ประชาชนม่วงงามยกระดับคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นหาดม่วงงาม จ.สงขลา

ประชาชนม่วงงามยกระดับการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นหาดม่วงงาม จ.สงขลา

วันที่ 24 พ ค. ชายหาดม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาชาวบ้าน ร้านครัวหมัยเอี้ยมเต็มไปด้วยป้ายคัดค้านการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดม่วงงาม สิ่งที่ทำดั่งกล่าวเพียงเพราะเป็นภารกิจปกป้องชายหาดม่วงงาม

ด้านแกนนำเยาวชนในพื้นที่โต้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนกันคลื่นชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา เพราะชายฝั่งไม่ได้ถูกกัดเซาะยกเว้นหน้ามรสุมเท่านั้นที่ชายฝั่งจะได้รับผลกระทบ

ในทางวิชาการ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิชาการด้านชายฝั่งทะเลที่เกาะติดเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานและอยู่ในอนุกรรมการบูรณาการฯ ด้วย ยืนยันว่าเขาไม่เห็นกับการกำแพงกันคลื่น โดยมี 10 เหตุผลทำไม ชาวชายหาดม่วงงาม ไม่ต้องการเขื่อนกันคลื่น

• 1.โดยความเข้าใจพื้นฐานหรือสามัญสำนึกหาดทรายจะหายไปและกลับมาตามฤดูกาล ไม่ได้มีปัญหาการกัดเซาะ จึงไม่จำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น กำแพงที่ถูกสร้างขึ้นจะเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการกัดเซาะฐานรากจนลึกและจะพังในที่สุด

• 2. เมื่อสร้างกำแพงกันคลื่นซึ่งเป็นของแข็งไปสู้คลื่นจะรับแรงสะท้อนกลับเอาทรายออกไป กำแพงจึงเร่งการกัดเซาะชายฝั่งลึกลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คลื่นมีพลังงานสูงมากขึ้น เพราะไม่มีทรายเป็นแรงเสียดทานตามหลักฟิสิกส์ และจะทำให้คลื่นยิ่งสูงกว่าเดิม 7 เท่าจากความสูงปกติ

• 3. การสร้างกำแพงทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกำแพง (ทั้งด้านซ้ายและขวา) ถูกกัดเซาะหนักกว่าเดิม และจะต้องมีโครงการมาซ่อมแซมไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

• 4. มักพูดกันว่าไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องทรัพย์สินประชาชน หากราชการอ้างว่าไม่มีองค์ความรู้ก็ไม่ควรสร้างกำแพง แต่สามารถใช้วิธีการสร้างเขื่อนไม้ซึ่งเป็นวิธีการชั่วคราวและสามารถรื้อออกได้ แต่กำแพงเมื่อสร้างแล้วการจะรื้อทำได้ยากและสิ้นเปลืองงบประมาณ หรือไม่สามารถแก้ไขได้อีก แต่จะอยู่ไปชั่วนาตาปี แต่ราชการไม่ฟัง ไม่เชื่อ

• 5. มีตัวอย่างความเสียหายจากการสร้างกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นหลายพื้นที่ อาทิ ชายหาดปราณบุรี อ่าวน้อย ฯลฯ จึงไม่ต้องนำโมเดลอื่น ๆ มาอ้างว่าจะทำให้ชายฝั่งถูกกัดเซาะเป็น 100 เมตร เพราะไม่เป็นจริง เช่น กรณีการสร้างกำแพงที่หาดม่วงงามก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะไม่ได้มีการกัดเซาะตามที่อ้าง

• 6. คุณค่าของหาดทรายในเชิงระบบนิเวศหายไป เนื่องจากการหายไปของทรายทำให้หลายอย่างหายไปด้วย เช่น ปูลม จั๊กจั่น เต่าทะเล กุ้งเคย ฯลฯ กรณีกุ้งเคยเมื่อหายไปอาชีพชาวบ้านก็หายไปด้วย หรือกำแพงกันคลื่นที่ปราณบุรีสิ่งที่มาแทนที่คือสาหร่ายที่เขียวที่เหยียบแล้วลื่นมาก รวมถึงได้เพรียงและเปลือกหายนางรมมาแทนที่

• 7. คุณค่าความเป็นแหล่งท่องเที่ยวหายไป เพราะกำแพงได้ทำให้คุณค่าหาดทรายหายไป ชายหาดคอนกรีตที่บอกว่ามีความรู้สึกเป็นชุมชนเมืองนั้นเป็นภูมิทัศน์ที่นำมาหลอกลวงกันทั้งนั้น

• 8. สูญเสียงบประมาณของประเทศ มีการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นไปแล้วทั้งหมด 74 โครงการ วงเงิน 6,900 ล้านบาท และในปัจจุบันใช้งบฯ ก่อสร้างในแต่ละพื้นที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากกองหิน 3 หมื่นกว่าบาท เพิ่มเป็นกิโลเมตรละ 200 ล้าน เช่น ที่หาดมหาราช กิโลเมตรละ 150 ล้านบาท อ่าวน้อยกิโลเมตรละ 110 ล้านบาท ขณะที่ปราณบุรีพังมาหลายรอบและใช้งบฯ ซ่อมแซมมาหลายรอบเช่นกัน

• 9. มีทางเลือกอีกหลายวิธีที่ไม่จำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 ได้เห็นชอบให้เลือกใช้มาตรการสีขาว สีเขียว สำหรับสีขาวคือให้ถอยร่น ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ไม่ให้สู้คลื่น หรือถ้ามีการกัดเซาะก็ให้กัดเซะอยู่แค่นั้น หากเป็นที่เอกชนให้เลือกใช้วิธีจ่ายค่าชดเชย หากเป็นพื้นที่ของรัฐก็ไม่มีปัญหาและไม่เคยมีที่ไหนกัดเซาะถึง 100 เมตร

• มาตรการสีเขียว คือการฟื้นฟูโครงสร้างทางธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลนหายไปก็เติมเข้าไป ป่าชายหาด เช่น ผักบุ้งทะเล หรือฟื้นฟูหาดทรายกลับมา อาทิ การเติมทราย โดยนำทรายที่ถูกพัดไปมาเติมจุดที่หายไป มติ ครม.ให้เลือกใช้ 2 มาตรการดังกล่าว

• แต่มีมาตรการสีเทาโผล่ออกมาด้วย คือเรื่องโครงสร้าง เช่น กองหิน ซึ่งมาตรการนี้นานาชาติกำหนดขึ้นและควรนำมาใช้เป็นมาตรการสุดท้าย แต่มาตรการสีเขียวที่ว่าจะต้องทำ EIA ต่างจากกำแพงกันคลื่นบ้านเราที่ไม่ต้องทำ EIA (ยกเลิกปี 2556) นั่นเท่ากับกำแพงกันคลื่นที่ถูกเลือกใช้เป็นมาตรการที่ร้ายแรงที่สุด

• 10. นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลทะเลบอกว่าไม่ควรก่อสร้างกำแพงกันคลื่น กับหน่วยอื่นที่ไม่รู้จักทะเล แต่ไปจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสร้างมารับรองกันเองโดยไม่มีความรู้คนไทยควรจะเชื่อใคร

โควิด-19

99006183 1891791774288869 99952053710749696 n HATYAITODAY

โควิด-19

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง : Beach for life

Next Post

ผู้ว่าฯ สงขลา ไม่เฉยนำทีมงานลงพื้นที่ตรวจจุดคัดกรองห้างสรรพสินค้าในหาดใหญ่

Sun May 24 , 2020
ผู้ว่าฯ สงขลา ไม่เฉยนำทีมงานลงพื้นที่ตรวจจุดคัดกรองห้างสรรพสินค้าในหาดใหญ่ วันนี้ 24 พ.ค. 63 นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต ปลัดจังหวัดสงขลา นายสมศักดิ์ จันทร์ชู นายอำเภอหาดใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจและติดตามมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งพบว่าทุกแผนกมีการวางมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มข้น เน้นตั้งแต่จุดคัดกรองลูกค้าที่เข้าใช้บริการจะต้องลงทะเบียนตามช่องทางที่ห้างกำหนดไว้ ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำลูกค้าที่เข้าใช้บริการจะต้องลงทะเบียนสแกนคิวอาร์โค้ด ไทยชนะ เพื่อเข้าสู่ระบบไทยชนะสำหรับเช็คอิน และเช็คเอ้าท์ออกจากพื้นที่ห้างสรรพสินค้า เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 และได้จัดเอกสารให้ประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือได้ใช้ลงทะเบียนติดตามตัวด้วย จากนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ลดการใกล้ชิดและสัมผัสในที่สาธารณะ ที่สำคัญต้องสวมใสหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนเข้าห้างและระหว่างที่อยู่ภายในห้างเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อย่างไรก็ตามผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ให้คำแนะนำผู้ค้า ผู้ประกอบการภายในห้างสรรพสินค้าให้จัดเจลแอลกอฮอล์บริการเลือกซื้อสินค้า และให้ผู้ค้าสวมหน้ากากอนามัยหรือเฟสชิว รวมถึงการจัดระเบียบระยะห่างระหว่างโต๊ะอาหาร ในศูนย์อาหารอย่างน้อย 1-2 เมตร ตลอดจนให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ ซึ่งผู้ค้ายินดีให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 HATYAITODAYNEWS อ้างอิง : […]
ปกข่าวแบบเว็บไซต์ 01