เช็กเลยที่นี่ ! สิทธิประกันสังคมม.33 รับเงินเยียวยา 2,500 รอบ 2 วันไหน

เช็กเลยที่นี่ ! สิทธิประกันสังคมม.33 รับเงินเยียวยา 2,500 รอบ 2 วันไหน

วันที่ 2 ก.ย. 64 ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติขยายกรอบวงเงินสำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 39 ,40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด(สีแดงเข้ม) เพิ่มเติม 44,314 ล้านบาท จากเดิมที่เคยอนุมัติแล้ว 33,471 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 77,785 ล้านบาท แบ่งเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ใน 13 จังหวัด เป็นเวลา 1 เดือน และผู้ประกันตนมาตรา 40 ใน 16 จังหวัด ที่ลงทะเบียนเพิ่มเติม ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2.3 กว่าล้านคน อีก 1 เดือน

ทางครม.ยังเห็นชอบให้ขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 13 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ/นครปฐม/นนทบุรี/ปทุมธานี/สมุทรปราการ/สมุทรสาคร/ปัตตานี/ยะลา/นราธิวาส/สงขลา/ฉะเชิงเทรา/ชลบุรี และอยุธยา ซึ่งก่อนหน้านี้ รับสิทธิเยียวยาไปแล้ว 5,000 บาทต่อคน จะได้รับสิทธิเยียวยาเพิ่ม 5,000 บาท ต่อคน อีก 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน มีผู้ประกันตนใน 13 จังหวัดได้รับสิทธิในครั้งนี้ จำนวน 6,171,082 คน รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 61,710,820,000 ล้านบาท การอนุมัติจ่ายเงินในรอบที่เพิ่มนั้น จะดำเนินการภายในเดือนกันยายน

Thai Banknote And Cash
Thai banknote and cash textures for background

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ม.33 ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่รับเยียวยาคนละ 2,500 บาท ในรอบแรกไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2564  คาดว่า สำนักงานประกันสังคมจะขออนุมัติกรอบวงเงินจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในสัปดาห์หน้า เพื่อจะจ่ายเยียวยาอีกคนละ 2,500 บาท ภายในเดือนกันยายนนี้”

228388231 3102810533374278 3899579024805655274 N

        สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ

        1.เข้าเว็บไซต์  www.sso.go.th เลือก ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ ผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ ผู้ประกันตนมาตรา 40

        2.เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตน

        3.กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด

        4.จากนั้นกดค้นหา

        5.ระบบจะแสดงผลการค้นหา พร้อมระบุจะอัปเดตข้อมูลล่าสุด ตามวันเวลาที่กำหนดอีกครั้ง

ส่วนกรณีที่ไม่ได้รับสิทธิผู้ประกันตนสามารถยื่นทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2564 โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวในการยื่นทบทวนสิทธิ โดยผู้ที่สามารถยื่นทบทวนสิทธิได้นั้นต้องเป็นผู้ที่เช็คสถานะจากเว็บไซต์ประกันสังคม ฝากถึงประชาชนติดตามด้านงานประกันสังคมทุกจังหวัดที่ใกล้บ้านของท่าน

อ้างอิง : สํานักงานประกันสังคม

Next Post

สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนเครือข่ายทุเรียนภาคใต้ให้มีคุณภาพเพื่อการค้า

Thu Sep 2 , 2021
สสก.5 สงขลา ขับเคลื่อนเครือข่ายทุเรียนภาคใต้ให้มีคุณภาพเพื่อการค้า วันที่ 2 ก.ย. 64 นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า ทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์ตลาดทุเรียนในอาเซียนช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (2554-2563) อินโดนีเซียครองแชมป์การผลิตทุเรียนมากที่สุดของโลกตามด้วยไทย มาเลเชีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คาดว่าในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ปริมาณการส่งออกทุเรียนไทยจะนำหน้าอินโดนีเซีย ตามมาด้วย มาเลเซีย และเวียดนาม แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อทุเรียนไทย ได้แก่  1) จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจากประเทศอื่น  2) ไทยขาดระบบตรวจสอบย้อนกลับ  3) ปัญหาทุเรียนอ่อน และเครื่องมือในการตรวจ  4) จีนมีความเข้มงวดในการตรวจสินค้ามากขึ้น  5) มีการสวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน   6) ตลาดทุเรียนในประเทศถูกควบคุมโดยกลุ่มล้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียนในอนาคต และกรมส่งเสริมการเกษตรได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีนโยบายการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบระบบส่งเสริมเกษตรแบบใหญ่ เป็นการดำเนินงานที่เน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร ได้อย่างมั่นคงในอนาคตตามแผนปฏิรูปการเกษตร ดังนั้น จึงจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุเรียนให้มีคุณภาพเพื่อการค้า (Quick Win ปี 2564) เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตและแปรรูปทุเรียน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดและส่งเสริมการบริโภคทุเรียนคุณภาพ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนทุเรียนนอกฤดูจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ช่วงกลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป และร่วมหารือประเด็นปุ๋ยเคมีราคาสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นไปตามกลไกราคาตลาด จึงแก้ไขปัญหาโดยเสนอให้เกษตรกรแปลงใหญ่ได้เข้าร่วมโครงการปุ๋ยของกระทรวงพาณิชย์และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยได้ และหาแนวทางการจำหน่ายแบบออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ นายสุพิท จิตรภักดี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีแปลงใหญ่ทุเรียนจำนวน 111 แปลง จังหวัดยะลามีจำนวนมากที่สุด 29 แปลง รองลงมา ได้แก่ จังหวัดชุมพร 24 แปลง และจังหวัดนครศรีธรรราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดละจำนวน 10 แปลง ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ผลักดันให้จัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายแปลงใหญ่ทุเรียนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนให้แปลงใหญ่ทุเรียนผลิตทุเรียนภาคใต้มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ของทุเรียนผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาด อ้างอิง : สทท.สงขลา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
ปกข่าว 01