บรรยากาศงานประเพณีลากพระประจำปี 2563 เป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ ประชาชนให้ความสนใจเดินทางเที่ยวชมงานจำนวนมาก

บรรยากาศงานประเพณีลากพระประจำปี 2563 เป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ ประชาชนให้ความสนใจเดินทางเที่ยวชมงานจำนวนมาก
  วันนี้ (3 ต.ค. 63) ที่บริเวณหน้าสนามกีฬาติณสูลานนท์ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว ประจำปี 2563 ภายในงานมีกิจกรรม การแสดงมหรสพ ขบวนแห่เรือพระจากวัดต่าง ๆ และการประกวดเรือพระประเภทประเพณีนิยม และประเภทอนุรักษ์ท้องถิ่น ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามประจำท้องถิ่น บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ จากการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ รวมถึงผลงานเรือพระ จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีความสวยงามประณีตและดูแปลกตา สร้างความประทับใจให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน
   ประเพณีลากพระหรือชักพระ นับว่าเป็นประเพณีสำคัญที่ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของภาคใต้ ที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณในเทศกาลออกพรรษาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ประเพณีชักพระเป็นประเพณี ที่พราหมณ์ศาสนิกชน และพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้น ครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอาเทวรูป ออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าว มาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน
บรรยากาศงานประเพณีลากพระประจำปี 2563 เป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ ประชาชนให้ความสนใจเดินทางเที่ยวชมงานจำนวนมาก
บรรยากาศงานประเพณีลากพระประจำปี 2563 เป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ ประชาชนให้ความสนใจเดินทางเที่ยวชมงานจำนวนมาก
บรรยากาศงานประเพณีลากพระประจำปี 2563 เป็นไปอย่างคึกคักยิ่งใหญ่ ประชาชนให้ความสนใจเดินทางเที่ยวชมงานจำนวนมาก
   สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ จังหวัดสงขลา ร่วมกับเทศบาลนครสงขลา และหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้ดำเนินการจัดเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปีพ.ศ 2525 เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา โดยมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ และตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ให้เป็นที่รู้จักของชาวไทย และชาวต่างประเทศ อันจะทำให้เกิดการกระจายรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลาให้ดียิ่งขึ้น

การจัดงานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโวของชาวสงขลา นอกจากจะเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาด้วย จึงขอชื่นชมทุกฝ่ายที่ได้ร่วมมือร่วมใจจัดงานประเพณีนี้ขึ้น ถือเป็นการร่วมกันทำความดี มีความเสียสละ รู้จักมัธยัสถ์ ประมาณตน และประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม ซึ่งจะเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะทำให้สังคมมีความสงบสุข และเป็นสังคมที่น่าอยู่ตลอดไป เพื่อให้เมืองสงขลามีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับความเจริญทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ของท้องถิ่นสืบไป

ทั้งนี้ ค่ำวันนี้ที่จะมีพิธีสมโภชเรือพระ โดยจะมีการแข่งขันแทงต้ม ตีตะโพน ประชาชนสามารถเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่ เวลา 16.00 น. ที่ บริเวณประรำพิธีหน้าสำนักงานสรรพากรพื้นที่สงขลา 1 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

เรือพระ ๒๐๑๐๐๓ 4 HATYAITODAY

เรือพระ ๒๐๑๐๐๓ 3 HATYAITODAY

เรือพระ ๒๐๑๐๐๓ 2 HATYAITODAY

เรือพระ ๒๐๑๐๐๓ 1 HATYAITODAY

เรือพระ ๒๐๑๐๐๓ 0 HATYAITODAY

120418449 3412093165537558 391090636002489400 o HATYAITODAY

120393661 3412091945537680 5971697315568779697 o HATYAITODAY

120568997 3412090975537777 7176345424295367260 o HATYAITODAY

120601897 3412088948871313 4472927377987708768 o HATYAITODAY

 

Next Post

เผยที่มา “เก้งเผือก” พระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

Sun Oct 4 , 2020
เผยที่มา “เก้งเผือก” พระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันนี้ 3 ต.ค. 63 เพจโบราณนานมาได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ “เก้งเผือก” เป็นสัตว์เผือกโดยสมบูรณ์ มีลักษณะเหมือนเก้งทั่วไป แต่มีสีขนทั้งตัวสีขาวล้วน และนัยน์ตาสีแดง เก้งเผือกนั้นมีการเพาะเลี้ยงที่สวนสัตว์ดุสิต เป็นเก้งที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงได้รับการถวายมาจากชาวบ้านที่จับได้ในป่า เก้งเผือกดังกล่าวมีชื่อว่า “เพชร” ต่อมาเพชรได้แพร่ขยายพันธุ์และออกลูกหลาน มาจนถึงมีด้วยกันถึง ๖ ตัว โดยลูกเก้งเผือกตัวที่ ๖ ที่เกิดมาชื่อ “ไข่มุก” เป็นลูกเก้งเผือกเพศเมียตัวแรกของสวนสัตว์ดุสิตซึ่งเกิดจากพ่อเก้งเผือกชื่อธูปและแม่เก้งแดงธรรมดา ในขณะที่ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ลูกเก้งเผือกที่เกิดจาก “พุด” ซึ่งเป็นเก้งเผือกตัวผู้ที่เป็นลูกหลานของเพชร กับเก้งตัวเมียธรรมดา ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ หลังจากเกิดได้ไม่นานก็ล้มตายลง ปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและสวนสัตว์ต่าง ๆ มีเก้งเผือกจำนวนไม่เกิน ๙ ตัว ทั่วโลก สำหรับลูกเก้งเผือก ของสวนสัตว์ จังหวัดสงขลา ที่เป็นประเด็นพูดถึงกันนั้น เป็นลุกเก้งเผือก ที่ สวนสัตว์สงขลา […]
ปกข่าวใหม่ [recovered] 01