ศบค. เผยสถานที่กักกันของรัฐ SQ และ LQ ในปัจจุบันมีผู้เข้าพักสะสมกว่า 65,000 ราย

ศบค. เผยสถานที่กักกันของรัฐ SQ และ LQ ในปัจจุบันมีผู้เข้าพักสะสมกว่า 65,000 ราย

วันที่ 27 ก.ค. 63 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ​ หรือ ศบค. รายงานสถาณการณ์ประจำวัน พร้อมทั้งเปิดเผยถึงจำนวนตัวเลขผู้ที่เข้าพักใน State Quarantine และ Local State Quarantine สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 ยังคงมีความรุนแรงในต่างประเทศ ประกอบกับจะมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงจ าเป็นต้องกำหนดมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการจัดการคัดกรองของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรการป้องกันโรค และเพื่อการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ยังคงมีการเดินทางเข้าประเทศไทยของกลุ่มคนไทยที่ตกค้างในต่างประเทศ จะมีการจัดเที่ยวบิน และมีการเดินเท้าเข้าประเทศ ทุกคนต้องทำการกักตัวในสถานที่กักกันทุกกรณี 14 วันเพื่อรอดูอาการ

Local State Quarantine

แนวทางการปล่อยตัวผู้ถูกกักตัว เมื่อครบกำหนด กลุ่มผู้กักกันตัวครบกำหนด 14 วัน

  1. เมื่อผู้กักตัวได้รับการกัก ณ สถานที่กักกันโรคแห่งรัฐ ครบกำหนด 14 วัน รอรับผลการตรวจหาเชื้อ โดยผลการตรวจทางปฏิบัติการครั้งที่ 1 และ 2 หากกรณีผลเป็นลบ ไม่พบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    จะได้รับอนุญาตให้กลับภูมิลำเนาได้
  2. ผู้กักตัวจะได้รับหนังสือรับรองเพื่อใช้แสดงตัวต่อนายจ้าง/ผู้ที่เกี่ยวข้องว่าบุคคลดังกล่าวได้
    ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ให้อยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดจนครบกำหนดระยะเวลาแล้ว
    (ภาคผนวก ง)

กลุ่มผู้ที่ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้
    กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก และ/หรือมีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5°C ขึ้นไป
    จะถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลคู่ขนานทีรับผิดชอบสถานที่กักกันโรคแห่งรัฐนั้นๆ
  2. แพทย์พิจารณารับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษาตามความเหมาะสม
    โดยใช้ droplet precautions ระหว่างรอผลการวินิจฉัยสุดท้าย
  3. ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงอาจอยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพัก
    ฟื้นต่อที่สถานพักฟื้น ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายสนิท

ทั้งนี้แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาจากอาการเป็นหลัก และคาดว่าหากให้การรักษาผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มป่วย และให้กลับไปพักที่สถานพักฟื้นที่เหมาะสมจนครบ 30 วัน
นับจากเริ่มป่วยแล้ว เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้น สามารถสร้างภูมิต้านทานได้เต็มที่จะมีความปลอดภัยและไม่เสี่ยง ต่อการแพร่เชื้อ สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อเหมือนประชาชนทั่วไป
จนกว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมั่นใจ คือ
1. การดูแลสุขอนามัย ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
2. ล้างมือด้วยสบู่และน้ าเป็นประจำโดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือถูมือด้วยเจล
แอลกอฮอล์ ก่อนและหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับ
ตู้เย็น เป็นต้น
3. ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
4. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

 

Local State Quarantine

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูล COVID-19

Next Post

โฆษกรัฐบาล และ ผบ.ตร.แจง พร้อมสอบข้อเท็จจริงคดีบอส อยู่วิทยา รายงานผลใน 15 วัน

Mon Jul 27 , 2020
ผบ.ตร.แจง พร้อมสอบข้อเท็จจริงคดีบอส อยู่วิทยา รายงานผลใน 15 วัน จากคดีของนายนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทกลุ่มธุรกิจกระทิงได้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีขับรถหรูชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้บังคับหมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เสียชีวิต โดยในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น  อัยการไม่สั่งฟ้องคดีและตำรวจได้ยกเลิกหมายจับทายาทกระทิงแดง ทางด้าน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีความเคลือบแคลงสงสัยการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ ในการดำเนินคดี “บอส อยู่วิทยา” เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมกับทุกฝ่าย แล้วรายงานผลภายใน 15 วัน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เกี่ยวกับการดำเนินการของข้าราชการตำรวจว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องหรือไม่ โดย ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. เป็นประธาน […]
ปกข่าวสำหรับเฟส [recovered] 01