แนวชายแดนไทย-มาเลเซีย (สะเดา) วางกำลังสกัดการลักลอบข้ามพรมแดน หวั่นนำเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เข้าสู่พื้นที่
วันที่ 31 พ.ค. 64 ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นำเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตรวจแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ในพื้นที่อำเภอสะเดา เน้นสอดส่องกลุ่มแรงงานที่ลักลอบข้ามพรมแดนโดยใช้ช่องทางธรรมชาติ หวังสกัดกั้นการนำเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เข้าสู่พื้นที่
ลงพื้นที่ตรวจสอบแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ในพื้นที่ตำบลสำนักแต้ว ตำบลสำนักขาม และตำบลปาดังเบซาร์ รวม 7 จุด ทั้งที่เป็นแนวรั้วชายแดน และที่เป็นช่องทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่องทางที่มีการลักลอบข้ามแดนจากฝั่งมาเลเซียเข้ามาของแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยไม่ผ่านการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 และอาจเป็นจุดสุ่มเสี่ยงต่อการนำเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียและแอฟริกาใต้ข้ามฝั่งเข้ามาสู่ประเทศไทย
โดยทางประเทศมาเลเซียที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จนทำให้มีการล็อคดาวน์ประเทศอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน 2564 ส่งผลให้มีแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว ลักลอบใช้ช่องทางธรรมชาติตามแนวชายแดนเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสะเดา ซึ่งมีแนวชายแดนยาวประมาณ 85 กิโลเมตร และมักมีการลักลอบเข้ามาด้วยวิธีการทั้งใช้ไม้พาดรั้ว ตัดรั้วและขุดดินลอดเข้ามา แม้จะมีเจ้าหน้าที่จากทหาร ร้อย ร.5021 และ ตชด.4304 คอยออกลาดตระเวน สอดส่อง ป้องกันอย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิง : ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
Mon May 31 , 2021
เตรียมเฮ ! กระทรวงพาณิชย์ ลดค่า Gp เหลือร้อยละ 25 เริ่ม 1 มิ.ย. 64 วันที่ 31 พ.ค. 64 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีประชาชนในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบการกักตัวอยู่ในบ้าน ไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมภายนอกได้ ทำให้ได้รับความลำบากเพิ่มขึ้น จึงได้จัดคาราวาน พาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน มาจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป อาทิ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ฟักทอง จากอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากในช่วงนี้ แต่ไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียได้ เนื่องจากมีการบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย โดยทางรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 1 มิถุนายนนี้ จะเริ่มโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน lot 11 เพื่อช่วยผู้ประกอบการด้าน Food delivery ในการลดค่า Gp เหลือร้อยละ 25 จากเดิม 30-35 จะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมส่งอาหารผ่าน Delivery ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าหรืออาหารในราคาถูกลง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-30 มิถุนายนนี้ และคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท สำหรับภาพรวมผลผลิตฟักทองที่จังหวัดสงขลา ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 4,000 ตัน ปลูกมากที่สุดในพื้นที่อำเภอระโนด 2,800 ตัน อำเภอเทพา 350 ตัน อำเภอสทิงพระ 300 ตัน อำเภอกระแสสินธุ์ 250 ตัน และอำเภอจะนะ 225 ตัน เป็นต้น คาดว่ามาตรการในครั้งนี้จะสามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกฟักทองได้อีกทางหนึ่ง และจะดำเนินการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ในส่วนของผลไม้อื่น ๆ ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียม 16 มาตรการรองรับไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อ้างอิง : กระทรวงพาณิชย์ Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine