หมอ ยง เผยปลายปีนี้วัคซีนมาแน่ พร้อมคาดคะเนการระบาดโควิด-19 ระลอก 2
หลังจากที่ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีปัจจัยที่หญิงไทยทั้ง 2 รายตรวจพบซากเชื้อโควิด19 ดังนี้
1. ระยะฟักตัวของโรค Covid-19 อยู่ที่ 2-7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจมีโอกาสพบได้ถึง 21 วัน ดังนั้น คนที่ถูกกักตัวใน State Quarantine แล้ว 14 วัน จะมีการแนะนำให้ไปกักตัวต่อที่บ้านเพิ่มอีก 14 วัน
2. การตรวจพบหลังจากที่กักตัวครบ 14 วัน ก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อขณะที่อยู่ในสถานกักกัน การอยู่ในสถานกักกันจึงต้องเคร่งครัด ไม่ให้มีการพบปะกัน ทั้งระหว่างคนที่กักตัว หรือบุคคลภายนอก
3. โอกาสที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อในไทย เป็นไปได้น้อยมาก เพราะในไทยไม่มีผู้ติดเชื้อมาแล้วกว่า 80 วัน
4. คนนั้นอาจจะติดเชื้อมาจากต่างประเทศ แต่พอมาไทยแล้วเชื้อน้อย จนตรวจไม่พบ แต่ต่อมากลับตรวจพบ
ก่อนหน้านี้ ได้มีการทำการศึกษากับ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ที่ติด Covid 19 นั้น ก่อนออกจาก รพ. ก็ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่เมื่อติดตามอีก ก็พบว่าคนไข้มีเชื้อ แต่ปริมาณน้อยมาก ในจำนวน 212 ราย พบในช่วง 4-12 สัปดาห์ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยร้อยละ 6.6 และเนื่องจากไวรัสที่พบนั้นน้อยมาก จึงไม่สามารถแพร่ไปยังคนอื่นได้
“ดังนั้นการพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อย โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมาก ๆ ดังข้อมูลในการระบาดรอบแรก ที่เราได้ทำการศึกษาถึงแม้จะตรวจพบเชื้อ ก็ไม่พบว่าแพร่กระจายไปสู่ผู้ใดเลย”
โดยในวันนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เชิญหมอยงได้ แถลงความคืบหน้า สถานการณ์โควิด-19ล่าสุด ทางหมอยง ได้อธิบายถึงสถานการณ์ว่า ณ ขณะนี้ในประเทศไม่มีการระบาดในประเทศมาในระยะหนึ่งแล้ว แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์ทั่วโลกยังไม่สามารถไว้วางใจได้ เพราะทุกๆ 4 วันเราจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่าล้านคน แต่กระนั้นทาง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา ได้เสริมข้อมูลว่าเรามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเห็นวัคซีนโควิด-19ในช่วงปลายปีที่จะถึงนี้ เพราะการทดลองในวัคซีนจากประเทศชั้นนำระดับโลกได้มีการทดลองวัคซีนไปถึงขั้นที่ แล้วขณะนี้
ในเรื่องของการคาดคะเนการระบาดในระลอกที่ 2 นั้น มีความเป็นไปได้ เพราะเมื่อเรามองไปยังประเทศนิวซีแลนด์ที่ไม่มีผู้ติดเชื้อติดต่อกันกว่า 102 วันก็ยังมีการระบาดระลอกใหม่ได้ เมื่อมองไปยังไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ G ที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ตัวไวรัสดังกล่าวมีลักษณะพิเศษในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า (สายพันธุ์ S) แต่ระดับความรุนแรงนั้นก็ไม่ได้มีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดิม
อ้างอิง : ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ และ กระทรวงสาธารณสุข