วิเคราะห์ หากเราต้องอยู่กับโควิด-19 นานถึง 18 เดือน

วิเคราะห์ หากเราต้องอยู่กับโควิด-19 นานถึง 18 เดือน
วิเคราะห์ หากเราต้องอยู่กับโควิด-19 นานถึง 18 เดือน

วิเคราะห์ หากเราต้องอยู่กับโควิด-19 นานถึง 18 เดือน

หากจะพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันเราก็คงหนีไม่พ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่ในช่วงที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนในโลกไปอย่างมากมาย และดูเหมือนว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกเลยก็ว่าได้

ผลกระทบจาการเกิดโควิด-19 สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของเศรษฐกิจที่ดูตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ภาวะการท่องเที่ยวที่หนักหนาสาหัสจนทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ตัดสินวางมือจากธุรกิจที่ตัวเองทำ หรือแม้แต่ภาคการศึกษาที่ยังไม่วายโดนผลกระทบครั้งนี้เข้าไปด้วย เด็กจบใหม่ จะต้องใช้ชีวิตอย่างไรกับวิกฤตกาณ์ในครั้งนี้

ช่วงที่ผ่านมานั้นทาง สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวขึ้น โดยมีรายละเอียดว่า ในแง่ของเศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีการพิจารณาถึงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมไปสู่โครงสร้างแบบใหม่ โดยต้องทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ผ่านการหาภาคส่วนที่มีศักยภาพมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ภาคส่วนที่มีศักยภาพที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศได้มีทั้งภาคการเกษตร-ปศุสัตว์ อาหาร ที่ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

ภาคส่วนการท่องเที่ยวที่ต้องเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ นั้นหมายความว่าเราจะต้องสร้างมูลค่าต่อหัวของนักท่องเที่ยวในมูลค่าที่สูงขึ้น และสามารถกระจายการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคต่างๆเพื่อให้รายได้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมองถึงเรื่องการสร้างงานในชนบทรองรับคนกลับภูมิลำเนา และการสร้างงานเพื่ออนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ สอวช. อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจความต้องการกำลังคนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อนำมาจัดทำ Manpower Planning หรือ กระบวนการในการคาดการณ์ความต้องการและตอบสนองความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์กรมีอัตรากำลังคนตามจำนวน คุณสมบัติ และในเวลาที่ต้องการ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่กำหนดไว้ ของประเทศ เพื่อให้สามารถผลิตกำลังคนได้ตรงตามความต้องการ

ซึ่งในที่ประชุมของ สอวช. ยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นในด้านการศึกษา โดยมองว่าทุกมหาวิทยาลัยปรับตัวได้ดีกับการเรียนออนไลน์ และรัฐบาลก็ช่วยสนับสนุนเครื่องมือและโครงสร้างเครือข่ายต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนหลักสูตรที่ต้องมีการเข้าแล็บ ต้องหาแนวทางการบริหารจัดการดูว่าจะมีแนวทางอย่างไร เช่นเดียวกับการเรียนออนไลน์ของเด็กประถมฯ ที่ต้องหาสื่อที่เหมาะสมกับช่วงวัย และผู้ปกครองเองก็ต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีเหล่านี้ควบคู่ไปพร้อมกับเด็กด้วย ทั้งยังต้องวางแนวทางให้กับเด็กที่จบใหม่ว่าพวกเขาเหล่าจะต้องไปในทิศทางไหนในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในสภาวะซบเซาจากวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้

ดร.กิติพงค์ กล่าวในตอนท้ายว่า ความเห็นจากการหารือครั้งนี้ สอวช. จะรวบรวมเพื่อนำไปกำหนดเป็นมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 และนำเสนอที่ประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาอีกครั้งในโอกาสต่อไป ดร.กิติพงค์ ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สอวช. ยังได้ทำการศึกษาผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจ ตามแนวคิดของ McKinsey & Company ว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะมีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการทางสาธารณสุขในการควบคุมการแพร่ระบาด และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กับระยะเวลาและความสามารถในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตามมาตรการทางด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ ในการป้องกันวิกฤตทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น และการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจหลังพ้นระยะเวลาการระบาด

ทั้งนี้ จากการคาดการดังกล่าวมาจากแนวโน้มที่ว่า สถานการณ์โควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากสถานการณ์ชะลอตัวลงหรือดีขึ้นจะเป็นไปได้ว่าเราอาจไม่ต้องอยู่ร่วมกับโควิด-19 นานถึง18เดือน

 

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิงข้อมูลจาก: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) thestandard.co

ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์

Next Post

ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ชี้ จะมีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นร่วมหลักล้านราย

Tue Apr 21 , 2020
ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ชี้ จะมีผู้ว่างานเพิ่มขึ้นร่วมหลักล้านราย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินว่า จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ถือเป็นระดับที่สูงกว่าทุกวิกฤตการณ์ในอดีตของไทย เพราะผลกระทบครั้งนี้กินวงกว้างกว่า และมีการหยุดชะงักฉับพลันของหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่า จะมีแรงงานอีกจำนวนมากที่แม้จะไม่ตกงาน แต่จำนวนชั่วโมงทำงานและรายได้จะลดลงอย่างมาก หรือกระทั่งไม่มีรายได้เลยในบางช่วง ทั้งนี้คาดว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะเป็นไปอย่างช้าๆ ตามเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวแบบ U-shaped และผลจาก Covid-19 ที่จะยังมีอยู่ตราบใดที่ยังไม่มียารักษาและวัคซีน ความเสี่ยงในตลาดแรงงานมีแนวโน้มส่งผลต่อเนื่องไปยังคุณภาพชีวิตของภาคครัวเรือนที่มีความเปราะบางอยู่แล้วเป็นทุนเดิม โดยครัวเรือนไทยประมาณ 60% มีสินทรัพย์ทางการเงินไม่เพียงพอใช้จ่ายเกิน 3 เดือน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ยังได้เปิดเผยในบทวิเคราะห์ พบว่า ตลาดแรงงานของไทยมีหลายสัญญาณของความอ่อนแอ ตั้งแต่ในช่วงก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติโควิด-19 เพราะจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนผู้มีงานทำของไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยในปี 2019 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลงไป 4.8 แสนคน เมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในปี 2014 สาเหตุมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการแรงงานมีน้อยลง และกลุ่มผู้สูงอายุออกจากกลุ่มแรงงานเพิ่มขึ้นจาก […]
เว็ป 01 01