ผู้ว่าฯ จังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมเปิดให้บริการเพื่อการขนส่ง

ผู้ว่าฯ จังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เตรียมความพร้อมเปิดให้บริการเพื่อการขนส่ง

เมื่อวันที่ 15 ก.ค.63 ที่ผ่านมานายนาจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาวี จังหวัดสงขลาพร้อมด้วย นายวรนัฎฐ์ หนูรอต ปลัดจังหวัดสงขลา และหัวหน้าส่วนราชการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เพื่อเตรียมพร้อมเปิดให้บริการในการการส่งเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยมี นายพงษ์เกียรติ กุศลศิลป์วุฒิ นายด่านศุลกากรบ้านประกอบ และเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรบ้านประกอบให้การต้อนรับ

การเตรียมความพร้อม มาตรการต่างๆในการเปิดด่านฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการบางรายเป็นผู้ส่งออกอาหารสด ได้แก่ กุ้งขาว และปลา ได้หยุดการส่งออกไปกว่า 3 เดือน เนื่องจากเมื่อผ่านพิธีการส่งออกที่ด่านศุลกากรสะเดาแล้ว ปรากฏว่ามีปริมาณการจราจรคับคั่ง ผู้ประกอบการไม่สามารถส่งของได้ทันเวลาที่ประกันไว้กับลูกค้า และมีต้นทุนสูงขึ้น จึงต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการ ด้วยการพิจารณาเปิดด่านฯ ต่างๆ เพื่อการขนส่งสินค้า สร้างความมั่นใจด้วยการมีมาตรการหลักที่เตรียมการไว้แล้ว อย่างเคร่งครัด

สงขลา

สำหรับมาตรการและวิธีปฏิบัติในการควบคุมโรคของด่านศุลกากรบ้านประกอบเพื่อการขนส่งสินค้า มีการจัดให้มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าด่านพรมแดน มีการกั้นพื้นที่ให้เห็นได้อย่างชัดเจนและจำกัดการขนถ่ายเฉพาะบริเวณลานตรวจสินค้าของด่านฯ มีจุดลงทะเบียนระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมโรค ทางด่านฯ จะจัดตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ พร้อมกำหนดจุดระยะห่าง อนุญาตให้มีพนักงานประจำรถได้คันละ ไม่เกิน 2 คน พนักงานขนถ่ายสินค้าและพนักงานประจำรถจะต้องสวมหน้ากากอนามัยและใช้เจอแอลกอฮอล์หรือ จัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่นชุดป้องกันโรคส่วนบุคคล

นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการกำชับพนักงานประจำรถไม่ให้ออกนอกรถโดยไม่จำเป็น ทางด่านฯ อนุญาตให้ขนถ่ายสินค้าได้เฉพาะเวลาทำการของด่าน คือ 07.00 – 17.00 น. จัดให้มีการทำความสะอาดพื้นที่ให้บริการและพื้นผิวสัมผัส วันละ 2 ครั้ง ทางด่านฯ ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าและพนักงานประจำรถสัญชาติมาเลเซีย เดินทางข้ามด่านศุลกากรบ้านประกอบ และห้ามพนักงานประจำรถของไทยพักค้างแรมในประเทศมาเลเซีย

อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้สามารถขนส่งสินค้าได้โดยเป็นไปตามมาตรการของด่านศุลกากรบ้านประกอบโดยยึดมาตรการของกรมควบคุมโรค และยังเป็นการช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงให้มีงานทำ และสมารถขายสินค้าต่างๆได้อีกด้วย

สงขลา

ด่าน

HATYAITODAYNEWS

อ้างอิง :  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา

Next Post

สคร.12 สงขลา เตือนประชาชนระวังโรคฉี่หนู เลี่ยงเดินลุยน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า แนะสวมรองเท้าบูทป้องกัน

Mon Jul 20 , 2020
สคร.12 สงขลา เตือนประชาชนระวังโรคฉี่หนู เลี่ยงเดินลุยน้ำ พื้นที่ชื้นแฉะด้วยเท้าเปล่า แนะสวมรองเท้าบูทป้องกัน นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2563 ว่าได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 147 ราย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย จังหวัดสงขลา 4 ราย และจังหวัดนราธิวาส 1 ราย อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดยะลา รองลงมาจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง ส่วนกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมา กลุ่มอายุ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 45-54 ปี และอาชีพรับจ้างมีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด รองลงมาเป็นเกษตรกร และนักเรียน ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโต สไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งมักจะระบาดหน้าฝน และโดยเฉพาะหลังน้ำลด พบผู้เสี่ยง ต่อการติดเชื้อในเกษตรกร ที่ต้องเดินลุยน้ำ มีน้ำขัง หรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู หมา แพะ หนู รวมทั้งผู้ที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าว นายแพทย์เฉลิมพลฯ กล่าวเน้นย้ำว่า หากมีอาการไข้สูง ร่วมกับปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หลังจากสัมผัสพื้นที่น้ำขัง ดินที่มีโอกาสปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู หมา แพะ หนู หรือผู้ที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ หรือสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อโรคฉี่หนู ให้สงสัยว่าเป็นโรค เลปโตสไปโรซิส (โรคฉี่หนู) อย่าซื้อยามารับประทานเอง ควรไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการลุยน้ำให้ทราบ เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างถูกต้อง หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำขัง เนื่องจากหนู หมู วัว และควายอาจจะมาปัสสาวะไว้ ทำให้มีปริมาณเชื้อเข้มข้น หลีกเลี่ยงการลุยน้ำที่ท่วมขัง หรือโคลน […]
ปกข่าวแบบขนาด เฟสนายก [recovered] 01