เคอร์ฟิวสกัดโควิด-19 มีผลกระทบต่อพี่น้องสวนยางหรือไม่
จากสถิติของการยางแห่งประเทศไทยจะพบว่า ปริมาณยาง ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดกรีด โดยปริมาณยางรวม 6,394.84 ตัน แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ1,244.49 ตัน ยางแผ่นรมควัน 5,150.34 ตันลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 3,824.38 ตันคิดเป็นร้อยละ 37.42 ราคายางท้องถิ่นเฉลี่ยอยู่ที่ 39.13 บาท/กก. ปรับตัวลดลง0.59บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ1.49 ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 38.93 บาท/กก. ปรับตัวลดลง2.84 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 6.81 และราคายางก้อนถ้วย 100 เปอร์เซ็น อยู่ที่30.96บาท/กก. ปรับตัวลดลง 2.87 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 8.48 ราคายางโดยภาพรวมปรับตัวลดลง เหตุจากนักลงทุนเทขายสัญญาในตลาดล่วงหน้า หลังจากเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ของประเทศไทย อย่างไม่สามารถควบคุมได้
ณ ขณะนี้ผู้ว่าฯประกาศมาตรการเคอร์ฟิวหลายจังหวัดและบางพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจจะส่งผลกระทบมากขึ้นไปอีกในเดือนเมษายนนี้ ยังคงคาดหวังระงับการแพร่ระบาดได้ในไม่ช้า และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดด่านปาดังเบซาร์ เพื่อกําไรขนส่งสินค้าทั้ง 2ประเทศ คือด้านเปอร์ลิศและด้านสงขลา คืนกลับมานั้นคือความหวังเพราะน้ำยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง แบบจำลองหุ่น หน้ากากกันเลือด ยางรัด เป็นต้น ยังคงขาดแคลนอย่างมาก ณ ขณะนี้ ในส่วนชองภาคการผลิตในจังหวัดสงขลาเองได้ปิดหลายโรงงาน และยิ่งตอนนี้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลที่ต้นยางพาราผลัดใบหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ช่วงหยุดยาง” สถานการณ์ยังคงน่าวิตกกังวลและตึงเครียดมากว่าเดิม
ทั้งนี้ มาตรการเคอร์ฟิวยังเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อชาวพี่น้องสวนยาง แน่นอนว่ามีชาวสวนยางบางส่วนเดือดร้อน หากตัวมาตรการส่งผลให้ห้ามออกจากบ้านในช่วงดังกล่าว เพราะต้องออกไปกรีดยางในช่วงเวลาที่ประกาศเคอร์ฟิวขึ้น พี่น้องชาวสวนยางจึงมีขอเสนอให้ยกเว้นสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพกรีดยางในตอนกลางคืน ให้สามารถออกมาประกอบอาชีพตามวิถีชีวิตปกติ
สุดท้ายแล้วการประกาศมาตรการฉุกเฉินย่อมต้องมีข้อยกเว้นในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอื่นๆ แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องรับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาชีพกรีดยางก็น่าจะได้รับการยกเว้นด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมการยางแห่งประเทศไทย