อัปเดตสถานการณ์พุทธมณฑล ว่ามีการทิ้งร้างจริงหรือไม่
หลังจากที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นสถานการณ์ของ โครงการก่อสร้างพุทธมณฑลศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจ.สงขลา โดยโครงการดังกล่าวนั้นจังหวัดสงขลาจึงร่วมกับคณะสงฆ์ในจังหวัดสงขลา กำหนดจัดทำโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการประกอบกิจกรรมของคณะสงฆ์, เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธบริษัทและใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมวันสำคัญทางศาสนา เช่น การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ใช้เป็นสถานที่สำหรับอบรมจิตใจของเด็กและเยาวชนในจังหวัด เป็นต้น
ในการนี้เทศบาลตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้เห็นชอบให้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน (ทุ่งป่าเสม็ดงาม) เนื้อที่ประมาณ 151 ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างพุทธมณฑลจังหวัดสงขลา โดยใช้งบพัฒนาจังหวัดสงขลาและ งบพัฒนากลุ่มจังหวัดกว่า 100 ล้านบาท
แต่ในโครงการดังกล่าวนั้นได้มีกระแสมาอย่างต่อเนื่องว่าได้มีการถูกทิ้งล้างหรือไม่ ต่อมาพระราชวรเวที เจ้าคณะจังหวัดสงขลา พระครูสุวัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา รูปที่ ๒ และ พระครูบัณฑิตธรรมาลังการ เจ้าคณะอำเภอสะเดา ได้ประชุมปรึกษาหารือเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการพื้นที่ประเด็นปัญหา โครงการก่อสร้างพุทธมณฑลจังหวัดสงขลาเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในจังหวัดสงขลา ในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาน เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะจัดประชุมอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา
ซึ่งในวันนี้ทางสำนักข่าว Hatyai Today News ได้ต่อสายสอบถามเรื่องราวอัปเดตถึงสถานการณ์ของโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลในข้างต้น ดังนี้
- ประเด็นแรกโครงการก่อสร้างพุทธมณฑล จังหวัดสงขลา ยังมิได้ให้ถูกทิ้งร้างแต่อย่างใดแต่เกิดจากการล่าช้าของทางผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ได้ทำตามเวลาที่กำหนดไว้ซึ่งส่งผลให้เกิดการล่าช้า
- ประเด็นที่สองโครงการดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์บ้างหรือไม่ แม้ว่าพื้นที่ของการก่อสร้างทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่พุทธศาสนิกชนได้มีการใช้งานพื้นบางส่วนของพุทธมณฑลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสวดเจริญพุทธมนต์ทุกวันที่ 28 ของเดือนรวมถึงการประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ทุกวันสำคัญ อาทิ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้มีการหยุดชั่วคราวอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19
- ประเด็นที่สามอันเกิดจากธรรมชาติ กล่าวคือพื้นที่ของโครงการพุทธมณฑลนั้นสร้างพื้นที่ลุ่ม แต่เดิมเคยเป็นป่าชายเลนมาก่อนถึงทำให้มีอุปสรรคในการก่อสร้างเมื่อมีฝนเข้ามายังพื้นที่
โดยสรุปโครงการก่อสร้างพุทธมณฑลศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจ.สงขลา ยังจะมีการก่อสร้างต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์
อ้างอิงข้อมูลและภาพเพิ่มเติมจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนา