จ.ยะลา ส่ง 26 คนไทยกลับบ้านหลังกักตัวครบ 14 วัน พร้อมยืนยันนศ.ไทยจากซาอุฯ ติดเชื้อ 1 ราย

จ.ยะลา ส่ง 26 คนไทยกลับบ้านหลังกักตัวครบ 14 วัน พร้อมยืนยันนศ.ไทยจากซาอุดิอาระเบียติดเชื้อ 1 ราย

วันที่ 28 พ.ค 63 ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ขนส่งได้ร่วมมอบใบรับรองการตรวจเชื้อโควิด-19 พร้อมจัดรถบัส จำนวน 1 คัน ส่งทั้ง 26 ราย ไปยังสถานีขนส่งหมอชิต กทม. ก่อนจะแยกย้ายกลับภูมิลำเนา ซึ่งแต่ละจังหวัดจะจัดรถมาดำเนินการ โดยผู้ได้รับการปล่อยตัวต่างดีใจ และขอบคุณทางหน่วยงาน จ.ยะลา ที่ได้ดูแลเป็นอย่างดีจนครบ 14 วัน เพื่อให้ทุกคนปลอดจากเชื้อก่อนส่งกลับภูมิลำเนา

ซึ่งขณะที่ปัจจุบัน ศูนย์ Local Quarantine วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ยะลา ได้ขยายการรับผู้เข้ากักตัวซึ่งเป็นคนจากนอกพื้นที่ไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน เนื่องจากสถานที่กักตัวที่ใหม่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุง โดย ณ.วันที่ 28 พ.ค 63 มีผู้เข้ากักตัว 124 ราย คงเหลือเตียงว่าง 101 เตียง

อย่างไรก็ตามกลุ่มนักศึกษา 4 ราย ซึ่งเป็นชาว จ.ยะลา ที่เดินทางกลับจากประเทศซาอุฯ เมื่อวันที่ 26 พ.ค 63 ที่ผ่านมา ได้เข้าสังเกตอาการที่ ศูนย์ Local Quarantine วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 4 คน พบว่า 1 คน ได้ติดเชื้อโควิด-19 โดยได้เข้ารักษาตัวที่ รพ.ยะลา ส่วน 3 รายที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังและให้กักตัวอยู่ที่ศูนย์ Local Quarantine วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ยะลา จนครบ 14 วัน และทุกท่านจะอยู่ในการควบคุมตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด

โควิด-19

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : สทท.ยะลา

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

มหาวิทยาลัยทักษิณสู้COVID-19 เปิดให้คำปรึกษาด้านการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร สู้COVID-19

Thu May 28 , 2020
มหาวิทยาลัยทักษิณสู้COVID-19 เปิดให้คำปรึกษาด้านการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร     จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตประจำวันทุกระดับ นับตั้งแต่การทำงาน การดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distance) ธุรกิจการซื้อขายอาหารออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างมาก อีกทั้ง ผู้ประกอบการแปรูปอาหารหันมาประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารเพื่อขายออนไลน์ อาทิ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสินค้า OTOP และผู้ประกอบการรายย่อย คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้เปิด “หน่วยพัฒนาการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการในระดับชุมชน หรือท้องถิ่น และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตร หรือมีความต้องการแก้ไขปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารขั้นตอนการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีให้บริการจัดฝึกอบรม บริการใช้เครื่องมือและห้องปฏิบัติการ บริการโครงการภาครัฐและภาคเอกชน โดยขั้นตอนการรับบริการ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปลงทะเบียนกรอกข้อมูลผ่านทางระบบ Google Forms ทางเว็บไซต์ https://www.abi.tsu.ac.th เพื่อเป็นข้อมูล และทราบถึงปัญหาที่ต้องการรับคำแนะนำเบื้องต้นแล้ว หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ดำเนินการประสานงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนัดหมายเพื่อให้คำปรึกษาต่อไป ส่วนช่องทางการติดต่อสื่อสาร […]
มหาวิทยาลัยทักษิณเปิดให้คำปรึกษาด้านการแปรรูปและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตร สู้COVID-19