคำสั่งที่ 29/2564 ไปจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2564 รวมถึงการขออนุญาตเปิดการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 การเตรียมความพร้อมในการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการขอเปิด LQ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
Tue Jun 8 , 2021
รัฐบาล ยืนยันโรคลัมปีสกินในโคกระบือ รักษาหายขาดได้ ขณะนี้เร่งกระจายวัคซีนแล้ว วันที่ 8 มิ.ย. 64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดในหลายจังหวัด ซึ่งเป็นโรคไวรัสผิวหนังในโค-กระบือ ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย มีแมลงเป็นพาหะ ล่าสุดพบว่า มีโค-กระบือ ป่วยเป็นโรคลัมปีสกิน 2.9 หมื่นตัว รักษาหายแล้ว 1 หมื่นตัว เสียชีวิต 374 ตัว ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้เข้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาตัวที่ป่วยอยู่ให้หายขาด โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน และไม่ติดต่อสู่คน หรือสัตว์ชนิดอื่น เมื่อรักษาหายขาด เนื้อนำมาบริโภค นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังสั่งการให้กรมปศุสัตว์ เข้มงวดเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะการลักลอบเคลื่อนย้ายตามแนวชายแดนทุกแห่ง หากพบผู้กระทำผิดให้ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน ควบคุม และเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคลัมปีสกิน เพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์โรคระบาด วางแผนการกระจายวัคซีน การป้องกันกำจัดโรค จัดหน่วยพ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค แจกสารกำจัดแมลง ยารักษา วิตามิน แร่ธาตุและยาบำรุง เพื่อรักษาและฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ ส่วนมาตรการชดเชยเยียวยาเกษตรกรก็มีความชัดเจนเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ส่วนของวัคซีน จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ล็อตแรกจำนวน 60,000 โดส กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ แล้ว และอีก 300,000 โดส จะมาถึงในสัปดาห์นี้ ที่สำคัญ กระทรวงเกษตรฯ เปิดให้กลุ่มเกษตรกร สมาคมผู้เลี้ยงโค-กระบือ ตลอดจนภาคเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนได้ เพื่อนำมาใช้ฉีดป้องกันโรคและสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ โดยผู้ประสงค์นำเข้าวัคซีนต้องทำหนังสือถึงกรมปศุสัตว์ จากนั้น กรมปศุสัตว์ จะทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอผ่อนผันการนำเข้าวัคซีนที่มีทะเบียนในต่างประเทศ แต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย อ้างอิง : สำนักนายกรัฐมนตรี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine