สรุปแผนโครงการทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ ตัดถนนใหม่ 4 เลน 35 กม. แก้ปัญหารถติด

สรุปแผนโครงการทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ ตัดถนนใหม่ 4 เลน 35 กม. แก้ปัญหารถติด

วันที่ 15 มี.ค. 65 กรมทางหลวง (ทล.) ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมของโครงการ (การสัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ (ด้านตะวันตก) เพื่อนำเสนอสรุปผลข้อมูลโครงการ และรูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาโครงการแนวเส้นทางโครงการ สภาพแนวเส้นทางในปัจจุบัน ขอบเขตการศึกษาด้านต่างๆ

Map ทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ 2048x1115 1

โดยโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ (ด้านตะวันตก) มีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 4135 ที่ กม.8+850 ในเขตพื้นที่บ้านควน และมีจุดปลายทางบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 414 ที่ กม.11+635.236 ในเขตพื้นที่บ้านหนองทราย รวมระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร โดยเส้นทางของโครงการมีจุดตัดทางหลวงที่สำคัญ 4 แห่ง  เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง และรองรับปริมาณการจราจรที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

214738828 3989548427809130 6055547256408283083 N

การออกแบบถนนของโครงการเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางแบบร่อง และมีเขตทางกว้าง 60 เมตร เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ตัดผ่านพื้นที่ลุ่ม โดยเกาะกลางแบบร่องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้สะดวกยิ่งขึ้น

209487365 3989548497809123 6583699699238591967 N

อ้างอิง : โครงข่ายทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ (ด้านตะวันตก)

Next Post

รองผู้ว่าฯ สงขลา ติดตามผลกระทบการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะบริเวณบ้านหัวระวะ-ระโนด

Tue Mar 15 , 2022
รองผู้ว่าฯ สงขลา ติดตามผลกระทบการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะบริเวณบ้านหัวระวะ-ระโนด วันที่ 15 มี.ค. 65 นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นโครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณบ้านหัวระวะ ตำบลระวะ อำเภอระโนด โดยมีหน่วยงานราชการระดับจังหวัด อำเภอ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการในบริเวณที่ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้มุ่งมั่นดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ ได้มากที่สุด โดยส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาคือการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นที่ยอมรับของประชาชน แต่การที่มี โครงสร้างดังกล่าวในบริเวณชายฝั่งทะเลอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อาชีพ ความ ปลอดภัย และวิถีชีวิตของประชาชน กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ริเริ่มให้มีโครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ซึ่งการดำเนินการศึกษาโครงการต้องดำเนินการควบคู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการจัดประชุมประชาสัมพันธ์โครงการในครั้งนี้เป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาและ ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากโครงสร้างเขื่อนป้องกันการกัด เซาะชายฝั่งทะเล กรณีที่ประสิทธิภาพของการป้องกันชายฝั่งไม่เพียงพอ หรือเกิดการชำรุดเสียหาย หรือส่งผลกระทบกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง (End Effect) กับโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปัจจุบัน […]
ปกข่าวโควิด [recovered] 01