ศอ.บต. เผย E-Book ข้อมูลความเห็นจากผู้ที่เห็นด้วยกับ “เมืองต้นแบบ” อ.จะนะ
จากกรณี การรับฟังความคิดเห็นคนในพื้นที่ 3 ตำบล ในอำเภอจะนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 หรือเมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคตในพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ ใน ตำบลนาทับ ตลิ่งชัน และสะกอม ซึ่งจัดโดย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยมีตัวแทนจากกลุ่มทุน ที่เป็นเจ้าของโครงการ นั้นคือ บริษัท ทีพีไอ โพลีน และ ไออาร์พีซี หรือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้รายละเอียดของโครงการ แก่ผู้ที่เข้าร่วมเวที รับฟังความคิดเห็นกว่า 1,500 คน ณ ห้องประชุม ร.ร.จะนะวิทยา ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ
ทาง ศอ.บต. ได้เผย E-Book ออกมาในชื่อ ผู้เห็นด้วยกับ “เมืองต้นแบบ” อ.จะนะ ยังต้องการความมั่นใจจากรัฐ ศอ.บต.และ เจ้าของโครงการ ต้องเร่งสร้างความ เชื่อมั่นให้เกิดขึ้น โดยภายใน E-Book จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาในการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน รวมถึงความเห็นของผู้ที่คัดค้านของการดังกล่าวที่ได้จัดแยกออกเป็น 5 กลุ่มได้แแก่
กลุ่มที่ 1 กลุ่มคัดค้านที่มีอาชีพ ประมงพื้นบ้านภายใต้ “ร่มเงา” ของ เอ็นจีโอ ซึ่งไม่ใช่ของคนใหม่สำหรับคนในพื้นที่จังหวัดสงขลา
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่สนับสนุนทุกโครงการที่เข้ามาในพื้นที่ เพราะ 1 เชื่อผู้นำ 2 เชื่อว่าการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มต่อต้าน ที่ต้องการประโยชน์จากโครงการ ซึ่งเป้น นักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ
กลุ่มที่ 4 กลุ่มนักวิชาการ เครือข่าย ในชื่อต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านโครงการใหญ่จากทางภาครัฐ
กลุ่มที่ 5 ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น ที่อาศัย “ปีกทางการเมือง” ในรูปแบบภาคประชาชนสังคมกว่า 30 กลุ่ม
หากท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปสามารถเข้าอ่านได้ในเว็ปไซต์ทางของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
Tue Aug 11 , 2020
เตือนภัยสายบุญ ลดปล่อยปลาดุกหวั่นทำลายระบบนิเวศ ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาค้าขายและเป็นอาหารในปัจจุบันในประเทศไทย โดยเป็นปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกาและปลาดุกอุย ลูกปลาที่เกิดมาเป็นปลาลูกผสมที่ถือว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เรียกชื่อทางการค้าว่าปลาดุกบิ๊กอุย ได้ปลาที่โตเร็ว มีเนื้อดีพอสมควรและเป็นหมัน การใช้ประโยชน์คือนำมาบริโภคตามจุดประสงค์ที่ถูกเลี้ยงขึ้นมา ในปัจจุบันมีผู้นิยมนำปลาดุกบิ๊กอุยไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อทำบุญ แต่การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆ โดยผมจะขอยกตัวอย่าง ในกรณีที่ปลาดุกที่ถูกเลี้ยงมาในที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปตลอดชีวิตสามารถปรับตัวหัดหาอาหารเองในธรรมชาติเป็นจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เราสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่าการปล่อยปลาดุก 1 ตัน อาจจะทำให้สูญเสียสัตว์น้ำท้องถิ่นไปประมาณ 1.8 ล้านชีวิตต่อปี จากข้อมูลกรมประมงได้กล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของประดุกเทศหรือปลาดุกบิ๊กอุยว่าว่า ในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่ หลาย เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิดมีความต้านทานโรคและสภาพ แวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่บ้านเรานั้น เป็นอำเภอที่มีคลองตัดผ่านอยู่มากมายตั้งแต่ช่วงกลางเมืองยาวไปจนถึงชานเมือง ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ง่ายมากสำหรับการปล่อยสัตว์น้ำไปยังบริเวณแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทั้งนี้ผู้ที่จะต้องการปล่อยสัตว์น้ำนั้นจำเป็นที่จะต้องสังเกตุว่าสัตว์น้ำที่นำมาปล่อยเป็นสายพันธ์ุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ […]