ราชกิจจานุเบกษาเตรียมขยาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินรอบที่ 5 ถึงวันที่ 30 กันยายน 63 นี้ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 63 ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เผยว่าในวันนี้มีมติต่อพระราชกำหนดฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือน เนื่องจากการแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อโดยการต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในครั้งนี้เป็นรอบที่ 5 แล้วตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ซึ่งครั้งนี้จะต่อขยายเพื่อครอบคลุมไปทั้งเดือนกันยายน ส่วนการประเมินสถาการณ์การชุมนุมของนักศึกษาของหน่วยงานด้านความมั่นคงนั้น พล.อ.สมศักดิ์ เผยต่อว่าการชุมนุมนั้นเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ยังยืนยันว่าจะไม่มีการนำ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาบังคับใช้กับการชุมนุม แต่หากการชุมนุมเป็นไปตามกรอบกฎหมายก็ไม่มีปัญหาอะไรแม้ว่าจะกระจายไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศส่วนกรณีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากประเทศตรวจพบที่ รพ.รามาฯ นั้น ขอให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวกันกับการพิจารณาทบทวนมาตรการใหม่ ซึ่งในวันศุกร์นี่จะมีการประชุมในเรื่องที่มีการผ่อนคลายมาตรการไปแล้วทั้งการเปิดเรียนเต็มรูปแบบ ระบบขนส่งสาธารณะ รวมไปถึงการอนุญาตให้เข้าชมกีฬ ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นไม่กระทบกับทั้ง 3 กรณีที่ผ่อนปรนไปแต่ต้องสืบส่วนต่อไป HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : สภาความมั่นคงแห่งชาติ

ชี้แจงข้อเท็จจริง ยืนยันหญิงไทยมีเชื้อโควิด-19 โอกาสติดเชื้อในประเทศน้อยมาก เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 63 ที่ผ่านมานายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และรศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบหญิงไทยตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19 ขณะเตรียมตัวเดินทางไปทำงานต่างประเทศนั้น กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าตามที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการตรวจสุขภาพหญิงไทย 2 ราย อายุ 34 และ 35 ปี ซึ่งมาขอใบรับรองแพทย์ประกอบการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ โดยมีการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ทางห้องปฏิบัติการ และผลพบสารพันธุกรรมในปริมาณน้อย จากข้อมูลการสอบถามทั้งสองรายนี้ ไม่มีไข้ ไม่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ และอยู่ระหว่างการส่งตัวอย่างตรวจยืนยันด้วยวิธีการเพาะเชื้อเพื่อประกอบการสรุปผลการวินิจฉัยต่อไปโดยขณะนี้ทั้งสองรายอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยได้แจ้งข้อมูลให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทราบและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ด้านรศ.นพ.สุรศักดิ์ ให้ข้อมูลว่ารายแรก เป็นเพศหญิง อายุ 34 ปี เคยทำงานที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางกลับมาไทยเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 63 ไม่มีอาการ เข้ากักตัวที่สถานกักกันที่ราชการกำหนด 2 […]

MICE CITY เครื่องมือสำคัญแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาฝ่าวิกฤติสวนกระแส Covid-19      ช่วงบ่ายวันนี้ (19 ส.ค. 63) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติค โฮเต็ล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้จัดงานรับรองการอบรมโครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่า โดยมีนายวรณัฐ หนูรอด ปลัดจังหวัดสงขลา เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมและ นายศิวัตน์ สุวรรณวงศ์ นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา กล่าวรายงาน นางศุภวรรณ ศีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ชี้แจงโครงการประชุมเมืองไทย พร้อมทั้งมีผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารโรงแรม เข้าร่วมการอบรมโดยทีเส็บเปิดตัวโครงการ “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า” ให้งบสนับสนุนเร่งรณรงค์องค์กรเอกชนจัดประชุมสัมมนา หวังช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรมและ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ตลาดไมซ์จากต่างประเทศยังไม่สามารถเดินทางได้ และดึงชาวต่างชาติเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัว 14 วันอย่างปลอดภัยร่วมกับศบค. ซึ่งเมืองสงขลาได้รับเลือกเป็น เมือง MICE CITY อันดับต้นๆของประเทศ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 […]

3 ชายหาดในจ.สงขลา ติดอันดับชายหาดระดับ 4 ดาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับมาตรฐานของจังหวัด วันที่ 19 ส.ค. 63 นายธนัญชัย วรรณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา) เปิดเผยว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา) ได้จัดโครงการตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว (ชายหาดติดดาว) จังหวัดสงขลาประจำปี 2563 เพื่อบ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชายหาด และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดของจังหวัดสงขลา อีกทั้ง เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณชายหาด หน่วยงานท้องถิ่นบริเวณชายหาด ภาคประชาชน หันมาตระหนัก และใส่ใจคุณภาพชายหาดของตนเอง โดยมีคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมควบคุมมลพิษ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อมจังหวัด อาจารย์จากสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจประเมิน โดยมีเกณฑ์การประเมินชายหาดติดดาว รวม 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ […]

จ.สงขลา บริษัทจัดงานอาหารสองทะเล ร้องศาลถูกยกเลิกการจัดงาน เนื่องจากวันนี้ 17 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมาได้มี ตัวแทนของบริษัทจัดงานพร้อมด้วยคณะลงพื้นที่ศาลปกครองจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา พร้อมนำเอกสารในการประกวดราคาการจัดงานเทศกาลอาหารสองทะเล อร่อยได้ไร้แอลกอฮอล์ ปี 2563 ซึ่งงานจะเริ่มวันที่ 22 ส.ค.63 – 3 ก.ย. 63 ด้วยวิธีการประกวดทางอิเล็กทรอนิกส์เมื่อวันที่ 13 ก.ค.63 มีบริษัทดังกล่าวได้ชนะการประกวดราคา โดยเสนอราคาสองล้านหนึ่งแสนบาท ต่อมาทางเทศบาลนครสงขลาได้ประกาศยกเลิกประกาศ โดยเปิดเผยว่าเทศบาลนครสงขลา ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปได้หากทำการจัดซื้อจัดจ้างต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับเทศบาลนครสงขลา และก่อนหน้าวันที่ 23 ก.ค. 63 เทศบาลนครสงขลาได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาคือบริษัทดังกล่าวในราคา 2.1 ล้านบาท และวันที่ 4 ส.ค.เทศบาลนครสงขลาได้ยกเลิกประกาศรายชื่อผู้ชนะการประกวดราคาอีกครั้ง วันที่ 6 ส.ค.ยกเลิกประกาศการประกวดราคาโดยให้เหตุผลว่าได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ แต่มีบริษัทอื่นมาชนะการประกวดราคาแทน ทางด้านตัวแทนบริษัทจัดงานได้เปิดเผยว่า ได้นำเอกสารเพิ่มเติมมายื่นต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา เพื่อขอให้ศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว พร้อมทั้งยังได้นำเอกสารเพิ่มเติมในการฟ้องศาลปกครอง ทั้งนี้วันนี้ทางทีมข่าวหาดใหญ่ทูเดย์นิวส์ได้ลงพื้นที่สถานที่จัดงานเทศกาลอาหารสองทะเล พบว่าในขณะนี้ได้มีการเตรียมงานและเริ่มกางเต็นท์จัดงานแล้วตั้งแต่วันที่ 19 […]

กรมโยธาธิการและผังเมืองถอนงบประมาณสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลหาดม่วงงามออกจากงบปี 2564 สำเร็จ     เมื่อวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาชี้แจงงบประมาณในชั้นกรรมาธิการงบฯ 64 กรมนี้เป็นเจ้าของโครงการเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามโครงการได้รับการนำเสนอตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 เมื่อโครงการเริ่มการก่อสร้างเกิดข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในพื้นที่ โดยประเด็นที่มีความเห็นต่างกันมีสองประเด็นหลัก ประเด็นแรก เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการที่ออกแบบและคิดมาจากส่วนกลาง กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน หรือ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความเห็น  เมื่อเกิดการก่อสร้างขึ้น ประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งจึงต่อต้านไม่ให้มีการก่อสร้างพื้นที่ชายหาด ประเด็นที่สอง เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ของการกัดเซาะชายฝั่ง การกัดเซาะชายฝั่งถูกแบ่งวิธีแก้ออกเป็นหลายระดับ จากระดับที่ต่ำที่สุดคือการปล่อยให้เป็นไปตามสมดุลย์ธรรมชาติ จนถึงระดับที่จะต้องฟื้นฟูชายฝั่ง การเก็บข้อมูลของนักวิชาการ, ภาคประชาสังคม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะถาวร มีแต่การกัดเซาะตามฤดูกาลที่ขึ้นอยู่บนความแรงของมรสุม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างแข็งป้องกัน สามารถปล่อยให้มีชายหาดธรรมชาติได้ รวมตัวของประชาชนส่วนหนึ่งจึงร่วมกันฟ้องร้องศาลปกครอง ศาลปกครองดูเอกสารแล้วให้ความเห็นว่าหาดไม่มีการกัดเซาะรุนแรง จึงสั่งคุ้มครองหยุดการก่อสร้างชั่วคราวในต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากนั้นธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและศิริกัญญา ตันสกุล ได้อภิปรายเสนอตัดงบประมาณการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงาม ในชั้นกรรมาธิการงบประมาณโดยอ้างอิงถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงว่าหาดม่วงงามไม่มีการกัดเซาะ เมื่ออภิปรายเสร็จ จึงได้ผลสรุป อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เสนอถอนงบประมาณตัวนี้ออกจากงบปี 2564 หมายความว่าไม่ว่าคำสั่งศาลจะเป็นอย่างไร จะไม่มีการสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดม่วงงามอีก […]