จังหวัดสงขลา จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมส่วนหน้า 2 จุด พร้อมเปิอบริการ บริเวณหอนาฬิกาหาดใหญ่
วันที่ 16 มี.ค. 66 ณ หอประชุมจัตุรัสนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ศูนย์ดำรงธรรม (ส่วนหน้า) โดย นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ฯ ประกอบด้วย ศูนย์บริการประชาชน สปน. ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหาดใหญ่ และเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกันรับเรื่องร้องเกี่ยวติดตามความคืบหน้ากรณีขอรับเงินค่าสินไหมประกันภัยเกี่ยวกับ Covid – 19 กับบริษัทประกันแห่งหนึ่ง
พร้อมนี้ นายนพพร บุญแก้ว ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ ได้มาเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ดำรงดำรงธรรม (ส่วนหน้า) ด้วยแล้วสำหรับศูนย์ดำรงธรรม (ส่วนหน้า) ในคราวนายกรัฐมนตรีมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีการตั้ง ศดธ.ส่วนหน้า 2 จุด คือ หอประชุมจัตุรัสนครหาดใหญ่ และสวนเฉลิมพระเกียรติ ฯ อำเภอเมืองสงขลา ซึ่งทั้ง 2 จุดพร้อมให้บริการ
ทั้งนี้ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมืองสงขลา และเทศบาลนครหาดใหญ่ พร้อมปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของนายกรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป
อ้างอิง : ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา
Thu Mar 16 , 2023
สงขลา เกษตรกรเฮ นวัตกรรมจัดการน้ำช่วยวางแผนทำการเกษตรบนคาบสมุทรสทิงพระ วันที่ 16 มี.ค. 66 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดำเนินงานโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำต้นทุนและระบบการจัดสรรน้ำด้วยสมดุลน้ำรายตำบลในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม มี ดร.ณัฐพล แก้วทอง เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยมีการติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยฯ ที่ศาลากลางน้ำ อุทยานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีการจัดแสดงนิทรรศการ นวัตกรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน : พลวัตการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในคาบสมุทรสทิงพระ และการเสวนาในหัวข้อเรื่อง พลวัตการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิภาพโลกในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ นอกจากนี้ มีการลงพื้นที่ตรวจดูเครื่องมือวัดอัตราการไหลในคลองส่งน้ำชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ และตำแหน่งสถานีตรวจวัดค่าความเค็มในทะเลสาบสงขลา ติดตามการดำเนินโครงการและร่วมวางแผนการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการน้ำต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดร.ณัฐพล แก้วทอง หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึงโครงการวิจัยดังกล่าวว่า นวัตกรรมชิ้นนี้ได้พัฒนาเป็นเครื่องวัดความเค็มแบบเรียลไทม์จะส่งต่อข้อมูลของค่าความเค็มของน้ำในทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้รับรู้ถึงระดับของค่าความเค็มในทะเลสาบที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนั้นโครงการวิจัยชิ้นนี้ได้พัฒนาการติดตั้งนวัตกรรมให้กระจายเต็มพื้นที่ทะเลสาบสงขลา โดยได้ติดตั้งไปแล้วกว่า 10 ตัว ทำให้ได้ทราบค่าความเค็มและการขยับตัวการขับเคลื่อนของพื้นที่ว่าไปในทิศทางใด อย่างเช่นพื้นที่ด้านเหนือที่ยังไม่มีความเค็ม เกษตรกรจะทราบได้ว่าพื้นที่ทางตอนใต้กำลังเกิดความเค็ม เพราะฉะนั้นเกษตรกรจะได้วางแผนทำการเกษตร ถ้าหากจะต้องทำการเกษตรก็ควรจะต้องมีการสำรองน้ำอย่างไรให้ลดความเสี่ยงและความเสียหายทางการเกษตรจากการขาดแคลนน้ำ อ้างอิง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย Facebook iconFacebookTwitter […]