รัฐบาลเร่งเพิ่มมูลค่าไข่ครอบสงขลาของดีท้องถิ่น ปัจจุบันสร้างมูลค่าการตลาดแล้ว 4.8 หมื่นล้านบาท วันที่ 19 มี.ค. 66 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลส่งเสริมเสริม Soft Power และเพิ่มมูลค่าในสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ไข่ครอบสงขลา” เป็นสินค้า GI ตัวใหม่ของไทย ปัจจุบันไทย มีสินค้า GI ที่ประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว 177 สินค้า ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ สามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับสินค้าชุมชนกว่า 48,000 ล้านบาท สำหรับ ไข่ครอบสงขลา เป็นอาหารพื้นถิ่นที่ผลิตและแปรรูปในอำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในพื้นที่ที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี โดยการนำไข่แดงจากไข่เป็ด 2 ใบ ใส่ลงในเปลือกไข่ […]

พุ่งใต้เฟสหาดใหญ่ ประชาชนเข้าร่วมอย่างหนาแน่น เทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เกิดขึ้นแล้วกับงาน พุ่งใต้เฟส เทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ 1 ปี จะมีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแค่ 1 ครั้งเท่านั้น ปีนี้จัดขึ้นที่ สวนน้ำ เดอะไพเรท ปาร์ค หาดใหญ่ (The Pirates Park Hatyai) ภายในงานประกอบไปด้วย 16 ศิลปิน เยอะที่สุดในภาคใต้ พุ่งแรงไปกับศิลปินที่แสดงสดได้มันที่สุด ที่ชาวใต้อยากดู ต้องได้ดู นำทีมโดย Bodyslam (บอดี้สแลม), Palmy (ปาล์มมี่), Potato (โปเตโต้), Big Ass (บิ๊กแอส), Num Kala (หนุ่ม กะลา), Klear (เคลียร์), Three Man Down (ทรี แมน ดาวน์), Cocktail […]

อีก 2 วัน งานพุ่งใต้เฟสหาดใหญ่ เทศกาลดนตรี ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ 16 ศิลปิน บนพื้นที่จัดงานกว่า 140,000 ตรม. วันที่ 16 มี.ค. 66 เทศกาลดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้ จะเกิดขึ้น วันที่ทุกคนจะพร้อมใจกัน พุ่ง มุ่งตรงไปยังภาคใต้ 1 ปี จะมีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแค่ 1 ครั้งเท่านั้น กับ Chang Music Connection presents พุ่งใต้เฟส (ช้าง มิวสิค คอนเนคชั่น พรีเซนต์ พุ่งใต้เฟส) จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 มี.ค. 2566 สวนน้ำ เดอะไพเรท ปาร์ค หาดใหญ่ (The Pirates Park Hatyai) จัดเต็มทั้งแสง สี เสียง […]

ผู้ว่าฯ สงขลาเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อศึกษาความเหมาะสม โครงการถนนเลี่ยงเมืองนาทวี วันที่ 16 มี.ค. 66 นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่อำเภอนาทวี เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบถนนเลี่ยงเมืองนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมี นายจิรานุวัฒน์ จันทร์จร ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบทาง นายไผท ทันประจำสินธุ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสงขลา กล่าวรายงาน นายเชิดพงษ์ ใจตรง นายอำเภอนาทวี พร้อมด้วยส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ องค์กรเอกชน และประชาชน เข้าร่วม ณ หอประชุมโรงเรียนนาทวีวิทยาคม อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และผ่านระบบการประชุมทางไกล (Webex) อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นอำเภอที่เชื่อมต่อกับจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา อีกทั้งมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซียบริเวณด่านชายแดนบ้านประกอบ ซึ่งมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจในการสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า รวมถึงเป็นเส้นทางไปสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันการเดินทางผ่านตัวเมืองนาทวี ต้องใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 408 […]

นางสงกรานต์ปี 66 กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี ประทับนั่งเหนือหลังควาย วันที่ 16 มี.ค. 66 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า สำนักพระราชวัง โดย ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี ได้เผยแพร่ประกาศสงกรานต์ ประจำปี 2566 สวธ.จึงได้จัดทำภาพวาดนางสงกรานต์ พร้อมเผยแพร่ประกาศสงกรานต์ ดังนี้ ปีเถาะ (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้) เบญจศก จุลศักราช1385 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เวลา 16 นาฬิกา 01 […]

สงขลา เกษตรกรเฮ นวัตกรรมจัดการน้ำช่วยวางแผนทำการเกษตรบนคาบสมุทรสทิงพระ วันที่ 16 มี.ค. 66 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดำเนินงานโครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำต้นทุนและระบบการจัดสรรน้ำด้วยสมดุลน้ำรายตำบลในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระด้วยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม มี ดร.ณัฐพล แก้วทอง เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยมีการติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัยฯ ที่ศาลากลางน้ำ อุทยานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีการจัดแสดงนิทรรศการ นวัตกรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน : พลวัตการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในคาบสมุทรสทิงพระ และการเสวนาในหัวข้อเรื่อง พลวัตการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิภาพโลกในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ นอกจากนี้ มีการลงพื้นที่ตรวจดูเครื่องมือวัดอัตราการไหลในคลองส่งน้ำชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ และตำแหน่งสถานีตรวจวัดค่าความเค็มในทะเลสาบสงขลา ติดตามการดำเนินโครงการและร่วมวางแผนการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการน้ำต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดร.ณัฐพล แก้วทอง หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวถึงโครงการวิจัยดังกล่าวว่า นวัตกรรมชิ้นนี้ได้พัฒนาเป็นเครื่องวัดความเค็มแบบเรียลไทม์จะส่งต่อข้อมูลของค่าความเค็มของน้ำในทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้รับรู้ถึงระดับของค่าความเค็มในทะเลสาบที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนั้นโครงการวิจัยชิ้นนี้ได้พัฒนาการติดตั้งนวัตกรรมให้กระจายเต็มพื้นที่ทะเลสาบสงขลา โดยได้ติดตั้งไปแล้วกว่า 10 ตัว ทำให้ได้ทราบค่าความเค็มและการขยับตัวการขับเคลื่อนของพื้นที่ว่าไปในทิศทางใด อย่างเช่นพื้นที่ด้านเหนือที่ยังไม่มีความเค็ม เกษตรกรจะทราบได้ว่าพื้นที่ทางตอนใต้กำลังเกิดความเค็ม เพราะฉะนั้นเกษตรกรจะได้วางแผนทำการเกษตร ถ้าหากจะต้องทำการเกษตรก็ควรจะต้องมีการสำรองน้ำอย่างไรให้ลดความเสี่ยงและความเสียหายทางการเกษตรจากการขาดแคลนน้ำ อ้างอิง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย