มรภ.สงขลา ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสร้างทุ่นแรงผสมแป้งทำขนมเจาะหู ประเพณีสารทเดือนสิบ วันที่ 26 ส.ค. 64 ดร.กันตภณ มะหาหมัด คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นและภูมิภาค ครั้งที่ 11 สาธิตทำขนมเจาะหู ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร 74 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ว่า ทางคณะฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงได้เชิญวิทยากร นางมณฑา เพชรสุวรรณ์ บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการทำขนมพื้นบ้านภาคใต้ มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง ความเป็นมาและขั้นตอนการทำขนมเจาะหู พร้อมทั้งสาธิตการทำขนมเจาะหู โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาช่วยทุ่นแรงในการผสมแป้ง ช่วยลดเวลาในการเตรียมแป้งสำหรับทำขนมเจาะหู ทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ดร.ศรีวรรณ ขำตรี ผู้ช่วยคณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าวว่า ขนมเจาะหูเป็นหนึ่งในขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ หรือสำรับ ในประเพณีสารทเดือนสิบของคนใต้ หรือที่คนคุ้นเคยว่างานทำบุญชิงเปรต เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้ที่ตกนรกหรือเรียกว่าเปรต จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ โดยในงานบุญเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราชจะเรียกขนมเจาะหูว่า ขนมดีซำ มีความหมายแทนเงินหรือเบี้ย เพราะมีลักษณะคล้ายกับเบี้ยหอย แต่จังหวัดอื่นๆ ก็จะเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ขนมเบซำ และขนมเจาะรู อ้างอิง : สวท.สงขลา
ข่าวเมืองหาดใหญ่
ข่าวหาดใหญ่ – HATYAITODAY อัพเดทข่าวหาดใหญ่ทุกวันตลอด 24 ชม. เกาะติดข่าว ข่าววันนี้ ข่าวด่วน ข่าวออนไลน์ ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวดารา ทันเหตุการณ์ HATYAITODAYNEW
แหล่งรวม ข่าว หาดใหญ่ ข่าวเด่น ข่าวฮิต ข่าวฮอต ข่าวบันเทิง ข่าวด่วน ข่าวกีฬา ข่าวติดกระแส อัพเดทตลอด 24 ชั่วโมง Hot News!movie4cusรีวิวโบรกเกอร์
สงขลา พบผู้ป่วยโควิด 285 คน รวมผู้ป่วยโควิดระลอกเดือน เม.ย. สะสม 17,682 คน วันที่ 26 ส.ค. 64 จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่ม 285 ราย มีรายละเอียดผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 1.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองเชิงรุก พนักงานโรงงานเซฟสกิน จำนวน 78 ราย 2.ผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง (QCI,Samperflex Asia, ศรีตรังโกลฟส์,ทาคาโซ่,ไทยยูเนี่ยน) รวมจำนวน 20 ราย (พนักงานรายใหม่ 17 ราย / สัมผัส 3 ราย) 3.กลุ่มผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ในบริษัทต่างๆ รวมจำนวน 16 ราย (รายใหม่ 14 ราย / สัมผัส […]
รถไฟขบวนพิเศษกรุงเทพ-ภาคใต้ รับ-ส่งพัสดุตลอดเส้นทาง เริ่ม 28 ส.ค. 64 วันที่ 26 ส.ค. 64 การรถไฟเปิดให้บริการ ขบวนพิเศษ รับ-ส่ง พัสดุ ตลอดเส้นทางสายใต้ กรุงเทพ-สุไหงโกลก-กรุงเทพ จากกรุงเทพ ไปภาคใต้และจากภาคใต้ เข้ากรุงเทพ เริ่ม 28 สิงหาคมเป็นต้นไป โดยในเดือนสิงหาคม 2564 จะให้บริการเดินรถวันเว้นวัน รอออกต้นทางเฉพาะวันเลขคู่ ส่วนในเดือนกันยายน 2564 จะเดินรถวันเว้นวัน รถออก ต้นทางเฉพาะวันเลขคี่ ขณะที่บรรยากาศโดยทั่วไป ที่สถานีรถไฟยะลา พบว่ามีประชาชนมาใช้บริการโดยสารรถท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟยะลา รวมทั้งมีการใช้บริการส่งสินค้าไปกับทางรถไฟ เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ต่างๆ เจ้าหน้าที่รถไฟบอกว่า วันนี้เป็นวันแรกที่การรถไฟจะเดินรถเฉพาะรับ-ส่ง พัสดุ จาก กทม. มายังพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่หยุดให้บริการไปนาน ด้วยสถานการณ์โควิด-19 แต่เป็นรถขบวนพิเศษเฉพาะสินค้าเท่านั้น โดยจะผ่านมาลงของที่สถานีรถไฟยะลาและต่อไปยังสถานีสุไหงโกลก ตอนนี้ประชาชนก็สามารถใช้บริการรับ-ส่งสินค้า ผลไม้ต่างๆ ได้แล้ว ส่วนอัตราหีบห่อ ก็ใช้ค่าบริการคงเดิม จะช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการรับ-ส่ง อ้างอิง : กรมประชาสัมพันธ์ , ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลหาดใหญ่สุ่มตรวจน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านค้าแผงลอย วันที่ 26 ส.ค. 64 งานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยเคลื่อนที่ความปลอดภัยด้านอาหาร (Mobile Unit) สสจ.สงขลา ตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร โดยสุ่มตรวจน้ำมันทอดซ้ำ สารเร่งเนื้อแดง จากแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนรัตนอุทิศ-หาดใหญ่ พร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลอาหารและกำชับให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงผู้ที่จำหน่ายอาหาร ถ้าใช้น้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง มีสารโพลาร์เกินมาตรฐาน จะมีความผิดฐานจำหน่ายอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท โดยมาตรฐานน้ำมันทอดซ้ำ จะมีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ต่อน้ำหนักน้ำมันที่ใช้ ซึ่งที่ผ่านมาหากพบทำผิดครั้งแรกจะทำการตักเตือน แต่หากพบทำผิดซ้ำจะดำเนินการปรับทันที อ้างอิง : สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่
ศอ.บต. สำรวจพื้นที่แนวชายฝั่งอ่าวไทย อ.เทพา-อ.จะนะ เตรียมส่งเสริมชาวประมงพื้นบ้านเลี้ยงปูทะเลสัตว์เศรษฐกิจใหม่ วันที่ 26 ส.ค. 64 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและสนับสนุนฝ่ายพลเรือน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำโดย นางสาวจิรัชยา เบ็ญหีม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย นายธัชชัย อุบลไพศาล นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ และคณะฯ ร่วมสำรวจพื้นที่ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย ในอำเภอจะนะ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อเตรียมขยายพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมธนาคารอาหารปลอดภัยชุมชนต้นแบบ (การเลี้ยงปูทะเล) ด้วยการสนับสนุนกลุ่มประมงพื้นบ้านเข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้โครงการขับเคลื่อนแนวทางวิถีชีวิตชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งพัฒนาเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางศอ.บต.เตรียมขยายการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเมื่อวานนี้คณะฯ ได้สำรวจการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ของ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านให้ความสนใจ และน่าจะสามารถดำเนินการได้ใน 2 จุด สำหรับกิจกรรมธนาคารอาหารปลอดภัยชุมชนต้นแบบ (การเลี้ยงปูทะเล) ในห้วงที่ผ่านมา ศอ.บต.ได้มีการขับเคลื่อนให้กลุ่มประมงพื้นบ้าน นำร่องเลี้ยงปูทะเลในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอหนองจิก อำเภอยะหริ่ง ตลอดจนอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และได้มีการขยายผลต่อในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงปูทะเล 2 ประเภท ได้แก่ บ่อ (บ่อกุ้งร้าง บ่อปลา บ่อดิน) ป่าชายเลน เป็นต้น เพื่อเป็นการฟื้นฟู นากุ้งร้างรวมถึงป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม ให้มีความสมบูรณ์ สามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีความยั่งยืน อ้างอิง : สวท.สงขลา , ศอ.บต.
ศูนย์ดำรงธรรมสงขลา แก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่ป่าไม้กับพื้นที่นิคมสร้างตนเองรัตภูมิ วันที่ 25 ส.ค. 64 นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา /ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ได้มอบหมาย นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ร่วมปรึกษาหารือกับ นายศตธรรม เรืองรอง ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ ผู้แทนสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) และผู้แทน นายเดชอิศม์ ขาวทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดสงขลา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่ป่าไม้ กับพื้นที่นิคมสร้างตนเองรัตภูมิ สำหรับพื้นที่ทับซ้อนข้างต้นประมาณ 5,340 ไร่ จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 (สงขลา) ได้ประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากนิคมสร้างตนเองรัตภูมิ เพื่อจะได้นำไปประกอบการพิจารณาและเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นได้ลงพื้นที่ดูสภาพข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ในเขตนิคม ฯ จะไม่มีความแตกต่างใด ๆ ลักษณะจะเป็นบ้านที่อยู่อาศัย และหรือสวนยางพารา สวนปาล์ม ถนนลาดยางอยู่ในสภาพปกติ เป็นต้น […]