“กลุ่มช่วยกัน” ชวนคนไทยโหลดแอป “หมอชนะ” เพื่อเอาชนะโควิด-19 “หมอชนะ” “Morchana” คือ เป็นแอปพลิเคชันที่ทำหน้าที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการเดินทางผ่านการเก็บตำแหน่งของประชาชนที่ลงทะเบียนในช่วงวิกฤตนี้ โดยใช้ GPS Location และระบบ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ เป็นเครื่องมือให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ตรวจสอบคัดกรองข้อมูลความเสี่ยงของประชาชนที่เข้าใช้บริการทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ลดความล่าช้าในการสอบประวัติ และปลอดภัย ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งแอปพลิเคชันหมอชนะ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของประชาชน หน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันหมอชนะขึ้นมา อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันหมอชนะ จะเก็บข้อมูลตำแหน่งของบุคคล โดยผู้ใช้งานใช้วิธีการสแกน QR Code เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ โดยแอปฯหมอชนะจะบ่งบอกสถานะค่าสีของผู้ใช้งานว่าอยู่ในระดับความเสี่ยงสีใดและมีการปฏิบัติตนอย่างไร HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก :กลุ่มช่วยกัน ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์
ข่าวประเทศไทย
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศิษย์เก่าม.อ. หนึ่งในผู้วางยุทธศาสตร์สำคัญช่วงโควิด-19 เมื่อกล่าวถึงบคุลากรสำคัญในช่วงโควิด-19 ของประเทศไทย หนึ่งในคนที่เรียกว่าเป็นผู้วางยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นบุคคลที่มาจากภาคใต้เรานั้นเอง และยังเป็นผลผลิตสำคัญของรั้วพระบิดา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ นั้นคือ นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญผู้ทุ่มเทในการวางจัดระบบและวางแผนรับมือการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข้อมูลการแพร่ระบาดและตอบข้อซักถามแก่สื่อมวลชนรายวัน นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะท่านเป็นนักเรียนแพทย์รุ่นที่ 13 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่บ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์และผลิตศิษย์เก่าที่มีคุณภาพออกไปสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติมาเป็นเวลา 52 ปีแล้ว นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี 2528 ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ยังเป็นคณะใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพิ่งเปิดบริการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเปิดได้ไม่นาน แม้ในช่วงเวลานั้นโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และคณะแพทยศาสตร์มีความพร้อมค่อนข้างมาก แต่ก็ยังไม่ทัดเทียมกับโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพมหานคร แต่ในความเป็นคณะใหม่จึงมีคณาจารย์ส่วนใหญ่ที่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ และมีอาจารย์บางท่านเป็นอาจารย์อาวุโส จึงนับเป็นส่วนผสมที่ดีของอุดมการณ์ ปัญญา ความกระตือรือร้นใฝ่รู้ อาจารย์มีความตั้งใจและทุ่มเทในการสอน […]
New Norm วิถีชีวิตบนความปกติรูปแบบใหม่ที่คนคุ้นชิน หลังวิกฤตโควิด-19 New Norm, New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ ที่หลาย ๆ คนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงแม้ว่าในอนาคตไวรัสตัวนี้จะไม่แพร่ระบาดแต่ก็ไม่ได้จะแปลว่าจะไม่กลับมาแพร่ระบาดอีก จึงทำให้ทุกวันนี้เราทุกคนจึงต้องใช้ชีวิตแบบใหม่ ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ธุรกิจต่าง ๆ อาจต้องปรับเปลี่ยน ปรับตัว จนเกิดคำว่า “ชีวิตวิถีใหม่” ถ้าปรับตัวได้ก็เท่ากับอยู่รอด ทั้งนี้พฤติกรรมการสวมใส่หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าของทุกคนในตอนนี้ การเว้นระยะห่างในสังคม ไปจนถึงการตรวจวัดอุณหภูมิ เวลาเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้แหละคือ New normal ในสังคมไทย และสังคมโลก แปลเป็นภาษาไทยคือ ความปกติรูปแบบใหม่ที่คนคุ้นชิน หลังวิกฤตโควิด-19 จบลง จะยกตัวอย่างในด้านของธุรกิจ สำหรับร้านอาหารประชาชนสั่งอาหารผ่านแอปฯ กันมากขึ้น จนอาจกลายเป็นความเคยชิน และอาจจะส่งผลกระทบไปถึงขยะที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวตลอดเวลา HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ,
ททท. เปิด Facebook Group รับฝากร้านช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีประกาศเปิดกลุ่มบนเฟซบุ๊ก (Facebook Group) “การฝากร้านแห่งประเทศไทย – Amazing Market” สร้างพื้นที่ให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น ชุมชน ร้านอาหาร ได้เข้ามาฝากร้านเสนอขายสินค้าเพื่อสร้างรายได้ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยระบุว่า ขอเชิญทุกท่านเข้าเป็นสมาชิกเพื่อช่วยอุดหนุนสินค้าจากชุมชนและผู้ประกอบการทั่วไทย หรือนำเสนอขายสินค้า สามารถแสดงความต้องการซื้อสินค้าได้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ททท. ได้ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทั้งในเมืองหลักและเมืองรองมาอย่างต่อเนื่อง แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศและทั่วโลก ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชะลอตัวอย่างหนัก ทำให้ผู้ประกอบการและชุมชนขาดรายได้ แบ่งสินค้าเป็น 15 ประเภทหลัก ได้แก่ ผักผลไม้และอาหารสด อาหารและเครื่องดื่มเดลิเวอรี อาหารท้องถิ่น น้ำพริก เครื่องปรุงรส ผ้าทอมือ ผลิตภัณฑ์จากผ้าไทย หน้ากากผ้าไทย ของที่ระลึก […]
ศบค. เคาะต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอีก 1 เดือน 27 เมษายน 2563 (วันนี้) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้พิจารณาการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปอีก 1 เดือน หลังจากที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานด้านสาธารณสุขมีความเห็นตรงกัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมาตรการผ่อนปรนการล็อกดาวน์ต่างๆ นั้นจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้ โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม และสิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยของประชาชน ขณะเดียวกันที่ประชุม ศบค. มีมติเห็นชอบให้เดือนพฤษภาคมไม่มีวันหยุด ให้เลื่อนวันหยุดออกไปก่อน แล้วเอาไปทบเดือนต่อไป และมีมาตรการผ่อนปรนให้ร้านอาหารขนาดเล็กที่ไม่ติดแอร์ ร้านตัดผม และสถานบันเทิงที่เปิดกลางคืนบางกิจการที่เป็นกิจการสีขาวเปิดบริการได้ โดยที่ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ห้างสรรพสินค้า และสวนสาธารณะ ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบทุก 14 วัน ทั้งนี้หากผ่อนปรนให้เปิดกิจการแล้วมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็จะมาใช้มาตรการที่เข้มงวดอีกต่อไป ส่วนวันเริ่มผ่อนปรนต้องรอให้คณะกรรมการชุดเล็กพิจารณา โดยคาดว่าน่าจะเป็นวันที่ 4 พฤษภาคมที่จะผ่อนปรนให้เปิดได้ HATYAITODAYNEWS อ้างอิงข้อมูลจาก: แถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ท่านสามารถติดตามรายงานสถานการณ์โควิด-19 ได้ในแบบเรียลไทม์
สถานการณ์ โควิด-19 วันที่ 27 เม.ย. 63 ติดเชื้อสะสม 2,931 ราย เสียชีวิตสะสม 52 ราย วันที่ 27 เม.ย. 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โควิด-19 ศบค. แถลงสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 9 ราย เป็นคนในพื้นที่ 68 จังหวัด ติดเชื้อสะสม 2,931 ราย เสียชีวิตสะสม 52 ราย ผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 9 ราย ตามข้อมูลดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 3 ราย 2. ผู้ป่วยรายใหม่ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 0 […]