นายกเกริ่น พ.ร.ก.ฉุกเฉินเตรียมใช้ 26 มี.ค นี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี แถลงข่าว ระบุว่า สำหรับ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจะประกาศใช้ในวันพฤหัสบดีนี้ (26 มี.ค. 63) โดยจะมีการจัดตั้ง ศอฉ.โควิด-19 และคำสั่งจะมาจากนายกฯรัฐมนตรีโดยตรง เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว การตั้งคณะกรรมการว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งข้อกำหนดต่าง ๆ จะถูกประกาศใช้ในภายหลัง โดยระยะแรกจะเริ่มจากการขอความร่วมมือแล้วจึงจะยกระดับมาตรการต่อไปโดยระยะแรกจะเริ่มจากการขอความร่วมมือแล้วจึงจะยกระดับมาตรการต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขอความร่วมมืองดเดินทางกลับภูมิลำเนา หากเดินทางกลับจำเป็นต้องมีมาตรการต่าง ๆ รองรับ
หลังจากนี้การให้ข่าวในแต่ละวันจะมีการให้ข้อมูลผ่านทางช่องทางสื่อสารของรัฐบาล ทั้งกระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงคมนาคม และในช่วงเย็นโฆษกของ ศอฉ. จะสรุปรายวันต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามในกฏหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขอให้ระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ การบิดเบือนข่าวก็จะมีสิทธิ์ในการดำเนินคดีได้หลังจากนี้ เพราะอาจมีการตั้งด่านตรวจ และหากไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดอาจต้องปิดเมืองต่อไปตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีทั้งหมด 19 มาตรา
มาตรา 4 ในพระราชกำหนดนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบ หรือ อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ อาจทำให้ประเทศ หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบ หรือ การสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้นครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือ การป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง
มาตรา 5 วรรคสอง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด “แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ” ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกินสามเดือน
วรรคสาม เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือ เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ หรือ สิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น
มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
มาตรา 9 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือ ป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด
(1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
(5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
มาตรา 18 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพ: HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง: ประชาชาติธุรกิจ