สรุป 6 มาตราการผ่อนปรนจาก ศบค. ช่วงโควิด-19 สืบเนื่องจากวันที่ 30 เมษายน 2563 (วานนี้) ได้มีรายงานจาก ศบค. มีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนปรนให้มีมาตรฐานกลางบางกิจการและกิจกรรม เช่น แผงลอย หาบแร่ กิจกรรม เช่น การออกกำลังกายในสวนสาธารณะ โดย ศบค. จะกำหนดมาตรฐานกลาง และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผู้ว่าฯ กทม. กำหนดรายละเอียดต่อไป โดยสามารถกำหนดความเข้มข้น มากกว่าระดับมาตรฐานกลางได้ แต่น้อยกว่ามาตรฐานกลางไม่ได้ และต้องมีแนวทางดำเนินการที่คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นหลัก และสังคม-เศรษฐกิจตามมา การยึดถือข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1 ข้อ 11 เช่น การทำความสะอาดพื้นผิวสถานที่ที่เกี่ยวข้อง การใส่หน้ากากผ้า การล้างมือ การรักษาระยะห่าง 1 เมตร มีแอปลิเคชั่นตามตัว นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน […]
ข่าวประเทศไทย
อัปเดตสถานการณ์ Covid-19 ภาคใต้ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้พื้นที่ภาคใต้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ยังคงติดตามกันแบบเรียลไทม์ซึ่งยังน่าเป็นกังวลใจเนื่องจากยังพบผู้เสี่ยงติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเรื่อยๆ สรุปรายละเอียดจังหวัดต่างๆที่พบผู้ติดเชื้อโดยมีรายละเอียดดังนี้ จังหวัด ภูเก็ต 216 คน จังหวัด ปัตตานี 91 คน จังหวัด ยะลา 121 คน จังหวัด สงขลา 105 คน จังหวัด สุราษฏธานี 18 คน จังหวัด นราธิวาส 33 คน จังหวัด กระบี่ 19 คน จังหวัด พัทลุง 14 คน จังหวัด นครศรีธรรมราช 12 คน จังหวัด ชุมพร 21 คน […]
สรุปสถานการณ์แนวโน้มปัญหายาเสพติดของกองปราบปรามยาเสพติดภาค 9 สืบเนื้องจากวันที่ 30 เม.ย. 63 (วานนี้) นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 3 /2562 ที่ห้องประชุม CEO ศาลากลางจังหวัดสงขลา จากรายงานเดือนที่ผ่านมา เดือนมีนาคม 2563 ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา สามารถจับกุมผู้กระทำผิดทุกข้อหาได้ 1,226 คดี ผู้ต้องหา 1,349 ราย และจับกุม 5 ข้อหาหลักได้ 256 คดี ผู้ต้องหา 309 ราย ส่วนของกลางยาเสพติดที่ทำการตรวจยึด ประกอบด้วย ยาบ้า 412,360 เม็ด ยาไอซ์ 481.55 กรัม กัญชา 8,859.77 กรัม พืชกระท่อม […]
จ.สงขลาเร่งแก้ไขเกษตรกรและการส่งออกสินค้าหลังได้รับผลกระทบ Covid-19 นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประชุมการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อผลผลิต ทั้งภาคการเกษตร ด้านประมง ด้านปศุสัตว์และอื่นๆ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ห้องประชุม Conference ศาลากลางจังหวัดสงขลา ด้านการประมง ที่ได้รับผลกระทบ 2 ชนิดสินค้า ได้แก่ กุ้งทะเล เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่มั่นใจในเรื่องราคา จึงชะลอการลงเลี้ยง ส่งผลให้โรงเพาะฟักไม่สามารถขายลูกกุ้งได้ ทำให้มีลูกกุ้งค้างบ่อปริมาณมาก และปลากระพง ซึ่งพ่อค้าคนกลางลดปริมาณการรับซื้อ หรือไม่รับซื้อ ส่งผลให้ต้นทุนค้าใช่จ่ายด้านอาหารปลาเพิ่มขึ้น เพราะต้องเลี้ยงนานขึ้นและเกษตรกรต้องรับความเสี่ยงในกรณีที่ปลาน็อค เนื่องจากปลามีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ด้านปศุสัตว์ ส่งผลให้ไข่ไก่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยในช่วงแรก โดยราคาสูงขึ้นและต่ำลงตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา ได้ติดตามราคาสินค้าเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการถือโอกาสขึ้นราคา ด้านสินค้าด้านเกษตร/พืช พบว่ายังไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากได้มีการประสานผู้ค้าภายในจังหวัดในการกระจายสินค้า มีตัวแทนตลาดรับซื้อผลผลิต รวมถึงการเปิดช่องทางขายออนไลน์และการแปรรูปผลผลิต จากที่ประชุมทางจังหวัดสงขลามีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 2,923,260 ไร่ มีพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน การทำนาข้าว ไม้ผลและพืชผักอื่นๆ เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ภาคการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากแหล่งรับซื้อหลายแห่งหยุดให้บริการ ทำให้ต้องชะลอการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร หรือซื้อในปริมาณที่น้อยลง HATYAITODAYNEWS ภาพ/อ้างอิง: สำนักข่าวประชาสัมพันธ์
สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 30 เม.ย. 63 ติดเชื้อสะสม 2,954 ราย เสียชีวิตสะสม 54 ราย วันที่ 30 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โควิด-19 ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 7 ราย เป็นคนในพื้นที่ 68 จังหวัด ติดเชื้อสะสม 2,954 ราย เสียชีวิตสะสม 54 ราย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 7 ราย ตามข้อมูลดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 6 ราย 2. ผู้ป่วยรายใหม่ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน […]
กระทรวงมหาดไทยกำชับทุกจังหวัดคงทุกมาตรการตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเคร่งครัด ทั้งนี้การออกคำสั่งหรือประกาศของจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ให้รอการสั่งการเชิงนโยบายจาก ศบค.ก่อน เพื่อให้เกิดเอกภาพพร้อมกันทั่วประเทศ และมีข้อกฎหมายรองรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อไป ได้แก่ 1. ประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2563 2. ประกาศที่คณะรัฐมนตรี กำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2563 เป็นต่อไป 3.ให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรี กำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : ศูนย์ข้อมูล COVID-19