สถานกาณ์โควิด-19 วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานว่าการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 1 ราย เป็นชาวไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าพักสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) เดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ ทางโฆษก ศบค. ยังได้อัปเดตสถานการณ์ผู้สัมผัสติดเชื้อซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงจากจังหวัดระยองและกรุงเทพมหานคร โดยทั้งหมดไม่มีการตรวจพบเชื้อ HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์โควิด-19 ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์
ข่าวประเทศไทย
โฆษก ศบค.เปิดเผยการพิจารณาพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะต่อหรือยกเลิกต้องพิจารณาหลายปัจจัย เมื่อวันที่ 19/07/63 ที่ผ่านมา นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) หรือ ศบค. กล่าวถึงการพิจารณามาตรการผ่อนปรนเฟส 6 ให้กับแรงงาน การแสดงสินค้า กองถ่ายภาพยนต์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ระบุเฉพาะ ว่าคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนปรนการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีพลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน และคณะของกระทรวงสาธารณสุขได้มีการพูดคุยรอบด้าน จะนำเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในสัปดาห์นี้ พร้อมย้ำถึงการพิจารณาในการต่อ หรือยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย คาดว่า ศบค.ชุดเล็ก จะพูดคุยกันในวันที่ 20 หรือ 21 กรกฎาคมนี้ ก่อนการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ส่วนที่มีประชาชนร้องเรียนผ่านเพจศูนย์ข้อมูลโควิด -19 กรณีโรงแรมทั้ง 22 แห่ง ที่เป็นสถานที่พักทางเลือกเพื่อการกักกันแห่งรัฐ ( Alternative State Quarantine ) เต็มแล้ว หากมีคนเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศให้ไปอยู่ที่ใดนั้น ศบค.ชุดเล็กได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้มีคนเดินทางกลับจากต่างประเทศจำนวนมาก จึงทำให้ความต้องการที่พักสูง เบื้องต้นจะแก้ไขโดยใช้พื้นที่ของโรงแรมที่รัฐจัด (State Quarantine) ยังมีเหลืออยู่ เป็นโรงแรมระดับสามดาว และมีความพร้อมระบบสาธารณสุข แต่ทั้งนี้ต้องหาเพิ่มเติมอีก ซึ่งโรงแรมระดับสูงและโรงพยาบาลภาคเอกชนต้องร่วมมือกัน รวมทั้งโรงแรมที่มีความพร้อมสามารถติดต่อมาที่ ศบค. หรือทางเว็บไซต์ hsscovid.com เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ พร้อมระบุ วิกฤตของโลก ยังเป้นเรื่องของโควิด -19 ซึ่งไทยยังเป็นประเทศที่คนต่างชาติต้องการเข้ามา เป็นเพราะส่วนหนึ่งเป็นประเทศที่ปลอดภัย จึงย้ำทุกคนที่เข้ามาจะต้องอยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ ซึ่งเป็นมาตรการเข้มและต้องทำต่อเนื่องไป โฆษก ศบค. ยังกล่าวถึงกรณีมีการนำเสนอข่าวว่ามีการนำเข้าคนติดเชื้อโควิด- 19 มาจากต่างประเทศ เพื่อมาสกัดกั้นการเคลื่อนไหวการเมือง ว่าไม่ได้มีเจตนานำเชื้อจากต่างประเทศเข้าไทย แต่สิ่งที่นำเข้ามา คือคนไทย และคนต่างชาติที่ต้องมาปฏิบัติภารกิจในไทย เพื่อให้กิจการและกิจกรรมทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ […]
สถานกาณ์โควิด-19 วันที่ 19 กรกฎาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย วันที่ 19 กรกฎาคม 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานว่าการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 3 ราย เป็นชาวไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าพักสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) โดยเดินทางมาจากประเทศ สิงคโปร์ 2 ราย ซูดาน 1 ราย ทั้งนี้ ทางโฆษก ศบค. ยังได้อัปเดตสถานการณ์ผู้สัมผัสโดยทั้งหมดไม่มีการตรวจพบเชื้อ HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์โควิด-19 ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์
ประชาชนคนไทยวางใจ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยัน นักการทูตต่างประเทศ ไม่ใช่ VIP ทุกคน นายเชิดเกียรติ อัตถากร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยเพิ่มเติมถึงกรณีการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักการทูตตะวันตก เพื่อกลับมาปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่สามารถเข้าที่พักย่านสุขุมวิทได้ ว่า นักการทูตเป็นกลุ่มบุคคล ที่เดินทางเข้ามาปฏิบัติภารกิจส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยยืนยันว่า ไม่ใช่กลุ่ม VIP เนื่องจาก แม้จะได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะตัวแทนทางการทูตและผู้แทนของรัฐ แต่ก็มีหน้าที่ที่ต้องเคารพกฎระเบียบของประเทศเจ้าบ้าน โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขของไทย ตามแนวทางคำสั่งของ ศบค. ฉบับที่ 7/2563 ซึ่งเป็นมาตรการปัจจุบัน ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ และย้ำว่านักการทูตประเทศตะวันตกรายนี้ ได้ปฏิบัติตามกรอบระเบียบของ ศบค. แต่เพื่อสร้างความมั่นใจ โดยคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไทย ในการพยายามควบคุมโรค และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย กระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทบทวนมาตรการให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่ออนุมัติให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยในช่วงรอยต่อนี้ จะเน้นย้ำและทำความเข้าใจกับคณะทูตเป็นระยะ ทั้งนี้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่เกิดกรณีบุตรสาวนักการทูตจากประเทศในแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ […]
สถานกาณ์โควิด-19 วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7 ราย วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้รายงานว่าการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ยืนยันพบผู้ป่วยเพิ่ม 3 ราย เป็นผู้เชื้อที่ไม่ได้เป็นชาวไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าพักสถานที่เฝ้าระวังที่รัฐจัดให้ (State Quarantine ) โดยเดินทางมาจาก ประเทศซูดาน โดยสรุปในวันนี้ มีผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยทั้งสิ้น 3,246 ราย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 7 ราย รักษาตัว 92 ราย หายแล้ว 3,096 ราย และเสียชีวิตสะสม 58 ราย ทั้งนี้ ทางโฆษก ศบค. […]
กรมจัดหางาน เตือนนายจ้าง/ผู้ประกอบการ อย่าใช้บริการนายหน้าเถื่อน นำเข้าแรงงานต่างด้าวเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการให้กรมการจัดหางานชี้แจงทำความเข้าใจกับนายจ้าง ผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน หลังพบ อาจเป็นช่องทางให้ขบวนการนายหน้าและโบรกเกอร์เถื่อนอ้างกับนายจ้าง/ผู้ประกอบการว่าสามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศได้ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีมาตรการการเข้าประเทศของคนต่างด้าวที่เคร่งครัด และยังมีการปิดจุดผ่านแดนเข้าออกประเทศทั้งหมด โดยเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเกินจริง “ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ มีขบวนการนายหน้าเถื่อน อ้างกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการว่าสามารถนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศได้ โดยเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในอัตราสูง ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมการจัดหางานขอแจ้งว่า ผู้ที่จะดำเนินการนำเข้าแรงงานได้นั้นมี 2 กลุ่มคือ 1) นายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง 2) มอบอำนาจให้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ (บริษัทนำเข้า) ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมการจัดหางาน อย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้ โดย ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 มีผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ จำนวน 245 แห่งทั่วประเทศ เป็นผู้รับอนุญาตฯในกรุงเทพฯ 73 […]