เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจะนะ Smart City ในความฝันหรือผลกระทบที่ชาวบ้านต้องได้รับ
หากจะกล่าวถึง Smart City หรือเมืองอัจฉริยะนั้นตามนิยามของ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย กล่าวว่า จะต้องเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน
แต่เมื่อมองถึงสถานกาณ์ที่เกิดขึ้นกับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลานั้น เกิดข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านและศอ.บต. จากข้อมูลของเอกสารการพัฒนาพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางเมืองต้นแบบ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กล่าวว่าพื้นที่เขตอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ต่อเนื่องกับพื้นที่ 4 จังหวัดชานยแดนภาคใต้ ยังไม่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะสามารถรองรับแรงงานในพื้นที่ที่มีอยู่จำนวนมาก อีกทั้งพื้นที่อำเภอจะนะยังมีความพร้อมด้านกายภาพเนื่องจากมีลักษณะเป็นพื้นที่ที่มีอยู่จำนวนมาก
อีกทั้งพื้นที่อำเภอจะจะยังมีความพน้อมด้านกายภาพเนื่องจากมีลักษณะเป็นชายฝั่ง จึงมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการท่าเรือน้ำลึกเพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์จากการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างสะดวก แต่ในมุมกลับนั้นชาวบ้าน ณ บริเวณชายฝั่งกับไม่เห็นด้วยถึงโครงการที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ มีการรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์หน้าโรงแรมบุรีศรีภู (อ่านข่าวการประท้วงของชาวบ้านได้ที่ : ชาวบ้านจะนะ อ่านแถลงการณ์ค้านโครงการ “จะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรม” หน้าโรงแรมบุรีศรีภู)
จากเรื่องที่เกิดขึ้นดังกล่าวทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ลงพื้นที่ ณ บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อสอบถามชาวบ้านถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ในครั้งนี้ โดยได้สัมภาษณ์ “บังนี” รุ่งเรือง ระหมันยะ นายกสมาคมคนรักษ์ทะเลจะนะ กล่าวว่าทางภาครัฐจำเป็นที่จะต้องบอกข้อมูลของชาวบ้านให้มากกว่านี้ ข้อมูลทุกอย่างต้องถูกต้อง ชาวบ้านยังสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งระบบอุตสาหกรรมที่มาจากภาครัฐ อย่างในกรณีที่ทะเลจะนะ เคยได้รับผลกระทบในอดีต ภาครัฐไม่ได้ออกมือมาช่วยเหลือชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย แต่กลับเป็นทางฝั่งของชาวบ้านที่รวมตัวกันฝื้นฟูและพัฒนาทะเลจะนะให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม
สิ่งที่ บังนี ต้องการนำเสนอนั้นสามารถให้ความหมายได้ว่าโครงการจากสามารถทำได้ หากโครงการนั้นเน้นในเรื่องของความยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านทั้งในด้านกายภาพและกรรมอาชีพ
“การที่ภาครัฐนำเงินกว่า 600,000 ล้านบาท ทั้งยังมีงบอีก 18,000 ล้านบาทในการทำโครงการด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งอาจไม่ได้ก่อประโยชน์เท่าที่ควร เพียงแค่ 100 ล้านบาทเท่านั้นก็สามารถทำให้ทะเลจะนะมีผลผลิตส่งต่อให้คนทั้งประเทศ เพราะโครงการที่ผ่านๆมากลุ่มชาวบ้านแทบงบประมาณที่น้อยมาก ต่อการทำโครงการในแต่ละครั้งเพราะเป็นการทำบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว” บังนีกล่าว
สุดท้ายนี้ทาง “บังนี” รุ่งเรือง ระหมันยะ นายกสมาคมคนรักษ์ทะเลจะนะ การคัดค้านดังกล่าวทำเพื่อการปกป้องแหล่งอาหาร และทะเลจะนะ อาจเป็นไปได้ว่าหากโครงการดังกล่าวสร้างเสร็จแล้ว ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับชาวบ้านอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นชุมชนการทำประมงอาจล่มสลาย วิถีชีวิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรือแม้แต่การปลูกข้าวอาจจะย่ำแย่ลง และการคัดค้านดังกล่าวมิได้ทำเพื่อการสร้างความไม่สงบให้แก่สังคมแต่อย่างใด
ณ ขณะนี้จากข้อมูลล่าสุดทำให้ทราบว่าโครงการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจะนะมีการหยุดดำเนินงานชั่วคราว แน่นอนว่าทางสำนักข่าว Hatyai Today News จะอัปเดตข่าวให้ทุกๆท่านได้ทราบกันต่อไป
อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานศึกษาความเป็นไปได้แนวทางเมืองต้นแบบ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กล่าวว่าพื้นที่เขตอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์