อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมโครงการบูรณะโบราณสถานพระเจดีย์บนเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมโครงการบูรณะโบราณสถานพระเจดีย์บนเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา

วันที่ 13 มิ.ย. 65 นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา นายเฉลิมชนม์ วรรณทอง ผู้อำนวยการหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายกิจการองค์กร บริษัทเชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการบูรณะโบราณสถานพระเจดีย์บนเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสงขลา และถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นประกาศทะเบียนพระเจดีย์บนเขารูปช้าง เป็นโบราณสถานสำหรับชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้า 3714

287770153 563705045327300 8651229004686948770 N

สำหรับเจดีย์บนเขารูปช้าง มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 2.50 เมตร องค์ระฆังทรงเหลี่ยมแบบย่อมุมไม้สิบสอง สภาพปัจจุบันมีความชำรุดยอดเจดีย์หัก ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าถูกฟ้าผ่าเมื่อปี 2478 แต่อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา ให้ความเห็นไว้ว่ายอดเจดีย์น่าจะหักเนื่องจากถูกกระสุนปืนของกองทัพญี่ปุ่น ที่บุกจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ทั้งนี้องค์เจดีย์ดังกล่าวเคยถูกขโมยลักขุดฐานเมื่อ พ.ศ. 2516 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้นำโบราณวัตถุและสิ่งมีค่าอะไรไปบ้าง

287707759 563705168660621 5046409731329941222 N

นางสุรีย์พรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้เดินทางมาเป็นประธาน ในพิธีรับมอบงบประมาณสนับสนุนโครงการบูรณะเจดีย์บนเขารูปช้าง ระหว่างนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร กับ นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายกิจการองค์กร บริษัทเชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จำนวน 340,000 บาท ณ ห้องประชุม หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระ ชนมพรรษา สงขลา เพื่อใช้บูรณะเสริมความมั่นคงแก่องค์เจดีย์ให้มีความแข็งแรง และเพิ่มศักยภาพของโบราณสถานที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น

287739805 563705155327289 1772654352487032897 N
288069606 563704941993977 222666947043316862 N

อ้างอิง : อธิบดีกรมศิลปากร

Next Post

จัดกิจกรรมลงแขกดำนา ทำนาริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง

Mon Jun 13 , 2022
จัดกิจกรรมลงแขกดำนา ทำนาริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง วันที่ 13 มิ.ย. 65 จังหวัดพัทลุง บริเวณแปลงนาริมเสาโรงเรียนวัดปากประ หมูที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง ริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมลงแขกดำนา ทำนาริมทะเล เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาทำนาริมทะเลเพื่อการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง โดยนำนักเรียนจากโรงเรียนวีรนาถศึกษามูลนิธิ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้เริ่มหว่านข้าวมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 จนถึงวันนี้ต้นกล้าโตเจริญงอกงาม พร้อมปักดำจึงได้ร่วมกันลงแขกปักดำต้นข้าว ทำนาริมทะเลกันในวันนี้ซึ่งถือว่าเป็นวันแรกของการเริ่มฤดูกาลทำนาข้าวริมทะเลสาบในปีนี้ และการนำนักเรียนเรียนรู้ประสบการณ์จริงจะได้ถึงภูมิปัญญาทำนาริมทะเล จะช่วยสร้างจิตสำนึกรักษ์ถิ่น พร้อมเป็นการสร้างความสมดุลของระบบนิเวศริมทะเลสาบสงขลาในการทำนาริมทะเลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนทำนาริมทะเลรวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สิ่งดีงามที่ทรงคุณค่าสู่คนรุ่นหลังอย่างภาคภูมิและยั่งยืน สำหรับวิถีทำนาในทะเลสาบหนึ่งเดียวของประเทศไทย โดยชาวประมงริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือการออกเรือหาปลา เนื่องจากบ้านเรือนตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา คิดค้นหาวิธีการเพาะปลูกพืชในทะเลสาบ หรือริมฝั่งริมทะเลสาบ เพื่อให้มีผลผลิตเลี้ยงครอบครัว มาตั้งแต่บรรพบุรุษของพวกเขา คิดค้นการทำนาข้าวในทะเลสาบโดยใช้พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลสาบที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่งเกือบ 10 กิโลเมตร มาทำการเพาะปลูกโดยแต่ละปีจะทำนาข้าวลักษณะนี้ ได้เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ช่วงเริ่มปักดำต้นเดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวปลายๆเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ท้องทะเลสาบบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงได้ทำนาข้าวในทะเลสาบตามแนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ละแปลงจะทำนาจากชายฝั่งลงไปในทะเลประมาณเกือบ […]
ปกข่าว 01