ต้องระวังแบงค์ปลอมระบาดความเหมือนแบบ Full HD ก่อนรับเงินควรสังเกตอย่างไร
เนื่องจากในปัจจุบันมีการปลอมจนไปถึงการปลอมธนบัตร ซึ่งธนบัตรเป็นเพียงสิ่งพิมพ์ชนิดนึงที่มีค่าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และในตอนนี้ยังเป็นที่นิยมปลอมแปลง ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีทำตำหนิข้อสังเกตและลักษณะพิเศษต่างๆ ไว้ภายในพื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้าเล็กๆ พร้อมทั้งใส่ลวดลายศิลปะแบบไทยๆ เน้นความเป็นเอกลักษณ์ ให้ยากต่อการปลอมแปลงลงไปแบบที่คุ้นตากันดี แต่ก็ยังมีมือดีปลอมแปลงจนเกิดความเหมือนแบบ Full HD ถ้าไม่สังเกตก้ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าธนบัตรแท้หรือธนปลอม
วิธีการสังเกตและตรวจสอบธนบัตร
- สัมผัส โดย กระดาษธนบัตร จะมีความทนทาน ไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับจะต่างจากกระดาษทั่วไป
- ลายพิมพ์เส้นนูน จะคมชัด และคำว่า รัฐบาลไทย เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วจะสะดุด
- ยกส่อง จะมีลายน้ำที่ชัดเจน มีตัวเลขชนิดราคา รูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ และลวดลายด้านหน้าและด้านหลังจะซ้อนทับสนิทกัน
- พลิกเอียง จะมีตัวเลขแฝงตามชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ และตรงลายดอกประดิษฐ์
มีประกายมีตัวเลขซ่อนอยู่ แถบสีต่างๆ สีจะเปลี่ยน และมีตัวเลขซ่อนอยู่ เห็นแถบฟลอยด์ 3 มิติ และลักษณะพิเศษใต้รังสีเหนือม่วง
หากประชาชนได้รับธนบัตรปลอมมีข้อแนะนำ 3 ข้อได้แก่
- เขียนคำว่า “ปลอม” ลงบนธนบัตรเพื่อแยกแยะออกจากธนบัตรฉบับจริง หรือนำไปให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำส่งเข้าระบบ
- หากมีผู้นำธนบัตรปลอมมาใช้กับท่าน ให้จดจำข้อมูลหรือ ตำหนิรูปพรรณของคนร้ายให้มากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลในการสืบสวนจับกุม
- แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ หรือโทรศัพท์แจ้งสถานีตำรวจท้องที่ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 02-282-7409 และ 02-356-7987
บทลงโทษเมื่อปลอมแบงค์
การทำแบงค์ปลอมถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต และสำหรับใครที่รู้แล้วว่าแบงค์ที่ตนเองถืออยู่เป็นแบงค์ปลอมแต่ก็ยังนำแบงค์ปลอมไปใช้งาน มีโทษจำคุกถึง 15 ปี อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราไม่ใช่ผู้กระทำความผิดโดยการผลิตแบงค์ปลอมขึ้นมา แต่ก็ต้องช่วยกันสอดส่องและไม่ส่งต่อแบงค์ปลอมให้ผู้อื่น เพื่อช่วยกันยุติวงจรมิจฉาชีพ
HATYAITODAYNEWS
อ้างอิง : กองปราบปราม
Thu Jul 9 , 2020
กรมการขนส่งทางบกแนะนำการซื้อ – ขายรถมือสอง ควรดำเนินการด้วยตนเอง ไม่ควรใช้วิธีโอนลอย นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาการหลอกลวงประชาชนด้วยการนำรถสวมทะเบียนมาหลอกขาย มักเกิดขึ้นกับการซื้อขายรถมือสองด้วยวิธีการโอนลอย เนื่องจากในแบบคำขอโอนมีเพียงชื่อผู้โอน (ชื่อเจ้าของรถ) และไม่ต้องระบุชื่อผู้รับโอนหรือระบุแล้วแต่ยังไม่โอนให้เรียบร้อย ขณะที่ผู้ซื้อไม่ได้นำรถไปตรวจสภาพรถและจดทะเบียนด้วยตนเองตามขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทำให้เกิดช่องว่างให้กลุ่มมิจฉาชีพสามารถนำรถโจรกรรมมาหลอกขายได้โดยง่าย ขบ. จึงแนะนำให้ผู้ซื้อรถโอนทะเบียนรถด้วยตนเองและตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับตัวรถอย่างละเอียด โดยสามารถขอหลักฐานทะเบียนรถจากเจ้าของรถหรือผู้ขาย เพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นที่สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขา และเพื่อเพิ่มความมั่นใจยิ่งขึ้นสามารถนำรถไปตรวจสอบความถูกต้อง ได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งสาขาที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ ซึ่ง ขบ. ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันการตรวจสภาพรถตามรายการที่กำหนดทุกคัน เพื่อความปลอดภัยและพิทักษ์สิทธิของประชาชน และป้องกันไม่ให้รถผิดกฎหมายดำเนินการทางทะเบียนได้โดยเด็ดขาด เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะระงับการดำเนินการทางทะเบียนที่ไม่ถูกต้องทันที หากประชาชนพบเห็นรถต้องสงสัยสามารถแจ้งข้อมูลให้ขบ. หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ป้องกันการตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ ทั้งนี้ หากนำรถผิดกฎหมายดังกล่าวไปใช้อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมแปลงหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 บาท สำหรับการซื้อ – ขายรถมือสองทุกครั้ง […]